โรคงูสวัด เป็นโรคที่มักจะเกิดกับคนวัย 50 ปี ขึ้นไป แต่ยุคสมัยนี้ในวัยรุ่นก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน ส่วนการจะรักษาให้หายขาดนั้น เป็นไปได้ยากมากๆ ดังนั้นคนที่เป็นโรคงูสวัดและไม่อยากรับประทานยาเพื่อรักษาเป็นเวลานานๆ เพราะกลัวสารตกค้างไปสะสมในตับไต จึงนิยมใช้การรักษาด้วยยาทาภายนอกเพื่อบรรเทาอาการ ได้แก่ ยาจำพวกแอนตี้ไวรัส หรือครีมเจลว่านหางจระเข้
นอกจากนี้ ยังมีสมุนไพรใกล้ตัวที่สามารถรักษาโรคงูสวัดได้ดีเช่นกัน และเป็นวิธีที่นิยมใช้ในทางการแพทย์แผนไทยมากที่สุด โดยหลักสำคัญคือ การเลือกใช้สมุนไพรมารักษาที่ต้นเหตุของโรค ภายใต้หลักการรักษาสมดุลของธาตุทั้ง 4 ในร่างกาย
เพื่อลดความร้อนในร่างกาย ปรับการทำงานของธาตุไฟให้เป็นปกติ
เพื่อแก้น้ำเหลืองเสีย แก้พิษโลหิต รักษาโรคผิวหนัง ผื่น คัน บวม แดง อักเสบบริเวณผิวหนัง
เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย ลดปัจจัยการเกิดซ้ำของอาการงูสวัด เช่น หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง ดูแลสุขภาพไม่ให้เจ็บป่วย พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นต้น
เป็นไม้ล้มลุกชนิดเดียวกันกับว่านหัวน่วม ใช้ทาป้องกันภัยอันตรายคู่กับว่านมหาปราบ ในที่นี้เอาใบสดมาใช้ โดยตำแล้วใส่พิมเสนเล็กน้อย ใช้น้ำทา และกากพอกบริเวณแผลที่เป็นงูสวัด
เป็นไม้เถาที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว ใช้ใบสดโขลก แล้วเติมดินสอพอง ใช้น้ำและกากทาและพอกบริเวณที่เป็นงูสวัด
เป็นสมุนไพรที่เกิดตามริมน้ำ ทั้งใบและต้น มีรสเย็น ใช้พอกฝี แก้พิษไฟไหม้ แก้แผลพุพอง แก้น้ำร้อนลวก แก้ช้ำใน ใช้ทั้งใบและต้น โขลกละเอียด เติมเหล้าโรงและพิมเสนเล็กน้อย ใช้ทาบริเวณที่เป็นงูสวัดบ่อยๆ
เป็นไม้ประดับทีสวยงามชนิดหนึ่ง โดยปกติเราใช้รากที่มีรสเย็นชื่น ฝนทาแก้โรคประดง ผื่นคันตามผิวหนัง ปวดแสบปวดร้อน แก้น้ำเหลืองเสีย หรือต้มดื่มแก้ไข้ ดับร้อน แต่ในการรักษาแก้งูสวัด เราใช้ใบสดตำให้ละเอียด เติมน้ำซาวข้าว ใช้ทาบริเวณที่เป็นงูสวัด
เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ใช้ใบสดตำกับสุรา นำมาทาและพอกบริเวณที่เป็นงูสวัด
นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอื่นๆ อีกมากมายที่ช่วยรักษาโรคงูสวัดได้ แต่เราควรตระหนักไว้เสมอว่า "สมุนไพรทุกชนิดเปรียบเสมือนดาบ 2 คม มีทั้งคุณและโทษ แนะนำให้ศึกษาอย่างละเอียดก่อนรับประทาน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านยาสมุนไพรเพื่อรับคำแนะนำที่ดีที่สุดค่ะ"
อีกประการหนึ่ง ที่ควรตระหนักไว้เช่นกันคือการทานยาสมุนไพรให้ได้ผลการรักษาที่ดีนั้น ตามหลักการแพทย์แผนไทยท่านกล่าวไว้ว่าจะต้องเป็นยาตำรับ (คือยาสมุนไพรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป บางตำรับมีมากถึง 30 ชนิด ยิ่งมากยิ่งดี เพื่อให้ตัวช่วยเสริมฤทธิ์กันรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ)
เหงือกปลาหมอ, ข้าวเย็นเหนือ, ข้าวเย็นใต้, คงคาเดือด, หัวร้อยรู, ฝีหมอบ, มะกา, เนื้อในฝักราชพฤกษ์, ทองพันชั่ง, รากเหมือดคน, รากมะปราง, รากมะนาว, เปราะหอม, โกศหัวบัว, จันทน์เทศ, จันทน์แดง, ฝางเสน, เกสรบัวหลวง, ดอกบุนนาค, ดอกสารภี, ดอกมะลิ, ผิวมะกรูด, ดีปลี, เทียนทั้ง 5, การบูร, กระเบา, เหงือกปลาหมอ, น้ำมันงา และตัวยาสำคัญอื่นๆ
1. ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานดีขึ้น ลดการเกิดงูสวัดใหม่ๆ (จากปกติเวลานอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอจะขึ้นทันที) เมื่อทานสมุนไพรแล้วจะช่วยให้ไม่เกิดงูสวัดขึ้นง่ายเหมือนเดิม
2. ช่วยให้แผลงูสวัด แห้งเร็วขึ้น ลดอาการเจ็บ แสบร้อนของแผล
3. ช่วยบำรุงระบบต่อมน้ำเหลืองให้ทำงานดีขึ้น แข็งแรงขึ้น
4. ป้องกันแบคทีเรีย เชี้อโรคที่จะเข้าสู่แผล
5. ลดไข้ อาการคลั่นเนื้อคลั่นตัว
6. บำรุงหัวใจ และตับ ให้แข็งแรง ระบบไหลเวียนเลือดดี ตับดี ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
