ท้องผูก หมายถึง ภาวะที่มีความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ ในคนปกติจะถ่ายอุจจาระตั้งแต่วันละ 3 ครั้งถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นถ้าผู้ใดถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็จะถือว่าผิดปกติ ทำให้ธาตุเปลี่ยนไป อาการท้องผูกอาจสัมพันธ์กับการถ่ายอุจจาระลําบาก ต้องใช้เวลาเบ่งนานมากกว่าปกติหรือมีอาการ เจ็บทวารหนักเวลาถ่าย คนที่มีอาการท้องผูกเกิดขึ้นนานติดต่อกันเกิน 3 เดือน จะถือว่ามีอาการท้องผูกเรื้อรัง
เพื่อช่วยกระจายลมไม่ให้เกิดการคั่งอั้นของลมในท้อง ทำให้อุจจาระถูกขับออกมาได้ดีขึ้น การเบ่งถ่ายลดลง
เพื่อเสริมกำลังของธาตุน้ำ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น ช่วยกัดเอาอุจจาระที่ติดคล้ายตะกรันในลำไส้
ช่วยให้เลือดลมในร่างกายไหลเวียนได้ดี อาจจะช่วยกระตุ้นการขับถ่าย โดยเฉพาะการกดนวดบริเวณหลังส่วนล่างและท้อง
เพื่อฝึกทำให้ร่างกายและระบบลำไส้กลับมาทำงานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องพึ่งพาการใช้ยาในการรักษา ส่งเสริมให้ระบบต่าง ๆ ทำงานอย่างสมดุล
สรรพคุณ: ยาระบาย แก้อาการท้องผูก
วิธีใช้: โดยใช้ใบแห้ง ๑ – ๒ กำมือครึ่ง (๓ – ๑๐ กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม หรือบดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้ฝัก ๔ – ๕ ฝักต้มกับน้ำรับประทาน บางคนกินแล้วอาจจะเกิดอาการไซ้ท้อง แก้ไขได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลมจำนวนเล็กน้อย ( เช่น กระวาน กานพูล )
สรรพคุณ: เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก
วิธีใช้: ใช้ดอกชุมเห็ดเทศสด 1-3 ช่อดอก (หรือแล้วแต่คนที่ธาตุเบาธาตุหนัก ช่อดอกใหญ่หรือเล็ก) ต้มรับประทานจิ้มกับน้ำพริก หรือ ใช้ใบสด 8-12 ใบ ล้างให้สะอาด หั่นตากแห้ง หรือปิ้งไฟให้เหลือง หั่น ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มให้หมด
ใช้ใบแห้งบดเป็นผง ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 3 เม็ด ก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการท้องผูก
สรรพคุณ: เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก
วิธีใช้: ใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นขนาดประมาณ 2 องคุลี ใช้ 3-4 ชิ้น ใช้ใบอ่อนหรือแก่ต้มกับน้ำ 1-1½ ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มเมื่อตื่นนอนเช้า หรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว
นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอื่นๆ อีกมากมายที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ แต่เราควรตระหนักไว้เสมอว่า "สมุนไพรทุกชนิดเปรียบเสมือนดาบ 2 คม มีทั้งคุณและโทษ แนะนำให้ศึกษาอย่างละเอียดก่อนรับประทาน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านยาสมุนไพรเพื่อรับคำแนะนำที่ดีที่สุด"
อีกประการหนึ่ง ที่ควรตระหนักไว้เช่นกันคือการทานยาสมุนไพรให้ได้ผลการรักษาที่ดีนั้น ตามหลักการแพทย์แผนไทยท่านกล่าวไว้ว่าจะต้องเป็นยาตำรับ (คือยาสมุนไพรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป บางตำรับมีมากถึง 30 ชนิด ยิ่งมากยิ่งดี เพื่อให้ตัวช่วยเสริมฤทธิ์กันรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ)
1. พริกไทยล่อน ที่มีรสเผ็ดร้อน แก้ลมอัมพฤกษ์ ลดลมในท้อง บำรุงธาตุ
2. ยาดำ ซึ่งช่วยการขับถ่าย ถ่ายลมเบื้องสูง ลงสู่เบื้องต่ำ
นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรที่ทำหน้าที่ช่วยในด้านต่างๆ อีก เช่น
3. กลุ่มบำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงลม ได้แก่ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน รากเจตมูลเพลิง
4. กลุ่มแก้เถาดาน เช่น หัวบุก หัวกลอย หัวกระดาดขาว หัวกระดาดแดง
5. กลุ่มขับลม ได้แก่ ขิง เทียนดำ เทียนขาว ผักแพรวแดง และสมุนไพรอื่นๆ อย่าง
6. กานพลู แก้เสมหะเหนียว ช่วยกระจายเสมหะ
7. เนื้อลูกมะขามป้อม ระบายท้อง แก้ลม บำรุงหัวใจ ฟอกโลหิต
8. หัวดองดึง ขับผายลม แก้ปวดข้อ
9. โกฐกระดูก แก้ลมในกองเสมหะ
10. โกฐน้ำเต้า แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย ระบายท้อง
11. ชะเอมเทศ แก้เสมหะเป็นพิษ แก้น้ำลายเหนียว
12. เนื้อลูกสมอไทย แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้โลหิตในอุทร แก้น้ำดี รู้ถ่ายใน
13. มหาหิงคุ์ แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้
14. เกล็ดการบูร แก้ธาตุพิการ แก้ปวดตามเส้น ขับเสมหะและลม
15. รงทองสะตุ ถ่ายน้ำเหลือง ถ่ายลม ถ่ายเสมหะและโลหิต
*** ราคา 400 บาท พร้อมส่ง EMS ฟรี ทั่วประเทศไทย!!!
สั่งซื้อสินค้าโปรโมชั่นพิเศษติดต่อ 086-955-6366, 091-546-9415
1. แก้อาการท้องผูก ขับถ่ายยาก ถ่ายแข็ง
2. ช่วยในการขับเถาดาน พรรดึก ที่สะสมอยู่บริเวณผนังลำไส้
3. ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด บวม
4. แก้กษัย ลดอาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว ตามเส้น
5. ช่วยในการฟื้นฟูระบบขับถ่าย ปรับการขับถ่ายให้ดีขึ้นจนกลับสู่ภาวะปกติ
1. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ เพื่อช่วยให้ใยอาหารดูดซับน้ำได้ดี ทำให้อุจจาระพองตัว นุ่ม และเบ่งออกได้ง่าย รวมไปถึงลดการอุดตันของลำไส้ ป้องกันอาการท้องอืด จากการรับประทานใยอาหารมากเกินไป และป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ เมื่อร่างกายขาดน้ำ ลำไส้จะมีการดูดน้ำจากอุจจาระที่ตกค้างกลับเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อุจจาระแข็ง ถ่ายออกลำบาก
2. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และน้ำอัดลมมากเกินไป เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำมากขึ้น
3. การรับประทานอาหารควรเลือกอาหารประเภทที่มีกากใยมากขึ้น โดยเฉพาะผักและผลไม้ โดยค่อย ๆ เพิ่มปริมาณการรับประทานขึ้นทีละน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องอืด
4. ในบางรายอาจเกิดปัญหาท้องผูกจากการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนม จึงควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานในปริมาณน้อย
5. ควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอประมาณ 30 นาทีต่อวัน หรือพยายามเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันบ่อยๆ เพื่อช่วยเพิ่มการบีบตัวของลำไส้มากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อและระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติมากขึ้น
6. ปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้ตรงเวลา วิถีที่เร่งรีบของสภาพสังคมก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย ผู้ที่มีอาการท้องผูกบ่อยควรเริ่มปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้เป็นเวลาในแต่ละวัน ไม่กลั้นอุจจาระเมื่อเกิดอาการปวดโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ ท่านั่งในการถ่ายอุจจาระก็สำคัญ การนั่งถ่ายบนโถส้วมชักโครกควรโค้งตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย อาจมีเก้าอี้ตัวเล็กรองบริเวณขา เพื่อชันเข่าขึ้นมาเล็กน้อย ทำให้หัวเข่าอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าสะโพก ซึ่งเป็นท่าที่ช่วยให้สะดวกต่อการขับถ่าย
7. ไม่อั้นอุจจาระเมื่อเกิดอาการปวดโดยไม่จำเป็น หรือถ่ายด้วยความรีบเร่ง
8. เสริมการทำงานของลำไส้ด้วยโปรไบโอติกส์ การรับประทานโปรไบโอติกส์ที่พบในอาหารต่าง ๆ หรือผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกส์ในรูปแบบอาหารเสริมอาจเป็นอีกตัวเลือกที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกให้ดีขึ้นได้ โปรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ภายในลำไส้ของคนเราและไม่ก่อโรคให้ร่างกาย เช่น Lactobacillus Bifidobacterium หรือ Sacchromyces Boulardi และยังพบอยู่ในอาหารบางประเภท โดยเฉพาะโยเกิร์ต นมเปรี้ยว ซึ่งมีการศึกษาพบว่าแบคทีเรียเหล่านี้ช่วยสร้างความสมดุลของสภาวะในระบบการย่อยอาหาร โดยไปลดแบคทีเรียชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกายไม่ให้มีมากเกินไป และช่วยปรับการทำงานของลำไส้ให้เป็นปกติ
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 086-955-6366, 091-546-9415
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "