โรคเบาหวาน เช็คให้ดีก่อนมีภาวะแทรกซ้อน!

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

โรคเบาหวาน เช็คให้ดีก่อนมีภาวะแทรกซ้อน!

รู้หรือไม่? จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 2 ใน 3 คน จะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานทั้งสิ้น

 

อ่านแล้วตกใจกันไหมคะ โรคเบาหวานไม่ใช่ผู้ร้ายแค่คนเดียว แต่ยังมีโรคจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่พร้อมจะเล่นงานเราอีกด้วย แล้วจะสังเกตตัวเอง และดูแลตัวเองยังไง ไม่ให้เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน วันนี้ปุณรดายาไทยมีคำตอบมาให้ค่ะ

 

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับการรักษาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ผู้ป่วยบางท่านรักษาโดยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายเท่านั้น ไม่ต้องอาศัยการรับประทานยา บางท่านก็อาศัยยาในปริมาณที่มาก จึงจะสามารถควบคุมได้ ผู้ที่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีสม่ำเสมอ จะมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนได้น้อยกว่าผู้ที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ค่อยดี ภาวะโรคแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน มักเกิดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานานอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด 

 

ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

1. ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก

2. ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดใหญ่

 

โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานทั้ง 2 ประเภทยังสามารถแบ่งออกเป็นโรคต่างๆได้อีก ดังนี้

 

ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก


1. เบาหวานขึ้นตา หรือภาวะแทรกซ้อนที่จอประสาทตา (Diabetic Retinopathy)

ผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่จอประสาทตา มีโอกาสตาบอดสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานเกือบ 30 เท่า โดยอาการมักเริ่มต้นจากสายตามัวลง ซึ่งเกิดจากการหักเหแสงของเลนส์ผิดปกติในขณะที่น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตาที่เรียกว่า “เบาหวานขึ้นตา” ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และเหมาะสม จะทำให้ผู้ป่วยตาบอดได้ นอกจากนี้ยังสามารถเห็นเงาดำเวลามองภาพ ซึ่งเกิดจากมีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา หรือมองเห็นภาพซ้อน ที่เกิดจากกล้ามเนื้อตาที่ควบคุมโดยเส้นประสาทสมองทำงานผิดปกติ

 

ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานควรได้รับการตรวจตา และขยายม่านตาตรวจจอประสาทตา อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ไม่ควรรอจนมีอาการตามัว เนื่องจากหากตรวจพบเบาหวานขึ้นจอตา จักษุแพทย์สามารถแนะนำการปฏิบัติตัว วิธีป้องกัน และการรักษาที่ถูกต้องได้

 

2. ไตวาย หรือภาวะแทรกซ้อนที่ไต (Diabetic Nephropathy)

เป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วย และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการ แต่จะตรวจพบโปรตีนอัลบูมิน หรือไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะปริมาณเล็กน้อย ระยะต่อมาเมื่อมีปริมาณโปรตีนรั่วออกมามากขึ้น อาจสังเกตพบว่าปัสสาวะเป็นฟอง และมีอาการบวมตามร่างกายได้ ซึ่งในระยะนี้จะพบว่าความดันโลหิตมีค่าสูงมากขึ้นด้วย หลังจากนั้นหากยังไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะส่งผลให้การทำงานของไตลดลง และเกิดภาวะไตวายเรื้อรังในที่สุด

 

3. ภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท (Diabetic Neuropathy)

โรคเบาหวานจะทำให้หลอดเลือดเล็ก ๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดผิดปกติ ทำให้เส้นประสาทไม่สามารถรับความรู้สึกได้ อาจเริ่มจากชาตามปลายนิ้วมือนิ้วเท้า และลุกลามต่อไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ไม่ว่าร่างกายส่วนที่สูญเสียการรับความรู้สึกไปสัมผัสกับสิ่งที่ร้อน เย็น หรือแม้แต่ได้รับบาดแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้สึกเลย ในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปวดแสบร้อน หรือปวดเหมือนถูกแทง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีอาการในตอนกลางคืน ในระยะต่อมาอาการปวดจะลดลง แต่จะรู้สึกชา และการรับสัมผัสลดลง นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้อขนาดเล็กของแขน และขาอ่อนแรงได้ด้วย

 

ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดใหญ่


1. โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary heart disease)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มากกว่าในคนปกติถึง 2 เท่า ซึ่งเกิดจากการเกาะของคราบไขมัน ภายในผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดการตีบ และอุดตันของหลอดเลือด จนปิดกั้นการไหลเวียนของกระแสเลือด ผู้ป่วยจึงมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจติดขัด หรือรุนแรงถึงขั้นหัวใจวาย หากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเลือดได้

 

2. โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease / Stroke)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการเกิดอัมพาตจากหลอดเลือดสมองตีบสูง เพราะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาก หนึ่งในปัจจัยที่พบบ่อย คือ โรคเบาหวานทำให้เกิดภาวะเลือดแข็งตัวได้ง่าย เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดสมอง และเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตขึ้นได้ 

 

อาการเบื้องต้นที่สังเกตได้ คือ กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกแบบฉับพลัน ใบหน้าชาครึ่งซีก พูดกระตุกกระตัก สับสน หรือพูดไม่ได้ ตาพร่า หรือมืดมองไม่เห็นไปชั่วครู่ เห็นแสงผิดปกติ วิงเวียน หรือเดินเซ ไม่สามารถทรงตัวได้

 

3. โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)

ปัญหาเรื่องหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันโดยเฉพาะที่ขา เป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องถูกตัดแผลเบาหวานที่เท้า (Diabetic foot ulcer)

 

การเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นผลมาจากปัจจัยร่วมกัน คือ ความผิดปกติของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยเสียการรับรู้ความรู้สึกที่ป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บต่อเท้า และการทำงานของกล้ามเนื้อลดลง ยังทำให้เกิดการรับน้ำหนักที่ไม่สมดุล และเกิดการผิดรูปของเท้า จึงทำให้เกิดแผลบริเวณที่มีการกดทับจากน้ำหนักตัวได้ง่าย นอกจากนี้การทำงานของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดเชื้อโรคจะลดลง ทำให้เกิดการติดเชื้อ และลุกลามได้เร็ว หากดูแลรักษาไม่ดี สุดท้ายแล้วก็อาจจบด้วยการตัดแผล หรืออวัยวะส่วนนั้นทิ้ง ผู้ป่วยก็จะต้องอยู่ในภาวะทุพพลภาพ หรือพิการ ซึ่งส่งกระทบถึงด้านจิตใจอีกด้วย

 

จะเห็นได้ว่าภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวานก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ส่งผลต่อการทำงานและการทำกิจวัตรประจำวัน และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจถึงแก่ชีวิตได้อีกด้วย แต่ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ก็สามารถป้องกัน และชะลอได้ โดยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติ และควบคุมโรคร่วมที่สำคัญ เช่น โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น 

 

นอกจากนี้ปุณรดายาไทยมีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมาฝากกันด้วยค่ะ

 

การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน


1.ดื่มน้ำสะอาด แบบไม่แช่เย็น ในแต่ละวันให้ได้ปริมาณ 5% ของน้ำหนักตัว

2.ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย

3.รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ครบทั้ง 3 มื้อ ถึงแม้จะไม่หิวก็ตาม ลด หรือเลี่ยงการรับประทานของว่างที่ไม่จำเป็น

4.รับประทานข้าว/แป้ง ไม่ขัดสีในปริมาณที่เหมาะสม คือ 1-3 ทัพพีต่อมื้อ

5.รับประทานผลไม้สดเป็นประจำ 2-3 มื้อต่อวัน ปริมาณ 6-8 ชิ้นคำต่อมื้อ หากเป็นผลไม้ที่มีขนาดกลาง หรือค่อนข้างเล็ก ให้รับประทาน 1-2 ผลต่อมื้อ

6.รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดหนัง และไม่ติดมัน ในปริมาณที่เหมาะสม

7.เน้นรับประทานผักใบเขียวให้มาก

8.เลือกน้ำมันให้เหมาะกับการประกอบอาหาร เพื่อลดไขมันและพลังงานส่วนเกิน ที่จะกระตุ้นอาการเบาหวาน

• อาหารอุณหภูมิต่ำใช้ น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง

• อาหารอุณหภูมิสูงใช้ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันหมู

9.ออกกำลังกายวันละ 30 นาที หรืออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์

10.สำรวจเท้า และทาโลชั่นทุกวันหลังจากทำความสะอาด หากพบความผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

11.ตรวจตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และตรวจหาปริมาณโปรตีนในปัสสาวะทุกปี แม้ยังไม่มีอาการ

12.ควรตรวจฟัน และช่องปากทุก 6 เดือน

13.งดสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

หลังจากที่ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานกันแล้ว อย่าลืมสังเกตตัวเองเป็นประจำ และดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานกันนะคะ

 

ทางการแพทย์แผนไทยโรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากการเสียสมดุลของธาตุน้ำ จึงทำให้ไปกระทบต่อธาตุธาตุดินให้เสียสมดุลด้วย ทำให้ธาตุดินทำงานได้ไม่ดี ดังนั้นแพทย์แผนไทยจึงใช้สมุนไพรเพื่อปรับธาตุน้ำให้สมดุล และสมบูรณ์ ธาตุดินที่เสียหายก็จะกลับมาสมดุลเช่นกัน ผู้ป่วยโรคเบาหวานเองก็ควรที่จะควบคุมการรับประทานอาหาร และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันร่วมด้วยนะคะ 

 

ตำรับยาสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานของปุณรดายาไทย เป็นตำรับยาที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ถูกคิดค้น และพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในตำรับยาที่ช่วยรักษาโรคเบาหวานของเรามีทั้งตำรับยาที่ช่วยป้องกันโรคเบาหวานอย่าง ตำรับยา B-CARE  ที่มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งยังสามารถขับของเสียในระบบไหลเวียนเลือด ช่วยแก้ปัญหาเลือดข้น เลือดหนืด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ทั่วร่างกาย เรายังมีตำรับยา B-SKIN 2 ที่มีสรรพคุณรักษาแผลจากโรคเบาหวาน ช่วยสมานแผลที่เปื่อยเน่าให้กลับคืนสู่สภาพผิวปกติ ลดโอกาสที่จะต้องตัดอวัยวะทิ้งอีกด้วยค่ะ

 

ปุณรดายาไทยเราดูแล และให้คำปรึกษาอย่างรอบด้านด้วยความใส่ใจ วิเคราะห์อาการเฉพาะบุคคล เพื่อตอบสนองต่ออาการที่เป็น สำหรับเบาหวานระยะเริ่มต้น หากรีบดูแลและปรับการดูแลสุขภาพให้ถูกต้องก็สามารถรักษาให้หายสนิทได้ค่ะ

 

อย่าลืมนะคะ สมุนไพรเป็นยาที่มีประโยชน์มากค่ะหากใช้ให้ถูกวิธี หากใช้แบบขาดความรู้ความเข้าใจอาจทำให้เกิดโทษ นำพาความเจ็บป่วยมาให้เราได้นะคะ ปุณรดายาไทยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลรับที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 086-955-6366, 091-546-9415

 

อ้างอิง

 เบาหวาน รู้ทัน ป้องกันได้[อินเตอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/diabetes-2


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.เอกพล ศิริพงษ์เวคิน

แพทย์แผนไทยประยุกต์

" ใส่ใจทุกความต้องการ ดูแลเหมือนคนในครอบครัว "

นศ.พท.ป. สุพัชชา พรมน้ำ

แพทย์แผนไทย

" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า