7. ช่วยบำรุงให้ผิวบริเวณที่เกิดงูสวัดบ่อยๆ แข็งแรงขึ้น ไม่เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
สั่งซื้อสินค้าโปรโมชั่นพิเศษติดต่อ 02-1147027
ปุณรดาจะใช้สมุนไพรชุด H-SET ในการรักษา เพราะสมุนไพรจะช่วยฟอกโลหิตที่เสีย ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่เข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยทำให้อาการงูสวัดที่กำเริบหายได้เร็วขึ้น ช่วยสร้างเกล็ดเลือดใหม่ให้แข็งแรง ฟื้นฟูและบำรุงระบบภูมิคุ้มกัน ให้กลับมาทำงานได้ตามปกติพอร่างกายแข็งแรง การเกิดซ้ำของงูสวัดจะเป็นได้ยากขึ้น
ในช่วงนี้ ปุณรดาจะใช้สมุนไพรชุด B-BOOST-Health Refreshment เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ ลดความถี่ของการเกิดโรคงูสวัด ช่วยปรับสมดุลธาตุทั้ง 4 ให้กลับมาเป็นปกติ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ร่างกายแข็งแรงจนไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
การที่ร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง นั่นก็เพราะว่า ร่างกายได้รับความเครียดสูง การโภชนาการที่ไม่ดี ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ สิ่งแวดล้อมไม่ดีมีการสัมผัสสารเคมีหรือรังสี สูบบุรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ นั่นเอง
ดังนั้นเมื่อเกิดอาการงูสวัดขึ้นมา ควรจะต้องหยุด พฤติกรรมเสี่ยงที่ไม่ควรทำขณะเป็นงูสวัด ทั้งหลายเหล่านี้ด้วยนะคะ
1. รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อป้องกันการติดเชื้อในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่นๆ และป้องกันการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น เช่น การรักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศในระหว่างที่มีผื่นตุ่ม, การล้างมือให้สะอาดทันทีหลังจับต้องแผล, ทำความสะอาดของใช้ที่ต้องใช้ร่วมกัน เป็นต้น
2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น เช่น การจูบ การใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน โดยเฉพาะกับเด็กเล็กหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
3. ตัดเล็บให้สั้น ไม่แกะเกา และอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด เพื่อป้องกันมิให้ตุ่มน้ำติดเชื้อจากการเกา ตุ่มกลายเป็นหนอง และแผลเป็น
5. พักผ่อนให้เพียงพอ
6. ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ
7. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้งูสวัดเกิดเป็นซ้ำ เช่น อารมณ์เครียดหรือความวิตกกังวล, ถูกแดดจัด, ร่างกายอิดโรยหรือทรุดโทรม, ภูมิคุ้มกันต่ำ, การเจ็บป่วยจากโรคอื่น, การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น สเตียรอยด์), การได้รับบาดเจ็บหรือได้รับการกระทบกระเทือนเฉพาะที่ (เช่น การถูไถ เกิดรอยถลอกขีดข่วน การเสียดสีของผิวกับเสื้อผ้า การทำฟัน ถอนฟัน การผ่าตัดที่กระทบกระเทือนต่อเส้นประสาท) เป็นต้น
8. ทำความสะอาดผื่นด้วยสบู่ฆ่าเชื้อ ใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือหรือน้ำต้มสุกประคบทำความสะอาดแผล
9. ใช้น้ำเกลือกลั้วปากถ้ามีแผลในปาก
10. Wet dressing ทําการประคบเย็นที่แผลด้วยน้ําเกลือ โดยใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าขนหนูชุบน้ําเกลือแล้ว ประคบที่แผล 5-10 นาทีจะช่วยลดอาการระคายเคืองและผื่นแดงให้น้อยลง
11. ผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัดกำเริบถี่มาก หรือเป็นรุนแรง หรือเป็นแผลงูสวัดเรื้อรังเกิน 1 เดือน ควรตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี (HIV) ด้วย เพราะอาจพบว่าเป็นเอดส์ก็ได้
12. ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้มากเพียงพอตามน้ำหนักตัว
13. ถ้ามีไข้สูงควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ และรับประทานยาลดไข้
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "