โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ถือเป็นโรคยอดฮิตสำหรับวัยทำงาน และ เป็นโรคที่รบกวนการใช้ชีวิตไม่น้อยไปกว่าโรคอื่นๆเลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะเวลามีอาการแต่ละที สุดแสนจะทรมานจนไม่อยากปัสสาวะเลยทีเดียว
หลายๆท่านที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะที่มาปรึกษาหมอมีข้อสงสัยและกังวล ว่าอาการที่เป็นอยู่ใช่กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือไม่ วันนี้หมอมีวิธีการสังเกตอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วยตัวเองมาฝากกันค่ะ
1. ตอนปัสสาวะมีอาการแสบขัด ปัสสาวะมีสีขุ่น
2. มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
3. ปัสสาวะปนเลือด
4. ปัสสาวะบ่อยแบบกะปริบกะปรอย มากกว่า 10 ครั้งต่อวัน
5. เมื่อปัสสาวะสุด อาจมีเจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ
6. ปัสสาวะมีกลิ่นผิดปกติ
7. ปวดท้องน้อยเวลาปัสสาวะ
หากมีอาการเหล่านี้ตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป มีแนวโน้มเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนะคะ แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะอาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ค่ะ ก่อนที่จะไปสู่ขั้นตอนการรักษา หมอจะพามาดูสาเหตุที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบกันก่อนค่ะ
1. ดื่มน้ำน้อย จะมีผลทำให้ร่างกายขับของเสียและแบคทีเรียออกได้ช้า และเพิ่มโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ
2. กลั้นปัสสาวะบ่อย ไม่ได้เข้าห้องน้ำทันที จะทำให้แบคทีเรียเพิ่มจำนวนและสะสมในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้น
3. ไม่ได้ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือ หลังปัสสาวะ ทำให้แบคทีเรียย้อนกลับเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะจนเกิดการติดเชื้อ
4. มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากโรคเบาหวานจะมีอาการปัสสาวะบ่อย เข้าห้องน้ำบ่อย หากเช็ด ล้าง ทำความสะอาดไม่ดี จึงเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
5. ทานยากดภูมิคุ้มกันเป็นประจำ ทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มที่ เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย
6. การใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน เป็นการนำเชื้อก่อโรคปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายโดยตรง อีกทั้งยังทำให้ผนังท่อปัสสาวะ และ กระเพาะปัสสาวะ มีการหลุดลอกออกและบางลง เอื้อต่อการยึดเกาะของเชื้อโรคมากขึ้น ทำให้เชื้อสามารถหลบเลี่ยงการกำจัดเชื้อของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้
7. มีความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ท่อปัสสาวะ ตีบ ,นิ่ว หรือเนื้องอกในระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะได้ยาก และ มีปัสสาวะคั่งค้างอยู่นาน แบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะเพิ่มจำนวนและสะสมในกระเพาะปัสสาวะจนเกิดการติดเชื้อ
8. เคยมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบมาก่อน เนื่องจากผู้ป่วยมักจะยังมีพฤติกรรมเดิม ๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้ง่าย
9. มีการสวนล้างช่องคลอดเป็นประจำด้วยยาปฏิชีวนะ ทำให้จุลินทรีย์และแบคทีเรียบริเวณช่องคลอดเสียสมดุล จนเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
10. อยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน หรือ วัยหมดประจำเดือน เนื่องจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้มีอาการช่องคลอดแห้ง ปัสสาวะแสบขัด หรือ เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆค่ะ
เป็นอย่างไรบ้างคะ 10 สาเหตุที่หมอกล่าวมานี้ ท่านผู้อ่านมีพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุเหล่านี้อยู่กันบ้างรึเปล่าคะ หากมีหมอแนะนำให้รีบปรับหรือรักษา(กรณีที่เป็นผลข้างเคียงจากโรคประจำตัว)เพื่อให้อาการหายเร็วขึ้นค่ะ แต่หากปรับแล้วยังไม่ดีขึ้นเท่าที่ควรเพราะเป็นเรื้อรังมานาน หากเป็นเช่นนั้นก็ถึงเวลาที่เราจะมาเริ่มรักษาอย่างจริงจังกันแล้วค่ะ วันนี้หมอมี 3 แนวทางการรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบมาฝากทุกท่านกันนะคะ
• การรักษาด้วยตนเอง ทำได้ดังนี้ค่ะ
• ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อร่างกาย ควรดื่มให้ได้ 5% ของน้ำหนักตัว ทำให้เลือดหมุนเวียนดี ขับปัสสาวะได้ดี และลดการอักเสบในร่างกาย หรือดื่มน้ำสมุนไพรที่มีสรรพคุณขับปัสสาวะ เช่น น้ำตะไคร้ น้ำกระเจี๊ยบแดง น้ำขิง และสมุนไพรฤทธิ์เย็นที่มีสรรพคุณลดการอักเสบ เช่น น้ำย่านาง น้ำใบเตย
• งดทานอาหารแสลง ประเภท ส้มตำ ปลาร้า ของหมักดอง กะปิ เนื้อเป็ด เนื้อวัว เนื้อหมู ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์จากนม และของรสจัดทุกชนิด เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้อักเสบ และมีผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ
• ไม่กลั้นปัสสาวะควรปัสสาวะทันทีที่มีอาการปวด
• รักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศและบริเวณทวารหนัก สำหรับผู้หญิงควรเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศ จากด้านหน้าไปด้านหลัง
• ควรทำความสะอาดและซับให้แห้งทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือ หลังปัสสาวะ
• หลังมีเพศสัมพันธ์ ควรถ่ายปัสสาวะทันทีเพื่อขับเชื้อโรคที่คั่งค้างขณะมีเพศสัมพันธ์ออกมา
• หลีกเลี่ยงการใช้สารที่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองในขณะที่มีอาการ เช่น ผ้าอนามัยแบบสอด น้ำยาฆ่าเชื้อ สเปรย์ดับกลิ่น น้ำยาสวนล้าง ที่ใช้ในบริเวณจุดซ่อนเร้น
• เตรียมความพร้อมก่อนออกไปข้างนอกด้วยการเข้าห้องน้ำปัสสาวะให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการกลั้นปัสสาวะระหว่างเดินทาง
• ควรใส่ชั้นในหรือเสื้อผ้าที่ไม่รัดรูปจนเกินไป เพื่อป้องกันการอับชื้น
การรักษาทางแผนปัจจุบัน แพทย์จะจ่ายยาให้ดังนี้ค่ะ
• ยาแก้ปวด กลุ่ม Paracetamol, Muscle Relaxant, NSAID, Non-steroidal anti inflammatory ในกรณีที่มีอาการปวดร่วมด้วย
• ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน กลุ่ม fluoroquinolone เช่น Norfloxacin 400 mg , Ofloxacin 200 mg , Ciprofloxacin 500 mg, Amoxycillin 500 mg
• ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเข้าทางหลอดเลือด ในกรณีที่มีอาการรุนแรงหรือติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วย
การรักษาโดยการใช้ยาสมุนไพร
ปุณรดายาไทยรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบโดยการใช้ยาสมุนไพรชุด UT-Set ประกอบด้วยตัวยาดังนี้
• สมุนไพร B-boost ยารับประทานชนิดแคปซูล มีส่วนประกอบของ พลูคาว เหงือกปลาหมอ แก่นแกแล และอื่นๆ มีสรรพคุณ ช่วยฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ลดอาการแสบขัด ลดปวดเสียวเวลาที่ถ่ายปัสสาวะ ลดอาการปัสสาวะปนเลือด ทำให้เลือดลมบริเวณกระเพาะปัสสาวะไหลเวียนได้ดีขึ้น ปัสสาวะสุดมากขึ้น ลดการสะสมของแบคทีเรียภายใน ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อน และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
• น้ำย่านาง Balance Gold มีส่วนประกอบของ ใบย่านาง ดอกเก๊กฮวย ใบบัวบก ใบเตย ดอกสายน้ำผึ้ง และอื่นๆ มีสรรพคุณ ช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ขับปัสสาวะ ลดไข้ และลดการสะสมความร้อนภายในร่างกาย
นอกจากการใช้ยารักษาแล้วหมออยากแนะนำให้ปรับลด-เลิกพฤติกรรมที่กระตุ้นอาการร่วมด้วยอย่างต่อเนื่องไปตลอด เพราะกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรม หากต้องการรักษาให้หายสนิท ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก เราก็ไม่ควรมีพฤติกรรมที่กระตุ้นการซ้ำๆ จึงจะช่วยให้อาการหายสนิทและเป็นการรักษาที่ยั่งยืนค่ะ
หากท่านใดมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต้องการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ ปลอดภัย ไร้สารเคมี สามารถปรึกษาหมอโดยตรงเพื่อรับคำแนะนำและออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพิ่มเติมได้เลยนะคะ
ปรึกษาอาการกับหมอ ได้โดยตรงที่ Line ID : @poonrada หรือ โทร. 02-1147027 หมอยินดีให้คำปรึกษาค่ะ
ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "