อาการปวดเก๊าท์เป็นปัญหาหลักของผู้ป่วยโรคเก๊าท์หลาย ๆ คน ทั้งคนที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน รวมทั้งคนที่กลับมามีอาการปวดเก๊าท์อีกครั้ง หากเกิดอาการปวดเก๊าท์เฉียบพลันขึ้นมาแบบนี้ เราต้องทนปวดเก๊ากี่วัน? เราจะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง?
เพื่อลดอาการปวดเก๊าท์ หมอได้รวบรวมวิธีลดอาการปวดเก๊าท์เฉียบพลัน วิธีลดอาการปวดเก๊าท์ระยะยาวมาฝากท่านผู้อ่าน พร้อมคำตอบของคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัย หมอมีคำตอบมาให้ในบทความนี้ค่ะ
เก๊าท์ หรือโรคเก๊าท์ (GOUT) หมายถึง โรคข้ออักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากการมีภาวะกรดยูริกสะสมในเลือดสูง (Hyperuricemia) มีผลึกยูเรตไปสะสมในข้อตามร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณข้อต่อ ตามนิยามของการอักเสบ และในผู้ป่วยบางรายมีอาการเคลื่อนไหวข้อไม่สะดวกร่วมด้วย โดยในระยะเก๊าท์เฉียบพลันมักเริ่มเกิดขึ้นบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า แต่สามารถเกิดได้บริเวณข้ออื่น ๆ เช่นกัน อาทิ ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอก และข้อเข่า เป็นต้น
อาการปวดเก๊าท์ ปวดนานไหม? ปวดเก๊าท์กี่วันหาย? อาการปวดเก๊าท์เฉียบพลันจะมีอาการปวดมากใน 24 ชั่วโมงแรก จากนั้นอาการปวดเก๊าท์จะค่อย ๆ ดีขึ้น อาการปวดเก๊าท์จะหายเป็นปกติภายใน 4-6 วัน หากไม่ได้รับการรักษา แต่ในกรณีหลังจากเกิดอาการปวดเก๊าท์แล้วได้รับการรักษาทันที อาการปวดเก๊าท์จะหายเป็นปกติภายใน 1-3 วัน
อาการปวดเก๊าท์เฉียบพลันจะมีอาการปวดมากใน 24 ชั่วโมงแรก เป็นระยะเวลาที่นานมากใช่ไหมคะ? วันนี้หมอมี 3 วิธีที่ช่วยลดอาการปวดเก๊าท์เฉียบพลัน ไม่ต้องอดทนกับอาการปวดเก๊าท์ไปตลอดทั้งวันมาช่วยแก้ปัญหาให้ท่านผู้อ่านค่ะ
1. พักการใช้ข้อที่มีอาการปวด เพื่อลดปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดเก๊าท์ หรือในกรณีที่ปวดเก๊าท์บริเวณข้อนิ้วเท้า ข้อเท้า ให้ยกขาสูงกว่าระดับหัวใจเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยลดอาการบวมของข้อ
2. แช่น้ำอุ่น 15 นาที วันละ 2 ครั้ง สามารถช่วยลดอาการบวมและอาการปวดเก๊าท์ได้
3. ดื่มน้ำให้มากขึ้น อย่างน้อยวันละ 3 ลิตร เนื่องจากการดื่มน้ำจะช่วยขับของเสียหรือกรดยูริกออกมาทางปัสสาวะ ช่วยลดอาการปวดเก๊าท์ได้
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม แล้วคนเป็นเก๊าท์ห้ามกินอะไรบ้าง? รายการอาหารที่คนเป็นเก๊าท์ห้ามกิน มีดังนี้ค่ะ
• อาหารที่มีสารพิวรีน (Purine) สูง ได้แก่ เนื้อแดง (เนื้อหมู เนื้อวัว) เนื้อสัตว์ปีก (เป็ด นก) เครื่องในสัตว์ (ตับ ไต หัวใจ ไส้ กระเพาะ) อาหารทะเล (ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน ปลาทู หอยเชลล์ หอยแมลงภู่) ยอดผัก (หน่อไม้, ผักโขม, ดอกกะหล่ำ, ชะอม) และยีสต์ เป็นต้น
• ผลไม้รสหวาน และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตส ได้แก่ องุ่น แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี่ ลิ้นจี่ กล้วยน้ำว้า น้ำผึ้ง และเครื่องดื่มน้ำอัดลมทุกชนิด
• อาหารไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทอดเนื่องจากไขมันจะทำให้ร่างกายขับกรดยูริกออกมาได้น้อยลง
• เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยเฉพาะเบียร์และไวน์แดง
คนเป็นโรคเก๊าท์ห้ามกินอาหารเหล่านี้ เพราะเป็นอาหารที่แสลงต่อโรคเก๊าท์ ส่งผลให้ระดับ
กรดยูริกในเลือดมีค่าสูงขึ้น และสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดเก๊าท์ได้ค่ะ
1. การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรคเก๊าท์
• ในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลดน้ำหนักที่ไปกดทับบริเวณข้อต่อ
• หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก หรือการออกกำลังที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อต่อ
2. การรักษาโรคประจำตัวร่วม อาทิ โรคเบาหวาน โรคไขมันมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือมีประวัติการเป็นนิ่วทางเดินปัสสาวะ แพทย์มีความจำเป็นที่ต้องประเมินความเสี่ยงและผลข้างเคียงของโรคประจำตัวร่วมด้วย เพื่อความปลอดภัยในการรักษา
3. พบแพทย์เพื่อติดตามอาการและรับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนอาการปวดเก๊าท์หายสนิท
ปุณรดายาไทย เรามียาสมุนไพรรักษาอาการปวดเก๊าท์ ด้วยยาสมุนไพร B-Comfort ยารับประทานชนิดแคปซูล ตำรับยาสมุนไพรไทยที่มีส่วนประกอบของเถาวัลย์เปรียง เถาเอ็นอ่อน เถาโคคลาน กำลังวัวเถลิง กำลังเสือโคร่ง และอื่น ๆ มีสรรพคุณลดอาการข้ออักเสบ ลดอาการปวดข้อ ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อ บำรุงเส้นเอ็น กระจายเลือดลมให้สามารถทำงานได้อย่างปกติ และช่วยให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น
อาการปวดเก๊าท์เฉัยบพลันสามารถลดอาการปวดได้ด้วย 3 วิธีสำคัญ โดยพักการใช้ข้อต่อ การแช่น้ำอุ่น และการดื่มน้ำ สำหรับผู้ที่มีอาการปวดบวมบริเวณข้อมาก ๆ การดื่มน้ำผสมน้ำย่านาง Balance Gold จะช่วยลดความร้อน ลดอาการอักเสบทั้งภายในและภายนอก ทำให้อาการปวดบวมบริเวณข้อลดลงและเห็นผลเร็วขึ้น เนื่องจากน้ำย่านาง Balance Gold มีส่วนประกอบของสมุนไพรฤทธิ์เย็นถึง 7 ชนิด ได้แก่ ใบย่านาง ใบเตย ใบบัวบก สมอไทย เชียงดา ดอกสายน้ำผึ้ง และดอกเก๊กฮวย นอกจากนี้น้ำย่านางยังมีส่วนช่วยขับกรดยูริกที่สะสมอยู่ภายในร่างกาย
ขอขอบพระคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่อ่านมาจนถึงส่วนสุดท้ายของบทความนะคะ หมอหวังเป็นอย่างยิ่งว่า 3 วิธีลดอาการปวดเก๊าท์เฉียบพลันที่หมอได้แนะนำจะช่วยแก้ปัญหาอาการปวดเก๊าท์ที่เกิดขึ้นได้ เพราะ 3 วิธีลดอาการปวดเก๊าท์นี้เป็นวิธีง่าย ๆ ที่สามารถใช้ของที่มีอยู่ภายในบ้าน โดยแค่แช่น้ำอุ่น ดื่มน้ำ และหยุดพัก เพียงเท่านี้อาการปวดเก๊าท์ก็สามารถทุเลาลงได้ อย่างไรก็ตาม หากท่านผู้อ่านไม่อยากกลับมามีอาการปวดเก๊าท์ซ้ำ ๆ หรือมีคำถามทุกครั้งหลังการกลับมาปวดเก๊าท์ว่า ปวดเก๊าท์กี่วันหาย? ปวดเก๊าท์ห้ามกินอะไรคะหมอ? อยากหายจากอาการปวดเก๊าท์ทำอย่างไรคะ? คำตอบของคำถามเหล่านี้สามารถปฏิบัติตามวิธีลดอาการปวดเก๊าท์ระยะยาวตามที่หมอแนะนำได้เลยนะคะ เพราะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดูแลตัวเอง เป็นการดูแลสุขภาพที่ไม่ใช่แค่เพียงลดอาการปวดเก๊าท์เท่านั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ยังมีส่วนช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมาได้อีกด้วยค่ะ
สุดท้ายนี้หมอขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และหากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม ปุณรดายาไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและทีมแพทย์แผนไทยที่ยินดีจะให้คำปรึกษาในการใช้ยาสมุน ไพร และพร้อมดูแลท่านผู้อ่านทุกท่าน โดยสามารถปรึกษาอาการเข้ามาทาง Line ของปุณรดายาไทยได้เลยนะคะ ทางเรามีคุณหมอคอยดูแลให้คำแนะนำ ทุกวัน ตั้งตั้งแต่ 09:00 - 21:00 เลยค่ะ
ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "