โรคงูสวัด (Herpes Zoster) คือโรคผิวหนังชนิดที่เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella Zoster Virus หรือ VZV ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับ "โรคอีสุกอีใส" โดยเชื้อชนิดนี้สามารถติดต่อกันได้ จากการสัมผัสกับบุคคลที่มีเชื้อนี้อีกด้วย
หากเชื้อชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายผู้ที่ไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน ก็จะทำให้เป็น "โรคอีสุกอีใส" และเมื่อหายเป็นปกติแล้ว เชื้อไวรัสจะยังคงฝังตัวอยู่ตามปมประสาทภายในร่างกายไปตลอดชีวิต จนเมื่อร่างกายไม่แข็งแรง อ่อนแอ เจ็บป่วยเป็นโรคมะเร็ง หรือ HIV เกิดความเครียดหรือพักผ่อนน้อย ไวรัสชนิดนี้ก็จะส่งต่อปมประสาททำให้เกิดอาการอักเสบ และเกิดตุ่มใสเรียงตัวตามแนวของเส้นประสาท จนเมื่อไวรัสเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ร่างกายแสดงอาการออกมาเป็นโรคงูสวัดอย่างชัดเจน
โรคงูสวัด เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักจะเกิดกับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งโรคงูสวัดจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนแล้วเท่านั้น และเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการรักษาทันท่วงที ยิ่งพบแพทย์ไว ก็จะยิ่งลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน หากปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้เช่นกัน
แบบที่ 1: การซักประวัติ และตรวจร่างกาย
แพทย์จะทำการซักประวัติ และตรวจร่างกาย เพื่อวินิจฉัยโรคจากอาการและลักษณะทางผิวหนังที่แสดงออกมา ดังนั้นหากเกิดผื่นและตุ่มน้ำขึ้น แพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้ทันที แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีผื่นหรือตุ่มน้ำขึ้นตามผิวหนัง การวินิจฉัยจะเป็นไปได้ยากมากขึ้น ทั้งนี้อาการของงูสวัดนั้นอาจทำให้เกิดความสับสนกับโรคเริม บางครั้งก็คล้ายกับโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง ผื่นผิวหนังอักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย และผื่นแพ้ยา
แบบที่ 2: ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ด้วยวิธีแซ๊งสเมียร์ (Tzanck smears)
เป็นวิธีการตรวจจากรอยโรค โดยการเจาะตุ่มน้ำแล้วขูดเซลล์บริเวณฐานของตุ่มน้ำไปตรวจ ซึ่งเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก และสามารถตรวจได้ในเบื้องต้นทันที แต่วิธีนี้จะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นงูสวัดหรือเป็นแค่เพียงการติดเชื้อเริม
แบบที่ 3: การย้อมด้วยสีฟลูออเรสเซนต์ (Direct Fluorescent Antibody)
เป็นการเก็บตัวอย่างจากผิวหนังบริเวณที่เป็นตุ่มไปย้อมสีเพื่อหาแอนติเจน (Antigen) หรือเชื้อไวรัส วิธีนี้เป็นวิธีการวินิจฉัยที่เร็วมาก
แบบที่ 4: วิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (Polymerase Chain Reaction: PCR)
เป็นวิธีตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อ วิธีนี้สามารถตรวจได้ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ บางแห่งเท่านั้น
แบบที่ 5: การตรวจหาภูมิคุ้มกัน (Serologic Methods)
เป็นวิธีที่แพทย์ใช้การตรวจภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อไวรัส หากพบก็จะทำให้วินิจฉัยได้ทันทีว่าเป็นโรคงูสวั
โรคงูสวัด เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้ แพทย์มักจะรักษาตามอาการ ร่วมกับใช้ยาต้านไวรัส
เพื่อเร่งกระบวนการหายของโรค และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน นอกจากนี้ แพทย์อาจใช้ยาลดอาการปวด, ยาลดการอักเสบ, ยาในกลุ่มต้านอาการชัก, ยาต้านอาการซึมเศร้า, ยาในกลุ่มยาชา เป็นต้น เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดที่รุนแรงของ โรคงูสวัด
หลังจากอาการทางผิวหนังหายเป็นปกติแล้ว
แต่ยังมีอาการปวดต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอาการที่พบได้หลังจากเป็นงูสวัด แพทย์อาจจะจ่ายยารักษาอาการปวดที่ปลายประสาทร่วมด้วย
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการโรคงูสวัดขึ้นตา
ควรทำการรักษากับจักษุแพทย์โดยตรง ซึ่งแพทย์จะใช้ยาต้านไวรัสชนิดทาน และหยอดตาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา
สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
เช่น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV โรคเอดส์ หรือโรคชนิดที่สามารถแพร่กระจายไปทั้งตัวได้ แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำและต้องเข้ารับการรักษาตัวภายในโรงพยาบาลจนกว่าจะหายเป็นปกติ
สำหรับสตรีมีครรภ์และเด็ก
หากเกิดอาการงูสวัดในขณะตั้งครรภ์ แพทย์จะพิจารณาในเรื่องการใช้ยาในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งโรคงูสวัดในหญิงตั้งครรภ์จะไม่ส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ ส่วนงูสวัดในเด็กบางกรณีอาจไม่ต้องทำการรักษา เพราะมีแนวโน้มที่จะมีอาการไม่รุนแรง และมีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ยกเว้นรายที่อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ก็อาจต้องใช้การรักษาเข้าช่วย เช่น ในกรณีที่เด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจต้องใช้ยาต้านไวรัสเพื่อรักษาอาการ
การรักษาโรคงูสวัด อาจจะมีระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละเคส ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับรับประทานยา หรือสมุนไพรรักษางูสวัด ตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
ปุณรดายาไทยมีความเชี่ยวชาญในการดูแล ให้คำปรึกษา รักษาอาการงูสวัดในเคสมากกว่า 300 เคส โดยใช้ตำรับยาสมุนไพรไทย ไร้สารสเตียรอยด์ และเคมีที่เป็นอันตราย ปลอดภัยโดยให้คำแนะนำในการใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์
ชุดการรักษางูสวัด H-Set ประกอบด้วยตำรับยาสมุนไพรครบครันถึง 3 ตำรับในการรักษาภายในและภายนอกอย่างครอบคลุมทุกอาการ ตัวยาในชุดได้แก่
1. ตำรับยาแก้น้ำเหลืองเสีย หรือ B-Treat จะมีหน้าที่เข้าไปรักษาอาการผื่นงูสวัดโดยตรง ฟื้นฟูและขับน้ำเหลืองเสีย บำรุงระบบน้ำเหลือง ช่วยรักษาแผลงูสวัดให้หายเร็วมากขึ้นจากภายใน
2. ตำรับยาประสะจันทน์แดง หรือ B-Cool ตัวยาลดไข้ กระทุ้่งพิษไข้ที่เกิดจากการกำเริบของเชื้อไวรัส
3. น้ำมันมหาจักร์ B-Liz2 Oil ยาทาภายนอกสำหรับแผลงูสวัด ช่วยให้แผลแห้ง สมานแผล ลดอาการแสบร้อนที่ผิวหนัง
การรักษาตามแนวแพทย์แผนไทยมุ่งเน้นในด้านการรักษาอาการให้หายสนิทรวมไปถึงการช่วยป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ ขั้นตอนของการรักษาด้วยชุดยา H-Set จะใช้เวลาประมาณ 5-14 วัน จนอาการหายสนิท หลังจากอาการหายสนิท จะเป็นขั้นตอนของการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ลดโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ ด้วยชุดยา B-Boost Set ในชุดของการฟื้นฟูจะช่วยทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงขึ้น กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ขับฟอกโลหิตที่เสีย พร้อมบำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง การที่เรามีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง จะเป็นการลดโอกาสการเป็นซ้ำและทำให้อาการหายขาดได้ ช่วงของการฟื้นฟูจะใช้เวลาประมาณ 3 - 6 เดือนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
หากคุณกำลังมีอาการงูสวัดอยู่ อย่ารอช้า ปล่อยให้อาการเป็นหนักขึ้น ควรรีบรักษาเพื่อไม่ให้ลุกลาม และเรื้อรัง ปุณรดายาไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและทีมแพทย์แผนไทยที่มีประสบการณ์ยินดีให้คำปรึกษาสำหรับการใช้สมุนไพรรักษาอาการงูสวัด สามารถปรึกษาอาการเข้ามาทาง Line ของปุณรดายาไทยได้เลยนะคะ ทางเรามีคุณหมอคอยดูแลให้คำแนะนำทุกวัน ตั้งแต่ 09:00 - 21:00 เลยค่ะ
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "