5 เรื่องไซนัสที่คุณควรรู้

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

5 เรื่องไซนัสที่คุณควรรู้

ไซนัสเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกาย สำคัญพอๆกับอวัยวะต่างๆ เราไม่ควรรอให้ป่วยก่อนแล้วหาข้อมูลเกี่ยวกับไซนัส เพราะการป้องกันดูแลสุขภาพไซนัสนั้นง่ายกว่าการรักษาเยอะเลยค่ะ

 

1. ไซนัสไม่ได้อยู่ในจมูก

ไซนัสเป็นอวัยวะที่อยู่ด้านหลังจมูกค่ะ ไม่ได้อยู่ในโพรงจมูก เป็นส่วนหนึ่งของกะโหลกด้านหน้า โพรงไซนัสเป็นช่องว่างในกะโหลกกระจายอยู่บริเวณแก้ม จมูก และตา ซึ่งโพรงไซนัสมีทั้งหมด 10 โพรง ภายในโพรงไซนัสจะมีต่อมผลิตเมือก เพื่อปล่อยออกมาในโพรงจมูกและหลอดลม ทำหน้าที่ดักจับฝุ่นและเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย

 

2. โพรงไซนัสจำนวนมากขึ้นตามอายุ

ไซนัสมีทั้งหมด 4 ประเภท ไซนัสที่มีตั้งแต่กำเนิดนั้นคือ Maxillary Sinus กับ Ethmoid Sinus ซึ่งอยู่บริเวณหน้าแก้มและข้างจมูก จากนั้นเมื่ออายุ 3 ปี Sphenoid Sinus ซึ่งอยู่ด้านหลังจมูก จะเริ่มพัฒนาขึ้น และเมื่อ 6 ปี Frontal Sinus บริเวณหน้าผากจะเริ่มขยายเป็นโพรง 

 

ในช่วงก่อนอายุ 7 ขวบนั้น ไซนัสยังคงเป็นเนื้อเยื่ออ่อนๆ ไม่มีโพรงอากาศ แต่เมื่ออายุ 7 ปี ไซนัสจะเริ่มเป็นโพรงและมีเมือกด้านในวัย 7 ขวบจึงเป็นวัยที่เริ่มเป็นไซนัสอักเสบได้ โพรงไซนัสนั้นจะขยายและทำงานเต็มที่เมื่อเราอายุ 15 ปีค่ะ อ่านเพิ่มเติมในบทความ เด็กเป็นไซนัสอักเสบ ได้หรือไม่

 

5เรื่องไซนัสที่คุณควรรู้_1-3

 

3. ไซนัสมีผลต่อการรับกลิ่น

Sphenoid Sinus อยู่ติดกับอวัยวะสำหรับรับกลิ่น ซึ่งประกอบด้วย ปลายประสาทรับกลิ่น (olfactory recepter) และ ต่อมรับกลิ่น (olfactory bulb) อวัยวะทั้งสองนี้อยู่บริเวณผนังด้านบนของโพรงจมูก ทำหน้าที่ส่งข้อมูลกลิ่นไปยังสมอง เมื่อมีอาการไซนัสอักเสบ เนื้อเยื่อบริเวณต่อมรับกลิ่นจะอักเสบด้วย ทำให้การรับกลิ่นแย่ลง หากเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรังนานๆ อาจจะสูญเสียประสิทธิภาพการรับกลิ่นถาวร

 

5เรื่องไซนัสที่คุณควรรู้_1-4

 

4. ไซนัสผลิตเสมหะวันละ 1 ลิตร

อาจจะฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่เป็นเรื่องจริงค่ะ ในทุกๆวันเรากลืนเสมหะผ่านลงคอไปยังกระเพาะอาหารประมาณวันละ 1 ลิตร เสมหะนี้เป็นอวัยวะที่จำเป็นของร่างกายค่ะ ช่วยหล่อลื่นหลอดอาหารและหลอดลมไม่ให้เกิดการเสียดสีภายใน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเจ็บคอ ในทางแพทย์แผนไทยนั้น เสมหะเป็นหนึ่งในอวัยวะธาตุน้ำ 12 อย่าง ทำหน้าที่ซึมซาบไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้อาหารอ่อนตัว เป็นตัวกลางที่ทำให้สิ่งต่างๆ ไหลเวียนไปได้ เสมหะนั้นมากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ดี การปรับธาตุให้สมดุลจึงเป็นสิ่งสำคัญ

 

5. ไซนัสทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิ

นอกจากดักจับฝุ่นและเสมหะแล้ว ไซนัสยังทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิและความชื้นในอากาศก่อนที่จะปล่อยให้เข้าสู่ร่างกายอีกด้วย เมื่อเราอยู่ในที่อากาศหนาวเย็นและแห้ง ไซนัสจะปล่อยความร้อนและเพิ่มความชื้นให้กับอากาศในโพรงจมูกก่อนจะเข้าสู่ปอด ทำให้ปอดไม่เย็นและแห้งจนเกินไป 

 

5เรื่องไซนัสที่คุณควรรู้_1-5

 

ดังนั้นผู้ที่มีอาการไซนัสอักเสบ หรือเป็นหวัดคัดจมูกจึงไม่ควรอยู่ในที่อากาศเย็น เพราะไซนัสทำงานไม่ปกติ ไม่สามารถปรับอุณหภูมิและความชื้นได้ ความเย็นจึงเข้าสู่ร่างกาย เกิดอาการหนาวสั่น อวัยวะภายในเย็นเกินไป อาจเกิดอาการ Hypothermia หรือการช็อกเพราะอุณหภูมิในร่างกายต่ำเกินไป

 

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 086-955-6366, 091-546-9415


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.เอกพล ศิริพงษ์เวคิน

แพทย์แผนไทยประยุกต์

" ใส่ใจทุกความต้องการ ดูแลเหมือนคนในครอบครัว "

นศ.พท.ป. สุพัชชา พรมน้ำ

แพทย์แผนไทย

" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า