ภูมิปัญญาของแพทย์แผนไทยได้บันทึกเกี่ยวกับอิทธิพลของฤดูกาลที่มีต่อธาตุไว้ในคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย ในอดีตนั้นชาวไทยจะรู้ว่าฤดูไหนควรทานอะไร เพื่อบำรุงให้ธาตุแข็งแรง หรืออย่างในวังก็มีการจัดสำรับตามฤดู ซึ่งใช้ความรู้จากคัมภีร์แพทย์แผนไทยเช่นกันค่ะ
คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัยเป็นคัมภีร์ว่าด้วยการวินิจฉัยที่มาของโรคนั้น ซึ่งมีที่มาจาก 4 ด้าน ได้แก่
- ธาตุสมุฏฐาน (สาเหตุที่เกิดจากธาตุ)
- ฤดูสมุฏฐาน (สาเหตุที่เกิดจากฤดูกาล)
- อายุสมุฏฐาน (สาเหตุที่เกิดจากอายุ)
- กาลสมุฏฐาน (สาเหตุที่เกิดจากเวลา)
เพราะสาเหตุทั้ง 4 สาเหตุนั้นกระทบกับร่างกายเราทั้งสิ้น ในการวินิจฉัยโรคเพื่อจ่ายยาและทานอาหารนั้น จะต้องวิเคราะห์ให้ครอบคลุม
วันนี้ปุณรดายาไทยจะมาพูดถึงฤดูสมุฏฐาน ในทางแพทย์แผนไทยนั้นมีการแบ่งฤดูเป็น 3 ฤดู ซึ่งฤดูกาลแต่ละฤดูนั้นมีอิทธิพลต่อธาตุต่างกัน เราสามารถเลือกทานอาหารเพื่อบำรุงธาตุที่อ่อนในแต่ละฤดูได้ค่ะ
อาการเจ็บป่วยมักเกิดจากธาตุไฟ (ปิตตะ) เป็นธาตุหลัก อวัยวะธาตุไฟที่อากาศร้อนมากระทบคือ ระบบน้ำดี ถุงน้ำดี น้ำดีในลำไส้ และกำเดา
เพราะความร้อนจากอากาศทำให้ธาตุไฟกำเริบ ดังนั้น การเลือกทานอาหารในฤดูร้อนควรเป็นอาหารที่ลดความร้อนในร่างกาย ปุณรดายาไทยขอแนะนำการจัดสำรับสำหรับหน้าร้อน ดังนี้ค่ะ
อาหารว่าง ยำผักกูด สะเดาน้ำปลาหวาน ยำสายบัว
อาหารจานหลัก ต้มจืดฟัก แกงส้มน้ำเต้าดอกแค ผักกาดฉ่าน้ำปลา น้ำพริกผักต้มสำรับหน้าร้อน (กระเจี๊ยบ ผักปรัง ผักหวาน ยอดฟักทอง)
ของหวาน รสเย็นที่เหมาะกับฤดูร้อน เช่น ลูกตาลลอยแก้ว ปลาแห้งแตงโม น้ำใบเตย รากบัวเชื่อม มังคุดสด
อาการเจ็บป่วยมักเกิดจากธาตุลม (วาตะ) เป็นธาตุหลัก ด้วยอากาศที่ร้อนชื้นทำให้เลือดลมในร่างกายหมุนเวียนผิดปกติ โดยเฉพาะลมในท้อง และลมในเส้นเอ็น ทำให้ปวดเมื่อยร่างกาย ไม่สบายเนื้อตัว
ร่างกายจะมีความร้อนและความชื้นสะสมสูงขึ้น ลมในร่างกายแปรปรวน ทำให้จุกเสียด แน่นเฟ้อ วิงเวียน นอกจากนี้แล้ว ฤดูฝนยังเป็นฤดูที่เกิดโรคระบาดได้ง่ายที่สุด เช่นโรคไข้เลือดออก โรคฉี่หนู อาหารที่เหมาะกับฤดูฝนจึงเป็นอาหารรสเผ็ดร้อนเพื่อขับลม กระจายลม ไล่ความชื้นในร่างกาย รสมันเพื่อบำรุงเส้นเอ็น และรสขมเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันด้วยค่ะ
อาหารว่าง ยำสมุนไพรซอย (ขิง ข่า ตะไคร้) เม็ดมะม่วงหิมพานต์คั่ว เมี่ยงใบช้าพลู สะเดาน้ำปลาหวาน
อาหารจานหลัก ผัดพริกไทยดำ ผัดฉ่าพริกไทยอ่อน น้ำพริกแกล้มผัก (ขมิ้นขาว ใบมะตูม ผักไผ่ หน่อไม้สด ดอกกระเจียว) ต้มจืดมะระ
ของหวาน เป็นผลไม้รสร้อน เช่น ทุเรียน ลิ้นจี่ ลำไย ละมุด ทั้งนี้ต้องระวังโรคที่แสลงกับผลไม้รสร้อนด้วยนะคะ
อาการเจ็บป่วยมักเกิดจากธาตุน้ำ (เสมหะ) เป็นหลัก ลมหนาวจะพัดพาความเย็นและความแห้งเข้าร่างกาย ทำให้ระบบเลือดแปรปรวน ผิวหนังแห้งกร้าน และฤดูหนาวเป็นช่วงที่เกสรดอกไม้ฟุ้งกระจายในอากาศ เกิดภูมิแพ้ได้ง่าย ฤดูหนาวควรทานอาหารรสจืดและรสสุขุมเป็นหลัก และเมื่อมีอาการเสมหะกำเริบ ควรเสริมอาหารที่มีรสเปรี้ยวเข้าไป
อาหารว่าง ส้มตำไทยเผ็ดน้อย ยำตะลิงปลิง เมี่ยงคำ ซุปสาหร่าย
อาหารจานหลัก ต้มส้มใบมะขาม แกงส้มมะรุม ต้มจืดสาหร่าย น้ำพริกระกำ น้ำพริกมะดัน ต้มจืดตั้งโอ๋
ของหวานสำหรับฤดูหนาว ได้แก่ กระท้อนลอยแก้ว สัปปะรดพริกเกลือ ผลไม้รสเปรี้ยวเช่น ส้ม มะม่วง มะม่วงหาวมะนาวโห่ มะยม
ศาสตร์แพทย์แผนไทยเป็นศาสตร์ที่ครอบคลุมเกือบทุกด้านค่ะ การดูแลสุขภาพแบบแพทย์แผนไทยนั้นใช้ได้ทุกคน ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ที่อาการเจ็บป่วยเท่านั้น เราทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพเพื่อดูแลคนที่คุณรักได้นานๆ ต้องเริ่มจากดูแลตัวเองก่อนนะคะ ปุณรดายาไทยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดูแลสุขภาพตามธาตุเจ้าเรือน การปรับธาตุให้สู่สมดุล ต้องการสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน นอกจากการทานอาหารตามฤดูแล้ว การ ดูแลสุขภาพช่วงเปลี่ยนฤดู ก็สำคัญนะคะ ปรึกษาปุณรดายาไทย แพทย์แผนไทยที่ใกล้คุณมากที่สุดได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 086-955-6366, 091-546-9415
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "