เป็นฝีที่ก้น รักษายังไงดี

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

เป็นฝีที่ก้น รักษายังไงดี

ฝีคัณฑสูตร คืออะไร?


ฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula) คือ ฝีชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นบริเวณรอบ ๆ รูทวารหนัก และแก้มก้น มีลักษณะเป็นตุ่มบวมแดง และอาจมีหนองอยู่ภายในนั้น เมื่อเป็นแล้วจะรู้สึกเจ็บ ปวด บางคนทรมานมาก ๆ ถึงขั้นนั่งไม่ได้เลยทีเดียว และฝีอาจแตกได้ หากมีการกดทับอย่างรุนแรง “โรคฝีคัณฑสูตร” แบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ

 

1. ฝีคัณฑสูตรเฉียบพลัน (Anorectal abscess)

 

เป็นภาวะที่มีอาการ ปวดก้น มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อนบริเวณฝี หากฝีมีขนาดใหญ่จะมีไข้ร่วมด้วย คลำบริเวณที่เป็นฝีจะพบก้อน กดดูหรือเมื่อฝีแตกจะมีหนองไหลออกมาหรือมีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลออกมา หากมีฝีที่แก้มก้นจะทำให้แก้มก้นบวม แดง และแข็ง อาจมีอาการปวดก้นและปวดถ่ายอุจจาระ

 

2. ฝีคัณฑสูตรเรื้อรัง (Anorectal fistula)

 

เป็นรูติดต่อที่เป็นท่อระหว่างรูเปิดภายนอก ผิวหนังของทวารหนักถึงรูเปิดภายในทวารหนัก บางคนเรียก ฝีทะลุทวารหนัก ส่วนมากจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีประวัติเคยเป็นฝีรอบๆ ทวารหนัก และเป็นซ้ำที่ตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งใหม่ มีหนองหรือน้ำเหลืองไหล อาจมีอาการปวด คลำพบก้อนแข็งๆ บริเวณภายนอกรอบๆ ทวารหนัก มีน้ำเหลืองหรือหนองซึมออกมา ตรวจคลำภายในทวารหนักด้วยนิ้วมืออาจจะพบรูเปิดภายในช่องทวารหนัก

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง "สมุนไพรรักษาฝีคัณฑสูตร" คลิกที่นี่!

 

 

 

วิธีรักษาฝีคัณฑสูตร หรือฝีที่ก้น ตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน


ขั้นตอนการตรวจหาโรคก่อนรักษา

 

แบบที่ 1: การซักประวัติ

 

การทราบถึงเส้นทางทั้งหมดของฝีคัณฑสูตร เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพ แพทย์จะวินิจฉัยฝีคัณฑสูตรโดยเริ่มต้นจากการสอบถามอาการและประวัติภาวะทางลำไส้ของผู้ป่วย จากนั้นแพทย์อาจขอตรวจบริเวณทวารหนักและค่อยๆ เอานิ้วสอดเข้าไปเพื่อตรวจสอบ โดยช่องเปิดที่บริเวณผิวหนังที่มีการอักเสบจะปรากฎเป็นสีแดง และอาจมีเลือดหรือหนองไหลซึมออกมา ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย

 

แบบที่ 2: การตรวจร่างกาย

 

หากแพทย์คิดว่าผู้ป่วยเป็นฝีคัณฑสูตร จะส่งตัวผู้ป่วยไปยังศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เพื่อทดสอบเพิ่มเติมและประเมินการรักษาที่เหมาะสม เพราะการหารูเปิดของฝีคัณฑสูตรภายในทวารหนักจะมีความซับซ้อนมากกว่า โดยแพทย์อาจใช้วิธีทดสอบต่อไปนี้เพื่อช่วยในการวินิจฉัย

 

1.  มองเห็นขอบทวารบวมแดง และกดเจ็บ

 

2.  การสอดนิ้วมือตรวจในทวารหนัก (PR) จะช่วยบอกขอบเขตหรือขนาดของฝี และช่วยวินิจฉัยฝีที่เกิดอยู่ภายในทวารหนัก   (intersphincteric abscess) ได้

 

3.  การใช้กล้องส่อง Proctoscopy ส่องดูภายในรูทวารหนัก โดยจะช่วยเปิดและขยายทางเดินบริเวณรูทวารให้ตรวจได้ง่ายขึ้นเมื่อมองด้วยตาเปล่า แต่วิธีนี้แพทย์จะเลือกทำในรายที่สงสัยว่า สาเหตุของฝีเป็นจากสาเหตุอื่น เช่น มะเร็ง , วัณโรค เป็นต้น

 

เป็นฝีที่ก้น รักษายังไง2

 

ขั้นตอนการรักษา


การรักษาฝีหนองในระยะก่อนที่จะเป็นฝีคัณฑสูตร คือ การผ่าฝีเพื่อระบายหนองออก ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวดลดไข้ รวมทั้งการดูแลทำความสะอาดบริเวณทวารหนัก การใช้น้ำอุ่นประคบช่วยลดอาการบวมและอาการปวด ฝีที่ระบายหนองออกแล้ว มีโอกาสกลายเป็นฝีคัณฑสูตรได้ประมาณ 40-50% รักษาโดยการผ่าตัดเปิดโพรงหนองและระบายหนองออก (Incision & drainage) ล้างให้หนองหมด จนกว่าแผลจะตื้นและหาย เพื่อป้องกันหนองแตกเองและกลายเป็นรูทะลุติดต่อกับทวารหนัก (Fistula-in-ano)

 

การรักษาฝีคัณฑสูตร ในผู้ป่วยที่ไม่ได้มีอาการใดๆ ปรากฏ แต่ตรวจพบรูเปิดและเส้นทางเชื่อมต่อโดยบังเอิญจากการตรวจทวารหนักด้วยสาเหตุอื่นๆ ไม่ต้องให้การรักษา แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการต้องให้การรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งมีหลายเทคนิควิธี ได้แก่

 

1. การผ่าตัดเปิดระบายบริเวณแผล (Fistulotomy) ซึ่งมีรูติดต่อกันให้เป็นแผลปิด หรือ ผ่าตัดเลาะทางติดต่อกันออก (Fistulectomy) โดยเลาะเนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบช่องที่ติดต่อถึงกันออกให้หมด

ราคาการรักษาอยู่ที่ 20,000 – 60,000 บาท

 

 

2. การผ่าตัดวิธี Ligation of the Intersphincteric Fistula Tract: LIFT เป็นวิธีที่จะใช้ผ่าตัดฝีคัณฑสูตรที่ลึกหรือมีความซับซ้อน โดยวิธี LIFT จะเป็นวิธีที่ช่วยให้ไม่เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหูรูดของทวารหนัก

ราคาการรักษาอยู่ที่ 40,000 – 60,000 บาท

 

 

ขั้นตอนการรักษาแต่ละชนิดจะมีผลดีและความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป ผู้ป่วยควรปรึกษากับศัลยแพทย์ ในบางรายอาจไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลังการผ่าตัด แต่บางรายอาจจำเป็นซึ่งขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วย ความรุนแรงของโรค วิธีที่ใช้ในการรักษา และอื่นๆ

 

ผู้ป่วยมักจะต้องทำแผลจนกว่าแผลจะฟื้นฟู ซึ่งในระหว่างนี้ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องให้พยาบาลช่วยในการเปลี่ยนผ้าปิดแผลและตรวจสอบสภาพแผลอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปแผลจะใช้เวลาฟื้นฟูประมาณ 6 สัปดาห์

 

ในระหว่างที่กำลังพักฟื้น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้รับประทานยาที่ช่วยให้อุจจาระนิ่ม เพื่อให้ขับถ่ายสะดวกหรือช่วยบรรเทาอาการไม่สบายตัวจากกการเคลื่อนไหวของลำไส้

 

เป็นฝีที่ก้น รักษายังไง2

 

 


ภาวะแทรกซ้อนหลังจากการผ่าตัด

 

ภาวะแทรกซ้อนของฝีคัณฑสูตรอาจเกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัด ซึ่งคล้ายคลึงกันกับการผ่าตัดหลายๆ ชนิด โดยอาจมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้

 

1. การติดเชื้อ ซึ่งอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ และบางรายที่มีความรุนแรงอาจจำเป็นต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล

 

2. การกลับมาเป็นซ้ำ ถึงแม้ว่าจะรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ว ก็มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้

 

3. เกิดความผิดปกติในการควบคุมการขับถ่ายหรือกลั้นไม่ได้ เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝีคัณฑสูตรหลายชนิด อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติที่รุนแรงจะพบได้น้อยมาก เพราะการผ่าตัดและรักษาจะช่วยป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว

 

4. มีเลือดออกมาก

 

5. มีอาการเจ็บปวดมาก บวมหรือมีหนองไหล

 

6. มีไข้สูง

 

7. คลื่นไส้

 

8. ท้องผูก

 

9. ปัสสาวะลำบาก

 

10. เกิดรอยแผลเป็น

 

ระดับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของฝีคัณฑสูตรและวิธีที่ใช้ในการผ่าตัดรักษา ซึ่งผู้ป่วยควรปรึกษากับแพทย์ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.เอกพล ศิริพงษ์เวคิน

แพทย์แผนไทยประยุกต์

" ใส่ใจทุกความต้องการ ดูแลเหมือนคนในครอบครัว "

นศ.พท.ป. สุพัชชา พรมน้ำ

แพทย์แผนไทย

" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า