พูดถึงอาการปวดบวมตามข้อ โดยเฉพาะ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเท้า และข้อเข่า ทุกคนมักจะนึกถึงโรคเก๊าท์กันใช่ไหมคะ? แต่จริง ๆ แล้วยังมีอีกหนึ่งโรคที่มีอาการคล้ายโรคเก๊าท์ นั่นคือ “โรคเก๊าท์เทียม” ค่ะ
พอได้ยินชื่อแล้วสงสัยกันไหมคะว่าเก๊าท์เทียมแตกต่างจากเก๊าท์ยังไงบ้าง? เก๊าท์เทียมรักษาแบบเดียวกับเก๊าท์ได้ไหม? หมอจะพามาไขข้อข้องใจเกี่ยวเก๊าท์เทียมและการรักษาเก๊าท์เทียมกันค่ะ
โรคเก๊าท์เทียม (Pseudogout) คือโรคข้ออักเสบที่เกิดจาก การสะสมของผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตดีไฮเดรท (Calcium Pyrophosphate Dehydrate: CPPD) โดยการสะสมของผลึก CPPD สามารถเกิดจากการผ่าตัด หรือจากการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงทำให้ข้อต่อและกระดูกอ่อนถูกทำลาย และสามารถเกิดจากเอนไซม์ในกระดูกอ่อนตามข้อต่าง ๆ ย่อยสลายพลังงานมากกว่าปกติทำให้เกิดเกลือแร่ Pyrophosphate ขึ้นและไปจับตัวกับ Calcium เกิดเป็นผลึก CPPD เกาะอยู่ตามกระดูกอ่อน เมื่อมีการสะสมของผลึกเพิ่มมากขึ้นผลึกเหล่านี้ก็จะหลุดเข้ามาอยู่ในช่องว่างระหว่างข้อ ทำให้เม็ดเลือดขาวเข้ามาทำหน้าที่กำจัดผลึกเหล่านี้ ทำให้เกิดการหลั่งสารที่เกี่ยวกับการอักเสบ จึงมีอาการปวดบวมบริเวณข้อใหญ่ ๆ ตามร่างกาย เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อหัวไหล่ นั่นเองค่ะ
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สามารถทำให้เกิดเก๊าท์เทียมได้ เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สาเหตุจากโรคอื่น ๆ (ภาวะเหล็กเกิน ข้อถูกทำลาย ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในเลือดสูง แมกนีเซียมในเลือดต่ำ ฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดต่ำ และโรคมะเร็ง เป็นต้น) ซึ่งแตกต่างจากโรคเก๊าท์ปกติที่มีสาเหตุเกิดจากภาวะการมีกรดยูริกในเลือดสูงและการสะสมของผลึกโมโนโซเดียมยูเรต (Monosodium Urate: MSU) ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกข้อตามร่างกายและมักเกิดขึ้นบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าลำดับแรกค่ะ
การยืนยันว่าเป็นโรคเก๊าท์หรือโรคเก๊าท์เทียมสามารถยืนยันได้โดยการเจาะตรวจน้ำไขข้อ (Joint aspiration) แล้วนำไปส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูชนิดผลึกที่สะสมอยู่ภายในข้อ หากเป็นโรคเก๊าท์จะพบผลึกเกลือโมโนโซเดียมยูเรต (MSU) ที่มีลักษณะเป็นรูปเข็ม
การรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน
ในปัจจุบันยังไม่มียาที่มีฤทธิ์ลดการสะสมผลึกเกลือ CPPD ดังนั้นในการรักษาโรคเก๊าท์เทียมจะใช้ยาที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดและอักเสบซึ่งเป็นกลุ่มยาเดียวกับการรักษาเก๊าท์ ได้แก่
1. ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาข้ออักเสบเฉียบพลัน โดยส่วนใหญ่จะใช้ยาไม่เกิน 7 วัน ซึ่งในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยาได้ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาในรูปแบบการฉีดแทน
2. ยาคอลจิซีน (Colchicine) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาข้ออักเสบเฉียบพลันในโรคเก๊าท์ มีผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ ท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้ และอาเจียน
3. ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรคเกาต์ระยะข้ออักเสบ เฉียบพลัน จะพิจารณาใช้ในรายที่มีข้อห้ามในการให้ NSAIDs หรือ Colchicine เช่น มีภาวะไตวาย เลือดออกในทางเดินอาหาร หรือเมื่อไม่ตอบสนองต่อยาต้านการอักเสบข้างต้น
การรักษาด้วยยาสมุนไพร
การรักษาโรคเก๊าท์เทียมด้วยการใช้สมุนไพรเป็นหนึ่งในทางเลือกของการรักษาที่ไม่มีสารเคมี ไม่มีสารสเตียรอยด์ ในทางการรักษาจะเลือกใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณที่ช่วยในเรื่องลดอาการข้ออักเสบ ปวดบวมข้อ รวมถึงสมุนไพรบำรุงกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นให้มีความยืนหยุ่น ช่วยให้เคลื่อนไหวได้ดี มีส่วนช่วยในการไหลเวียนของเลือด ลม และช่วยให้ของเหลวตามข้อต่อต่างๆไหลเวียนได้สะดวกขึ้น ซึ่งสามารถบรรเทาอาการโรคเก๊าท์เทียมที่เกิดขึ้นได้
โดยการรักษาด้วยตำรับยาสมุนไพรแบบปุณรดายาไทยจะใช้ชุดยาสมุนไพรรักษาเก๊าท์เทียม GT-Set ชุดยาสมุนไพรแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ มีรายละเอียดชุดยา ดังนี้
1. สมุนไพร B-Comfort ยาสมุนไพรชนิดแคปซูล ประกอบด้วย เถาโคคลาน เถาวัลย์เปรียง เถาเอ็นอ่อน กำลังวัวเถลิง กำลังเสือโคร่ง มีสรรพคุณแก้อาการปวดข้อ แก้ข้ออักเสบ บำรุงกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และกระจายเลือดลมทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น
2. น้ำย่านางสูตร Balance Gold ประกอบด้วย ย่านาง ใบเตย เชียงดา สมอไทย ใบบัวบก ดอกสายน้ำผึ้ง ดอกเก๊กฮวย สมุนไพรเหล่านี้มีฤทธิ์เย็นสามารถช่วยลดอาการอักเสบ ลดความร้อนที่สะสมภายในร่างกาย และขับของออกเสียออกมาทางปัสสาวะอีกด้วยค่ะ
1. การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และรับประทานอาหารให้ตรงเวลา สำหรับเก๊าท์เทียม อาหารที่สารพิวรีนสูงไม่มีผลกระตุ้นให้อาการกำเริบเหมือนเก๊าท์ แต่การดูแลเรื่องการรับประทานอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดูแลสุขภาพโดยรวม เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการนะคะ
2. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่กระทบข้อต่อ เช่น การวิ่ง การยกเวท เพื่อป้องกันการบาดเจ็บบริเวณข้อที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดบวมได้
3. แช่น้ำอุ่นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งละ 15 นาที เพื่อลดอาการปวดข้อ *หากมีแผลเปิด ไม่ควรแช่น้ำอุ่น เพื่อป้องกันการติดเชื้อนะคะ*
4. รักษาโรคประจำตัวควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะ โรคไทรอยด์ต่ำ โรคฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง โรคที่มีธาตุเหล็กสะสมในตัวมาก เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่มีภาวะเหล็กเกินจากการรับเลือด และโรคอื่น ๆ ที่ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูง เช่น โรคไต มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือด เป็นต้น
5. พบแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ
ถึงแม้ว่าโรคเก๊าท์เทียมจะมีอาการคล้ายกับโรคเก๊าท์ แต่ด้วยสาเหตุของการเกิดโรคที่แตกต่างกันทำให้การรักษาและวิธีดูแลสุขภาพแตกต่างกันด้วย ดังนั้นการยืนยันโดยการตรวจวินิจฉัยโรคจากแพทย์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะหากมีอาการแล้วไม่ไปพบแพทย์ และซื้อยามารับประทานเองเอง อาจทำให้ได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้องและไม่ได้รับการติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
หากท่านผู้อ่านหรือคนใกล้ตัวกำลังมีอาการคล้ายจะเป็นโรคเก๊าท์ แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นเก๊าท์เทียมหรือไม่? หมอหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการแนะนำแนวทางการตรวจและการรักษาโรคเก๊าท์เทียมสำหรับทุกท่านนะคะ
สำหรับท่านผู้อ่านท่านไหนสนใจการรักษาเก๊าท์หรือเก๊าท์เทียมด้วยการใช้สมุนไพร ปุณรดายาไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและทีมแพทย์แผนไทยยินดีให้คำปรึกษา สามารถปรึกษาอาการเข้ามาทาง Line ของปุณรดายาไทยได้เลยนะคะ ทางเรามีคุณหมอคอยดูแลให้คำแนะนำทุกวัน ตั้งตั้งแต่ 09:00 - 21:00 เลยค่ะ ติดต่อทาง Line id : @poonrada หรือ โทร 02-1147027 นะคะ
ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "