ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยในเรื่องการใช้อาหารและสรรพสิ่งรอบตัวให้เป็นยานั้นน่าทึ่งมากค่ะ ยาสมุนไพรนั้นสามารถปรุงได้จาก 3 อย่างคือ
- พืชวัตถุ เช่น ต้น เถา หัว เปลือก แก่น ราก ใบ ดอก ของพืช
- สัตว์วัตถุ เช่น ขน หนัง เขา กระดูก น้ำผึ้ง นม เนย
- ธาตุวัตถุ เช่น เกลือ ดินประสิว สุรา ปูน น้ำฝน
นอกจากนี้การดูแลสุขภาพตามแพทย์แผนไทยยังมีวิธีทานอาหารให้เป็นยาอีกด้วย โดยใช้หลักการพิจารณารสอาหาร เช่นเดียวกับรสยา เพื่อเลือกทานให้ถูกกับธาตุเจ้าเรือน หรือเพื่อแก้กษัย (การเจ็บป่วยที่เป็นอยู่)
รสยาตามคัมภีร์สรรพคุณยา มี 9 รส รวมกับรสจืดเป็นอีกหนึ่งรส ดังนี้ค่ะ
สมุนไพรและอาหารที่มีรสฝาดจะมีสรรพคุณสมานแผล แก้ท้องเสีย ฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรีย แก้อาการมูกเลือด ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์ก็พิสูจน์แล้วได้ผลตรงกับตำราไทยว่าสารแทนนินที่อยู่ในอาหารรสฝาดนั้นมีสรรพคุณตามที่กล่าวมาจริงๆค่ะ
สมุนไพรรสฝาด เช่น เปลือกมังคุด เปลือกลูกทับทิม สมอพิเภก สมอไทย
อาหารรสฝาด เช่น กล้วยดิบ มะขามดิบ หยวกกล้วย มะกอก ใบชา ฝรั่ง เป็นต้น
สมุนไพรและอาหารรสหวานจะแก้อาการอ่อนเพลีย แก้ไอ แก้หอบ ชุ่มคอ เจริญอาหาร สมุนไพรรสหวานนั้นจะออกฤทธิ์ซึบซาบไปตามเนื้อ จึงสามารถแก้ฟกช้ำ สามารถใช้สมุนไพรรสหวานเจือกับยารสขมเพื่อให้ยาทานง่ายขึ้น
สมุนไพรรสหวาน เช่น ชะเอมเทศ ชะเอมไทย รากหญ้าคา ดอกคำฝอย
อาหารรสหวาน เช่น บวบ ผักหวาน น้ำผึ้ง รากและดอกมะพร้าว
สมุนไพรรสเมาเบื่อจะใช้ในการแก้พิษ แก้ปวดบาดแผล เช่นพิษแมลง แผลถูกสัตว์ร้ายกัด ลดอาการปวดอวัยวะภายใน
สมุนไพรรสเมาเบื่อ เช่น ขันทองพยาบาท กระเบา กระเบียน สุรา ทองพันชั่ง ชุมเห็ดเทศ ข้าวเย็นใต้ ข้าวเย็นเหนือ
อาหารรสเมาเบื่อ เช่น ผักสะแกนา สลอด กลอย
มีสรรพคุณลดความร้อนในร่างกาย แก้ไข้ต่างๆ บำรุงน้ำดี ช่วยย่อยอาหาร ทำให้เจริญอาหาร
สมุนไพรรสขม เช่น ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด มะกา มะแว้ง ประคำดีควาย ดีของสัตว์ต่างๆ เช่น ดีงู ดีหมูป่า อาหารที่มีรสขม เช่น มะระ เปลือกและเมล็ดมะนาว ใบยอ สะเดา ฝักเพกา
สรรพคุณของรสเผ็ดร้อนคือ ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร แก้ตะคริว บำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ขับโลหิต ช่วยให้ฝียุบ
สมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน คือ ลูกจันทน์เทศ ลูกกระวาน กานพลู รากพาดไฉน
อาหารที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น กระเทียม พริกไทย ข่า ตะไคร้หอม กระชาย ขิง ดอกดีปลี
สมุนไพรและอาหารรสมันมีสรรพคุณบำรุงเส้นเอ็น แก้ไขข้อพิการ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ
ในตำรับยาแก้เส้นเอ็นพิการเรามักเห็นสมุนไพรรสมันเหล่านี้ แก่นกันเกรา เลือดแรด ส่วนอาหารรสมัน คือ งา ถั่วต่างๆ เมล็ดบัว เนื้อมะพร้าว ฟักทอง เป็นต้น
สมุนไพรรสหอมเย็นมีสรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงอารมณ์ ใช้รักษาอาการที่เกี่ยวกับหัวใจหรือฮอร์โมน เช่น ไทรอยด์ นอกจากนี้ยังทำให้ชื่นใจ แก้อ่อนเพลีย แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้อาการใจหวิวใจสั่น
สมุนไพรรสหอมเย็น เช่น เกสรทั้ง 5 หญ้าฝรั่น กฤษณา พิมเสนในปล้องไม่ไผ่ กระลำพัก ส่วนอาหารรสหอมเย็น เช่น ใบเตย น้ำลอยมะลิ ใบบัวบก แตง บวบ ฟัก
รสเค็มมีสรรพคุณแก้โรคเกี่ยวกับผิวหนัง ขับเมือกในลำไส้ ถ่ายน้ำเหลือง แก้เสมหะเหนียว รักษาบาดแผล ป้องกันไม่ให้แผลเน่าเปื่อย
สมุนไพรรสเค็ม เช่น แก่นแสมทะเล เปลือกต้นมะเกลือ โคกกระสุน ดินประสิว เนาวหอยเผา
อาหารรสเค็ม เช่น เกลือ ผักชะคราม น้ำด่าง น้ำแช่ถ่าน
สมุนไพรและอาหารรสเปรี้ยวมีสรรพคุณกวาดเสมหะ แก้ไอ ระบายท้อง บำรุงโลหิต แก้เลือดออกตามไรฟัน
ตัวอย่างสมุนไพรรสเปรี้ยวเช่น ส้มป่อย โทงเทง ส้มเสี้ยว รากมะกล่ำทั้งสอง ส่วนอาหารรสเปรี้ยวหาได้ง่าย เช่น ดอกกระเจี๊ยบ ใบมะขาม ใบมะยม และผลไม้รสเปรี้ยว
นอกจากทั้ง 9 รสนี้แล้ว ยังมีสมุนไพรและอาหารรสจืด ไม่ไปรบกวนธาตุและอวัยวะต่าง มีสรรพคุณเป็นกลาง เหมาะกับผู้ที่พักฟื้น หรือธาตุอ่อน ช่วยระบายสารพิษตกค้างในร่างกาย เช่น ขลู่ หญ้าถอดปล้อง รากต่อไส้ แก่นปรู ส่วนอาหารรสจืด เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ผักตับเต่า ผักกาด
นอกจากการแบ่งเป็น 9 รสแล้ว แต่ละรสยังแยกออกเป็นรสร้อน รสเย็น รสสุขุมอีกด้วย เช่น สมุนไพรรสเค็มร้อน รสเค็มเย็น รสเค็มสุขุม อีกด้วย เพราะแบบนี้ การปรุงยาจึงต้องใช้ความละเอียดอ่อนและความเชี่ยวชาญ รวมถึงการเลือกทานอาหารให้เป็นยาก็ควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้แนะนำค่ะ การเลือกผิดอาจทำให้อาการแย่ลง นอกจากการทานอาหารให้เป็นยาแล้ว ทานอาหารตามวัย ก็เป็นการดูแลสุขภาพเช่นกันนะคะ
ปุณรดายาไทยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร การเลือกทานอาหารให้เป็นยา และการจ่ายยาสมุนไพรตามธาตุ สนใจปรึกษาทีมแพทย์แผนไทยของเราได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "