ในช่วงที่ผ่านมานี้ มีคนไข้หลายๆท่านมาสอบถามหมอเกี่ยวกับอาหารแสลงกันค่อนข้างมาก ถือเป็นคำถามที่พบได้บ่อยเลยก็ว่าได้ค่ะ ส่วนใหญ่มักสอบถามเข้ามา ว่าเป็นโรคนั้นโรคนี้ ห้ามทานอะไรหรือเปล่า ต้องควบคุมอาหารแสลงหรือเปล่า อาหารแสลงคืออะไร ทำไมห้ามทาน ถ้าทานจะมีผลอย่างไร? วันนี้หมอจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับอาหารแสลงให้ทุกๆท่านทราบกันนะคะ
อาหารแสลง คือ อาหารที่ควรงดทานในช่วงที่มีอาการเจ็บป่วย เนื่องจากของแสลงนั้นจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับร่างกาย กระตุ้นอาการอักเสบและส่งผลให้อาการป่วยหายช้า จึงทำให้อาหารเหล่านั้นกลายเป็นของแสลงค่ะ
วันนี้หมอได้จัดลำดับอาหารแสลง แบ่งตามความแสลงมาก-น้อย เป็น 3 สี ได้แก่ สีแดง สีส้ม และสีเหลือง ดังนี้นะคะ
อาหารแสลง สีแดง (แสลงมาก)
1.ของหมักดอง เช่น ปลาร้า ปลาเค็ม ผัก-ผลไม้ดอง ปูดอง เป็นต้น
เนื่องจากกระบวนการทำ มาจากการหมักที่ใช้เกลือ มีน้ำตาลปริมาณมาก โดยเฉพาะน้ำตาลสูง จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในร่างกาย หากทานบ่อยก็จะทำให้การอักเสบเรื้อรัง
2.หน่อไม้ (ทั้งดิบและสุก)
เนื่องจากหน่อไม้มีสารพิวรีนสูง เป็นสารต้นแบบในการผลิตกรดยูริก ซึ่งถ้ามีมากไป ก็จะสะสมตามข้อต่างๆ ของร่างกาย ส่งผลให้มีอาการปวด อักเสบได้
3.อาหารรสจัดทุกชนิด เช่น เผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน เป็นต้น
รสเผ็ด : เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคทางกระเพาะอาหาร
รสเปรี้ยว : อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ง่าย ทำให้ระบบน้ำเหลืองมีปัญหาก็มักจะทำให้แผลหายช้า
รสเค็ม : โซเดียมจะไปเพิ่มเซลล์กล้ามเนื้อของหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดความดันโลหิตที่สูงขึ้นและหัวใจทำงานหนักมากขึ้น รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมได้
รสหวาน : ทำให้ระดับของวิตามินบี 1 ในร่างกายลดน้อยลง อาจเกิดอาการภูมิแพ้ ขี้หงุดหงิดหรือซึมเศร้าได้ง่าย นอนไม่หลับ ทำให้เลือดเหนียวข้นขึ้น
4.อาหารทะเล(ยกเว้นปลามีเกล็ด) เช่น กุ้ง หอย หมึก แมงดา ปลาไหล เป็นต้น
เนื่องจากอยู่ในกลุ่มอาหารที่เสี่ยงต่อการแพ้ อาจแพ้แบบไม่แสดงอาการเป็นภูมิแพ้แฝง อีกทั้งมีคอเลสเตอรอลสูง รับประทานแล้วกระตุ้นการอักเสบ บวมแดง
5.เนื้อสัตว์บางชนิด เช่น เนื้อวัว เนื้อเป็ด เนื้อควาย เนื้องู เนื้อกบ เนื้อนก เนื้อจระเข้ เป็นต้น
เนื่องจากเนื้อส่วนใหญ่จะคาว มีกลิ่นเฉพาะ เนื้อหยาบ เมื่อทานเข้าไปทำให้กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ต้องทำงานอย่างหนักในการย่อย เมื่ออวัยวะภายในทำงานหนัก ก็จะส่งผลให้ร่างกายมีความร้อนสูงขึ้น กระตุ้นการอักเสบในร่างกาย
6.แอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์ ไวน์ เป็นต้น
เนื่องจากมีฤทธิ์ร้อน ทำให้ร่างกายมีความร้อนสะสมมากขึ้น จนกระตุ้นการอักเสบต่างๆในร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลงค่ะ
7.ผลไม้ฤทธิ์ร้อน เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย มะปราง เป็นต้น
เนื่องจากผลไม้เหล่านี้ให้พลังงานสูง มีน้ำตาลสูง จึงกระตุ้นความร้อนและการอักเสบในร่างกายได้
อาหารแสลง สีส้ม (แสลงปานกลาง ขึ้นอยู่กับบุคคล)
1.อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แหนม อาหารกระป๋อง เนยเทียม เบค่อน เป็นต้น
เนื่องจากเป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการมาค่อนข้างมาก มีการใช้โซเดี่ยมสูง และ มีสารกันเสีย ซึ่งสามารถกระตุ้นการบวมและอักเสบได้
2.อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น ซาชิมิ ซูชิ ลาบ-ก้อย เป็นต้น
เนื่องจากกระบวนการทำอาจมีการปนเปื้อน ทำให้ท้องเสียได้ และ ทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก พออาหารย่อยยากก็จะดูดซึมไปใช้ได้ไม่ดี อาจทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด
3.ของทอด ของมัน เช่น หมู-ไก่ทอด ปลาทอด แกงกะทิ เป็นต้น
เนื่องจากของทอดหากไม่ได้ทำอาหารเองหรือซื้อมาจากร้านค้าภายนอก โดยส่วนใหญ่จะมีการใช้น้ำมันในการทอดหลายครั้งซ้ำๆกัน ซึ่งน้ำมันไม่ควรใช้ซ้ำเกิน 2 ครั้ง เพราะจะมีสารอนุมูลอิสระและสารก่อมะเร็งออกมา เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้น้อยลง
4.ขนมหวาน ของหวาน เช่น ขนมไทย เบเกอรี่ น้ำหวาน เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
เนื่องจากมีน้ำตาลปริมาณมาก จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในร่างกาย หากทานบ่อยก็จะทำให้การอักเสบเรื้อรัง อาการป่วยจะหายช้า
5.เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ไต หัวใจ เลือด เป็นต้น
เนื่องจากเครื่องในสัตว์ มีคลอเรสเตอรอลสูงไม่ว่าจะมาจากสัตว์ชนิดใดก็ตาม สามารถทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน และโรคหัวใจได้ มีผลทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบเรื้อรังได้เช่นกันค่ะ
อาหารแสลง สีเหลือง (แสลงน้อย ขึ้นอยู่กับบุคคล)
1.ผลิตภัณฑ์จากนมสัตว์ เช่น นมวัว นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เป็นต้น
เนื่องจากในนมมีน้ำตาล แลคโตส แต่ในร่างกายของเราสามารถผลิตเอนไซม์ที่มีชื่อว่า แลคเตส ที่ใช้ย่อยนมวัวเองได้ในปริมาณที่จำกัด หรือ ในบางคนผลิตไม่ได้เลย ส่งผลให้นมไม่สามารถย่อยได้ อาจตกค้างในร่างกายและทำให้ไปขวางการดูดซึมของลำไส้ ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะมีผลก่อการอักเสบที่ลำไส้และทวารได้
2.เครื่องปรุงรสต่างๆ เช่น น้ำปลา ซอสต่างๆ ผงปรุงรส ผงชูรส เป็นต้น
เนื่องจากเครื่องปรุงรส ผงปรุงรสสำเร็จรูปรวมถึงผงชูรส ล้วนมีเกลือและโซเดียมเป็นส่วนผสม ซึ่งอาจมีปริมาณมากกว่าที่ร่างกายต้องการต่อวัน โดยจะมีผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดต่างๆ ก่อการอักเสบ
3.เห็ดทุกชนิด
เนื่องจากเห็ดกระตุ้นระบบน้ำเหลือง ทำให้ระบบน้ำเหบืองทำงานหนัก ผู้ที่มีปัญหาระบบน้ำเหลือง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน ลมพิษ ฝี ควรหลีกเลี่ยงก่อนค่ะ
ในส่วนของอาหารแสลง 3 สี ดังกล่าวนี้ อาจมีเนื้อหาที่ค่อนข้างมากและละเอียด แต่หมออยากสื่อสารให้ทุกๆท่านเข้าใจไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อจะได้นำไปปรับใช้ในชีวิตประจําวันกันนะคะ
ในการรักษาโรคต่างๆให้หายขาด จำเป็นต้องใช้ยา ร่วมกับการปรับพฤติกรรมและการควบคุมอาหารแสลงร่วมด้วย เพราะตัวยาจะช่วยรักษาได้40% ส่วนอีก60% เป็นเรื่องของอาหารและพฤติกรรมค่ะ หากใช้ยาอย่างเดียวจะทำให้อาการดีขึ้น แต่ใช้ระยะเวลานานในการรักษา และมีโอกาสที่โรคจะกำเริบจากอาหารและพฤติกรรมได้ค่ะ
สุดท้ายนี้ หมออยากเป็นกำลังใจให้ทุกๆท่านนะคะ เพราะการดูแลรักษาสุขภาพต้องเข้าใจร่างกายควบคู่กับต้องตั้งใจทำ ตั้งใจปรับเปลี่ยนถึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน การดูแลสุขภาพมีรายละเอียดค่อนข้างมาก หมอแนะนำให้ค่อยๆปรับ ค่อยๆลด หากจำเป็นต้องทาน ให้เลือกทานของที่แสลงน้อยไปมาก หรือ หากทานของที่แสลงมาก ก็ให้ทานในปริมาณที่น้อยๆ นานๆครั้ง และหมั่นสังเกตอาหารที่ทาน ว่าทานแล้วมีอาการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะอาหารบางอย่าง ไม่ได้แสลงกับทุกคนเสมอไปค่ะ
ขอให้ทุกๆท่าน รักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ หากมีข้อสงสัย หรือ ต้องการปรึกษาเพิ่มเติม สามารถแจ้งได้เลยนะคะ ปุณรดายาไทยยินดีให้คำปรึกษาค่ะ
อย่าลืมนะคะ สมุนไพรเป็นยาที่มีประโยชน์มากค่ะหากใช้ให้ถูกวิธี ปุณรดายาไทยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "