แพทย์แผนไทยมีองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพตามวัยด้วยค่ะ เพราะแต่ละวัย ธาตุที่หย่อน ธาตุที่กำเริบ ธาตุที่กระทบ ก็ต่างกัน เราจะเห็นได้ว่าเด็กในปัจจุบันมักจะมีอาการแพ้อาหารแปลกๆ เพราะธาตุของเด็กนั้นทำงานไม่เหมือนผู้ใหญ่ จะให้ทานอะไรเหมือนกับผู้ใหญ่เลยไม่ได้ค่ะ
ในอดีตนั้น ชาวไทยทุกคนจะมีภูมิปัญญาดูแลสุขภาพอยู่ทุกบ้าน ไม่จำเป็นต้องไปหาหมอ รักษาเบื้องต้นด้วยการ ทานอาหารเป็นยา ค่ะ
ในทางการแพทย์แผนไทย ได้แบ่งอายุเป็น 3 ช่วงอายุ ได้แก่ ปฐมวัย (วัยเด็ก) มัชฌิมวัย (วัยกลางคน) และปัจฉิมวัย (วัยชรา)
ปฐมวัยคือวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 16 ปี ซึ่งวัยนี้มีน้ำเป็นส่วนประกอบของร่างกายในสัดส่วนที่มากกว่าวัยอื่น ดังนั้น เจ้าสมุฏฐานคือ เสมหะ หมายความว่า ไม่ว่าวัยนี้จะป่วยด้วยโรคอะไรก็ตาม ก็มักจะมีอาการของเสมหะกำเริบ หรือเสมหะหย่อนปนด้วยอยู่เสมอ ตามตำรานั้น ปฐมวัยจะเจ็บป่วยจากเสมหะประมาณ 12 วัน ถ้าไม่รักษาให้เสมหะกลับมาสมดุลภายใน 12 วันนี้ จะเริ่มเจ็บป่วยด้วยธาตุอื่น ต้องรีบไปหาหมอค่ะ
ความผิดปกติของเสมหะจะเกิดเป็นอาการแสดงให้รู้ว่าร่างกายต้องได้รับการรักษา ซึ่งความปกติจะมีดังนี้ค่ะ คอแห้งผิดปกติ เด็กขอดื่มน้ำบ่อยๆ หรือมีเสมหะข้นเหนียว มีน้ำมูก น้ำตาไหล ตาแฉะ วัยเด็กจะเป็นวัยที่ท้องเสีย ท้องเดินได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ รวมถึงอาการปอดบวม ผื่นน้ำเหลืองเสีย ฝี ภูมิแพ้อากาศโดยเฉพาะช่วงหน้าหนาว หรือเวลาค่ำๆด้วยค่ะ พอมีอาการเหล่านี้ควรบำรุงร่างกายด้วยอาหารหรือสมุนไพร รวมถึงปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมร่วมด้วยค่ะ เพื่อเป็นการลดการใช้ยามากเกินความจำเป็น เนื่องจากการทานยาแผนปัจจุบันตั้งแต่เด็กอาจทำให้ตับไตทำหนัก และอาจดื้อยาเมื่อโตขึ้นด้วย
อาหารที่ไม่ควรทานมากเกินไปเพราะจะทำให้เสมหะกำเริบ เช่น ของหวานจัด ของเย็น (น้ำเย็น น้ำแข็ง ไอศกรีม) ส่วนอาหารที่ทำให้เสมหะหย่อน ได้แก่อาหารที่มีน้ำมันสูงหรือไขมันสูงจัด เช่น ขนมกรุบกรอบ ของทอด ของผัดมันๆ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมและเนยเช่น ขนมปัง คุกกี้จะดูดน้ำในร่างกายทำให้เสมหะหย่อน
หากมีอาการเสมหะหย่อน อาหารที่ดีที่สุดคืออาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากๆ เช่น ฟัก แตงกวา แตงโม แฟง บวบ ผักกาดแก้ว ชมพู่ และอาหารที่มีรสหวานจากธรรมชาติ เช่นน้ำผึ้ง น้ำอ้อย และหากเสมหะกำเริบ มีน้ำมูกมาก ควรทานอาหารรสเปรี้ยว เช่น ส้ม สัปปะรด มะม่วง น้ำผึ้งมะนาว น้ำมะขาม สตรอเบอร์รี่ ผลไม้กลุ่มเบอร์รี่ แอปเปิ้ลเขียว และอย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำค่ะ ควรดื่มน้ำให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัว ไม่ปล่อยให้เด็กคอแห้งค่ะ
ทุกอย่างสามารถทานได้นะคะ แต่ควรทานในปริมาณที่พอดีค่ะ และทานให้หลากหลาย เด็กมีความไวต่ออาหารที่ยกตัวอย่างไปมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นควรระวังเรื่องการทานมากเกินไปจะทำให้เจ็บป่วย
มัชฌิมวัยคือวัยตั้ง 16 ปีจนถึง 32 ปี เป็นวัยที่ธรรมชาติออกแบบให้ทำงานได้เต็มที่ สามารถทำกิจกรรมได้มาก เหนื่อยน้อยเพราะระบบเลือด ระบบเผาผลาญ และฮอร์โมนทำงานได้ดี
อย่างไรก็ตาม ฮอร์โมนและระบบเลือดของมัชฌิมวัยจะทำงานหนัก ดังนั้น เจ้าสมุฏฐานคือ ปิตตะ คือตัวควบคุมฮอร์โมนและการเผาผลาญในร่างกายนั่นเอง ตามตำรานั้น มัชฌิมวัยจะเจ็บป่วยเพราะปิตตะกำเริบหรือหย่อนอยู่ 7 วัน ถ้าไม่รักษาภายในเวลานี้จะกระทบธาตุอื่นๆ ทำให้เจ็บป่วย
อาการที่แจ้งว่าปิตตะมีความปกติ ได้แก่หงุดหงิด ปวดศีรษะไมเกรน กรดไหลย้อน แผลร้อนในในปาก สิวบริเวณใบหน้าหรือลำตัว ผมหงอกก่อนวัยอันควร อ่อนเพลีย ซีด
อาหารที่มัชฉิมวัยควรเลือกทานเพื่อบำรุงปิตตะคืออาหารรสเย็น หวาน ขม ฝาด เช่น มะระ สะเดา ชาเกสรดอกไม้ต่างๆ บวบ ผักหวาน น้ำผึ้ง อาหารที่มีวิตามินสูง เช่น ผักใบเขียว ปลาทะเล ถั่วธัญพืชต่างๆ และควรมี ยาหอมอินทจักร์ ติดตัวไว้เสมอ เพราะมีตัวยาที่บำรุงปิตตะโดยตรง ทำให้อารมณ์เย็นลง เลือดลมไหลเวียนได้ดี ยาหอมอินทจักร์ของปุณรดายาไทยจะมีส่วนผสมของ ดีงู ดีหมูป่า ทำให้ออกฤทธิ์เร็วกว่ายาหอมทั่วไท เพราะเครื่องยาเหล่านี้จะพาตัวยาแล่นเข้าสู่หัวใจโดยตรง
อาหารที่ควรลดปริมาณคืออาหารที่มีฤทธิ์ร้อนจัด เช่น ของหมักดอง แอลกอฮอล์ อาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เพราะมีฤทธิ์ทำให้ปิตตะกำเริบได้ เช่น ทานอาหารรสเปรี้ยวและเผ็ดร้อนแล้วเป็นกรดไหลย้อน
ปัจฉิมวัยคือตั้งแต่ 32 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่ร่างกายหยุดการสร้าง มีแต่หล่อเลี้ยงอวัยวะที่มีอยู่ อวัยวะเริ่มเสื่อมถอยลง จึงเรียกว่าวัยชรา ในวัยนี้ลมในร่างกายจะทำงานเสื่อมถอย เจ้าสมุฏฐานคือ วาตะ
เนื่องจากวัย 32 จะมีความกังวลมาก ในปัจฉิมวัยช่วงแรก สุมนาวาตะจึงมีบทบาทมาก (คือลมที่ทำให้จิตใจสบาย ความรู้สึกปกติ) หากสุมนาวาตะหย่อนหรือกำเริบจะทำให้เครียด ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ การบีบตัวของหลอดเลือด และในระยะปลาย หทัยวาตะก็จะมีอิทธิผลต่อร่างกาย ซึ่งเป็นเหตุให้อวัยวะภายในเสื่อมถอย ตามตำรานั้นปัจฉิมวัยจะเจ็บป่วยเพราะวาตะอยู่ 10 วัน หลังจากนั้นจะเริ่มมีธาตุอื่นเข้ามาผสม
อาการที่แจ้งว่าวาตะหย่อนคือ อาหารไม่ย่อย ความดันต่ำ หัวใจเต้นช้า เส้นเลือดตีบ อารมณ์ซึมเศร้า ขุ่นมัว เบื่ออาหาร และอาการที่แจ้งว่าวาตะกำเริบได้แก่ ท้องอืด ความดันสูง หัวใจเต้นเร็ว เส้นเลือดโป่งพอง
หากมีอาการวาตะหย่อน อาหารที่ควรทานได้แก่ อาหารรสเผ็ดร้อน รสเค็ม เพื่อกระตุ้นให้วาตะทำงาน เช่น พริกไทย กระเทียม ใช้เกลือไอโอดีนแทนน้ำปลา แต่ถ้าหากมีอาการวาตะกำเริบ ควรทานอาหารที่ช่วยกำจัดลมส่วนเกิน ได้แก่ ขิง กระชาย ขึ้นฉ่าย กล้วยสุก น้ำมันดีเช่นน้ำมันมะกอก
อ้างอิง
https://www.facebook.com/komsondinakara/posts/281590162030327/
https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book542/thai.html
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 086-955-6366, 091-546-9415
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "