เมื่อเป็น โรคกรดไหลย้อน เราจะรู้สึกแสบร้อนบริเวณกลางหน้าอก และลิ้นปี่ บางครั้งอาจร้าวไปจนถึงบริเวณลำคอได้ หากปล่อยให้มีอาการกรดไหลย้อนบ่อยๆ ครั้ง จะเกิดภาวะที่เรียกว่า "กรดไหลย้อนขึ้นคอ"
1. รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ หรือแน่นคอ
2. กลืนลำบาก กลืนเจ็บ หรือกลืนติดขัด คล้ายสะดุดสิ่งแปลกปลอมในคอ
3. เจ็บคอ แสบช่องคอ หรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
4. รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก
5. มีเสมหะในลำคอ ระคายคอตลอดเวลา และเสียงแหบ
6. รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
7. มีน้ำลายมากผิดปกติ มีกลิ่นปาก เสียวฟัน หรือมีฟันผุได้
8. เรอบ่อย คลื่นไส้ คล้ายมีอาหาร หรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในอก หรือลำคอ
การใช้สมุนไพรรักษาโรคกรดไหลย้อน และอาการข้างเคียงให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องใช้เป็นตำรับหรือชุดสมุนไพร และฤทธิ์ยาสมุนไพรในตำรับจะต้องไม่ขัดกัน ต้องเสริมฤทธิ์กัน และต้องมุ่งรักษาที่ต้นเหตุของโรคเหมือนกันจึงจะเป็นตำรับยาที่มีประสิทธิภาพดี
กานพลู, โกฐทั้งห้า, ตรีกฏก, ดอกจันทน์, เจตมูลเพลิง, จันทน์แดง, เนื้อไม้, เปราะหอม, แฝกหอม, ลูกมะขามป้อม, รากขัดมอน, สมุลแว้ง, ลูกจันทน์, ลูกมะตูมอ่อน, เถาสะค้าน, สมอพิเภก, สมอไทย, เทียนดำ, เทียนขาว, เทียนตาตั๊กแตน, หัวแห้วหมู, อบเชยเทศ, พริกไทย,แห้วหมู,บอระเพ็ด,เหงือกปลาหมอ,มะตูมอ่อน,ดอกคำฝอย,หัวกระชาย, เนื้อลูกสมอไทย,เนื้อลูกสมอพิเภก,เนื้อลูกมะขามป้อม,รากชะเอมเทศ,เนื้อบ๊วย,ผลมะแว้งเครือ,เหง้าว่านน้ำ,มะนาวดองแห้ง,ดอกกานพลู,เปลือกอบเชย,ดอกเก๊กฮวย,ผิวส้มจีน,ใบเสนียด,และตัวยาสำคัญอื่นๆ
1. รักษาอาการแสบร้อนกลางอก จุกแน่นในลำคอ
2. ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องบวม
3. ฟื้นฟูหูรูดหลอดอาหารที่เสื่อมให้กลับมาแข็งแรง ทำงานเต็มประสิทธิภาพ
4. สมานแผลในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้
5. ช่วยกระจายลมในร่างกาย ทำให้ลมไหลเวียนดี
6. แก้อาการหน้ามืด ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน
7. แก้อาการแสบคอ ไอแห้ง เนื่องจากกรดไหลย้อนขึ้นมา
8. บำรุงร่างกาย บำรุงระบบไหลเวียนเลือด
9. ทำให้ทานอาหารได้มากขึ้น สำหรับรายที่มีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากทานอาหารได้น้อย
เนื้อลูกสมอไทย,เนื้อลูกสมอพิเภก,เนื้อลูกมะขามป้อม,รากชะเอมเทศ,เนื้อบ๊วย,ผลมะแว้งเครือ,เหง้าว่านน้ำ,มะนาวดองแห้ง,ดอกกานพลู,เปลือกอบเชย,ดอกเก๊กฮวย,ผิวส้มจีน,ใบเสนียด,และตัวยาสำคัญอื่นๆ
1. ลดอาการระคายเคืองและ ลดอาการอักเสบซึ่งเกิดจากแผลในช่องปากและลำคอ
2. แก้ไอแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง กัดเสมหะที่ข้นเหนียว ทำให้เสมหะขับออกได้ง่าย ทำให้สบายคอ
3. รักษาอาการต่อมทอนซิลอักเสบ
4. แก้อาการคอแห้ง จุกแน่น แสบร้อนในลำคอ เนื่องจากกรดไหลย้อน
5. แก้อาการหลอดลมและหลอดอาหารอักเสบ
6. สมานแผลในลำคอและหลอดอาหาร
7. ทำให้ชุ่มคอ แก้อาการอ่อนเพลีย ทำให้ทานอาหารได้ดีมากขึ้น
อันดับแรกสมุนไพรจะ "เข้าไปรักษา" ลดอาการอักเสบ แสบร้อนกลางอก ปวด แสบ จุก แน่นท้องหายไป
ต่อมาคือขั้นตอนของ "การฟื้นฟู" สมุนไพรจะช่วยให้อวัยวะที่เสื่อมสภาพ กลับมาทำงานได้เป็นปกติ เมื่อภายในทำงานดี ร่างกาย และจิตใจก็จะดีตามไปด้วย
สุดท้ายคือ "การบำรุง" ธาตุในร่างกายให้เกิดความสมดุล อาการกรดไหลย้อนก็จะหายไปในที่สุด
หากมีอาการระคายคอมากผิดปกติ แนะนำให้อม ยาอมสมุนไพร เป็นประจำทุกวัน จนกว่าอาการระคายคอเนื่องจากกรดไหลย้อน จะทุเลาลง ควบคู่กับการทานยาสมุนไพรให้ครบชุด เพื่อให้ตำรับยาร่วมกันรักษาจนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ เมื่อหายแล้ว ให้ดูแลสุขภาพ ตามที่แนะนำไว้ด้านล่างนะคะ
1. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทําให้กลามเนื้อหูรูดผ่อนคลายไม่กระชับ และเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร เช่น แอลกอฮอล์ ช็อคโกแลต เปปเปอร์มิ้นท์ เครื่องดื่มคาเฟอีน อาหารไขมันสูง อาหารผสมครีม ผลิตภัณฑ์นมเต็มมันเนย อาหารขยะ รับประทานอาหารเสริมควบคุมน้ําหนัก กระเทียม หัวหอม พริก อาหารเผ็ดร้อน รสเปรี้ยว หน่อไม้ฝรั่ง ส้ม น้ํามะเขือเทศ น้ําอัดลม น้ําตาล
2. ไม่ควรทานอาหารมากเกินไป จนอิ่มหรือจุกแน่น ควรกินเป็นมื้อเล็กๆ จะช่วยเรื่องอาการแสบร้อนยอดอกได้ อาหารมื้อใหญ่จะทำให้กระเพาะขยาย และเพิ่มแรงดันที่กระทำต่อหูรูดหลอดอาหาร
3. ไม่ควรทานอาหารเร็วเกินไป เมื่อเรากินเร็วเกินไป เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ระบบทางเดินอาหารของเราจะทำงานได้ไม่ดี ทำให้อาหารไม่ย่อย ซึ่งเพิ่มโอกาสเกิดอาการกรดไหลย้อนได้
4. หลีกเลี่ยงการทานอาหารก่อนนอนน้อยกว่า 3 ชั่วโมง และไม่ควรนอนหรืออาบน้ำทันทีหลังการทานอาหาร การล้มตัวลงนอนในขณะที่กระเพาะอาหารยังเต็มแน่นจะทำให้อาหารในกระเพาะกดหูรูดหลอดอาหาร เพิ่มโอกาสที่อาหารจะไหลย้อนขึ้นไปได้
5. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ สารนิโคตินสามารถทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเปิดปิดระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร และป้องกันอาหารที่มีสภาพเป็นกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหาร อ่อนแอลงและการดื่มแอลกอฮอล์จะเป็นการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะได้มากขึ้น
6. ไม่สวมเสื้อผ้าที่คับแน่นมากเกินไป เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่รัดแน่นแถวท้อง เช่นเข็มขัดแน่นๆ หรือสายรัดเอวอาจบีบกระเพาะ และบีบให้อาหารผ่านหูรูดอาหารส่วนล่างขึ้นมาได้ ทำให้อาหารในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารได้
7. หลีกเลี่ยงความเครียด เนื่องจากความเครียดจะเป็นตัวกระตุ้นให้กรดในกระเพาะผลิตออกมาเพิ่มขึ้น
8. ขณะที่ท้องว่างไม่ควรดื่มนมทุกชนิด เนื่องจากนมจะไปเคลือบผนังกระเพาะอาหารทำให้กรดทำงานได้ลดลง เป็นผลให้มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ง่ายขึ้น
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 086-955-6366, 091-546-9415
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "