อาหารที่คนเป็นโรคเริม ควรงด! หรือลดปริมาณการทานให้น้อยลง เพราะมีผลไปกระตุ้นให้อาการเริมกำเริบได้ มีดังต่อไปนี้
ของหมัก ของดอง แหนม ปลาเค็ม ปลาร้า กะปิ ปลากระป๋อง อาหารกระป๋อง อาหารสุกแช่แข็ง เบคอน เนยเทีย ชีส
ชา กาแฟ นมจากสัตว์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม น้ำหวาน
หน่อไม้ กุยฉ่าย สะตอ กระถิน กระเฉด ชะอม มะระ(ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย) กะหล่ำปลีดิบแครอทดิบ บีทรูท
ทุเรียน เงาะ มะม่วงสุก ลำไย ลิ้นจี่ สับปะรด ลองกอง มะไฟ มะปราง มะยม สละ ขนุน ละมุด ตะลิงปลิง มะดัน น้อยหน่า อ้อย จาวตาล เนื้อมะพร้าว เสาวรส
เค็มจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หวานจัด
หอยและหมึกทุกชนิด กุ้ง กั้ง แมงดา แมงกะพรุน ไข่หอยเม่น ปลาสำลี ปลาทู ปลาซาบะ ปลาโอ ปลาอินทรีย์เค็ม ปูดองทุกชนิด
วัว ควาย นกทุกชนิด ไก่* เป็ด ห่าน ปลาดิบทุกชนิด ปลาไหล ปลาดุก ปลานิล ปลาดอลลี่ ปลาคัง ปลาชะโด ปลาบึก ปลาหมอ ปลาแดงน้ำจืด เนื้อจระเข้ เนื้อแพะ เนื้อแกะ ไข่เป็ด ไข่ข้าว ไข่นกกระทา ไข่นกกระจอกเทศ เนื้องูทุกชนิด เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
อาหารกึ่งสุก-ดิบ ลาบ ลู่ ก้อย ข้าวเหนียว น้ำจิ้มทุกชนิด กะทิ เต้าเจี้ยว น้ำส้มสายชู กุ้งแห้ง ขนมจีนเส้นหมัก อาหารปิ้ง-ย่าง อาหารใช้น้ำมันทอดซ้ำ ข้าวปั้น ซูชิ มายองเนส น้ำสลัดทุกชนิด น้ำผึ้ง(ไม่เหมาะกับผู้มีแผล มีหนอง)
ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมนิล ข้าวกล้องงอก ข้าวแดง ลูกเดือย ถั่ว5สี ถั่วลันเตา กราโนล่า ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด งา รำข้าวสาลี ควินัว เมล็ดแฟลกซ์บด ผงคาเคา เก๋ากี้ เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน เม็ดบัว อัลมอนด์* วอลนัท* เม็ดมะม่วงหิมพาน*(ควรคุมปริมาณการทาน)
เนื้อหมูไม่ติดมัน อกไก่ สันในไก่ ไข่ไก่ ปลาทับทิม ปลากระพง ปลาเก๋า ปลาอินทรีย์ ปลาจาระเม็ด ปลาตะเพียน ปลายี่สก ปลากระบอก ปลาม้า ปลากุเลา ปลาเห็ดโคน(ปลาทราย) ปลาแดงทะเล ปลาลิ้นหมา ปลาช่อน ปลาหางเหลือง ปลาข้างเหลือง ปลาจวด ปลาเนื้ออ่อน ปูทะเล ปูม้า ปูนิ่ม
เห็ดหอม เห็ดเข็มทอง เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดโคน เห็ดกระดุม เห็ดเผาะ เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ
กะหล่ำดอก กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ผักกาดแก้ว หัวปลี หัวไชเท้า ดอกขจร ดอกแค ตั้งโอ๋ ใบบัวบก ตำลึง ถั่วงอก สายบัว บวบ ปวยเล้ง บล็อคเคอรี่ ผักบุ้ง ผักปลัง ฟัก ฟักทอง ยอดมะระ ย่านาง อ่อมแซบ ผักหวาน รากบัว กะเพรา โหระพา ใบแมงลัก ถั่วพู ใบชะพลู ดอกดีปลี กระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบเขียว พริกไท พริกหวาน พริกหยวก กระชาย ขิง ข่า ขมิ้น กระเทียม หอม คะน้า แขนง ตะไคร้ ใบมะกรูด สะระแหน่ ขนุนดิบ มะรุม มะเขือ น้ำเต้า แฟง ใบยอ หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม แตงกวา
กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก แก้วมังกร แตงโม ทับทิม แคนตาลูป แตงไท ชมพู่ เชอร์รี่ กระท้อน มังคุด แอปเปิ้ล สตอเบอร์รี่ มะละกอ ส้มโอ ส้ม องุ่น มะม่วงมัน มันแกว แห้ว มันเทศ มันต่อเผือก มันม่วง เผือก อะโวคาโด
เครื่องดื่มปราศจากน้ำตาล นมถั่วเหลือง นมจากธัญพืช น้ำกระเจี๊ยบ น้ำอัญชัน น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว น้ำใบบัวบก น้ำย่านางคั้น น้ำเก็กฮวย น้ำจับเลี้ยง น้ำถั่ว5สี เฉาก๊วย น้ำรากบัว น้ำใบเตย น้ำผลไม้สด น้ำแร่ น้ำสะอาด
วุ้นเส้น เส้นแก้ว บุก หมี่ข้าวกล้อง เต้าหู้ ลูกชิ้นปลา น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก
1. รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อป้องกันการติดเชื้อในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่น ๆ และป้องกันการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น เช่น การรักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศในระหว่างที่มีผื่นตุ่ม, การล้างมือให้สะอาดทันทีหลังจับต้องแผล, ทำความสะอาดของใช้ที่ต้องใช้ร่วมกัน เป็นต้น
2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น เช่น การจูบ การใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน โดยเฉพาะกับเด็กเล็กหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
3. ตัดเล็บให้สั้น ไม่แกะเกา และอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด เพื่อป้องกันมิให้ตุ่มน้ำติดเชื้อจากการเกา ตุ่มกลายเป็นหนอง และแผลเป็น
4. ผู้เป็นเริมที่อวัยวะเพศ ควรสวมใส่เสื้อผ้า กางเกงชั้นใน ที่หลวมสบาย หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลเริมจะหายสนิท และควรป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปสู่ผู้อื่นด้วยการใส่ถุงยางอนามัย
5. หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อเริมครั้งแรกที่ช่องคลอดหรือปากมดลูกในระยะใกล้คลอด แพทย์จะแนะนำให้ผ่าคลอดทางหน้าท้อง เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกเกิดการติดเชื้อในขณะคลอดผ่านทางช่องคลอด
6. พักผ่อนให้เพียงพอ
7. ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ
8. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เริมเกิดเป็นซ้ำ เช่น อารมณ์เครียดหรือความวิตกกังวล, ถูกแดดจัด, ร่างกายอิดโรยหรือทรุดโทรม, ภูมิคุ้มกันต่ำ, การเจ็บป่วยจากโรคอื่น, การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น สเตียรอยด์), การได้รับบาดเจ็บหรือได้รับการกระทบกระเทือนเฉพาะที่ (เช่น การถูไถ เกิดรอยถลอกขีดข่วน การเสียดสีของผิวกับเสื้อผ้า การทำฟัน ถอนฟัน การผ่าตัดที่กระทบกระเทือนต่อเส้นประสาท) เป็นต้น
9. ทำความสะอาดผื่นด้วยสบู่ฆ่าเชื้อ ใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือหรือน้ำต้มสุกประคบทำความสะอาดแผล
10. ใช้น้ำเกลือกลั้วปากถ้ามีแผลในปาก
11. Wet dressing ทําการประคบเย็นที่แผลด้วยน้ําเกลือ โดยใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าขนหนูชุบน้ําเกลือแล้ว ประคบที่แผล 5-10 นาทีจะช่วยลดอาการระคายเคืองและผื่นแดงให้น้อยลง
12. ผู้ป่วยที่เป็นโรคเริมกำเริบถี่มาก หรือเป็นรุนแรง หรือเป็นแผลเริมเรื้อรังเกิน 1 เดือน ควรตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี (HIV) ด้วย เพราะอาจพบว่าเป็นเอดส์ก็ได้
13. ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้มากเพียงพอตามน้ำหนักตัว
14. ถ้ามีไข้สูงควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ และรับประทานยาลดไข้
ในชุดจะประกอบด้วยยา 3 ตำรับคือ
1. ยาแก้น้ำเหลืองเสีย สรรพคุณ ฟื้นฟูและขับน้ำเหลืองเสีย บำรุงระบบน้ำเหลือง ช่วยรักษาแผลเริมให้หายเร็วมากขึ้นจากภายใน เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น ช่วยลด และยืดระยะเวลาในการเกิดเริมใหม่ให้ห่างออกไป จนหายสนิท
2. ยาลดความร้อนในร่างกาย ลดอาการอักเสบ สรรพคุณ ลดไข้ ลดความร้อนบริเวณผิวหนังและในร่างกาย แก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว บำรุงระบบเลือดในร่างกาย
3. ยาทาแผลเริม B-Liz2 oil สรรพคุณ ช่วยให้แผลแห้ง สมานแผล ลดอาการแสบร้อนที่ผิวหนัง ป้องกันสิ่งสกปรก ไม่ให้เข้าสู่แผลเริม
เพราะในการรักษาอาการเริมกับปุณรดายาไทย จะไม่ได้เพียงจ่ายยา แต่เรายังมี การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งเรื่องของวิธีการดูแลสุขภาพที่ออกแบบเฉพาะบุคคลสำหรับผู้ที่มีภาวะ/อาการเริม อาหารที่ควรทาน และ ควรงด อาหารแสลง อาหารที่ส่งผลโดยตรงต่ออาการเริม แนะนำให้แบบรายบุคคล.
พร้อมทีมแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่ได้รับใบประกอบโรคศิลปะจากสภาการแพทย์แผนไทยคอยดูแล ตอบคำถามทุกเคสโดยคุณหมอ ตั้งแต่ 09.00-21.00 น. ทุกวันไม่มีวันหยุด เพราะ ความเจ็บป่วย รอไม่ได้
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "