คุณแม่ตั้งครรภ์อยากบำรุงน้ำนมก่อนคลอดสามารถทำได้ไหม? แล้วบำรุงน้ำนมก่อนคลอดเป็นสิ่งที่จำเป็นหรือเปล่า? คุณแม่ท่านไหนที่มีความสงสัยเกี่ยวกับการบำรุงน้ำนมก่อนคลอดอยู่ บอกเลยว่าบทความนี้มีคำตอบมาฝากคุณแม่ทุกท่านแน่นอนค่ะ
น้ำนมแม่มีสารอาหารหลายชนิด ได้แก่ โปรตีน กรดไขมัน น้ำตาล วิตามิน (A B1 B2 B6 B12 C D E K) ธาตุเหล็ก แคลเซียม และไอโอดีน ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูก ในการช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยในการทำงานของระบบลำไส้ ช่วยพัฒนาระบบประสาทและการมองเห็น โดยองค์กรอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ (UNICEF) มีการแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ว่า ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และหลังจาก 6 เดือน ควรให้นมแม่ควบคู่กับสารอาหารที่ลูกควรได้รับตามช่วงวัยจนถึงอายุ 2 ปี ดังนั้นการบำรุงน้ำนมก่อนคลอดจึงจำเป็นและสำคัญ เพื่อให้คุณแม่มีน้ำนมที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อการให้นมลูกตลอดการเลี้ยงดูค่ะ
ข้อควรทำ
1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นทานอาหารที่ช่วยบำรุงน้ำนม ได้แก่ ธัญพืช (ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ งาดำ อัลมอนด์) หัวปลี ขิง กะเพรา ฟักทอง ใบแมงลัก มะรุม ตำลึง เป็นต้น *คุณแม่ควรทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุก สดใหม่ด้วยนะคะ*
2. ดื่มน้ำอุ่นวันละ 3-4 ลิตร ดื่มทุกวันเป็นประจำ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกายที่เป็นส่วนสำคัญสำหรับการสร้างน้ำนม
3. พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง เวลานอนที่เหมาะคือช่วงเวลาก่อน 22.00 น. หากพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือคุณแม่นอนดึก ตื่นสาย จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย หงุดหงิด เกิดความเครียดได้ง่าย ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และยังส่งผลต่อการสร้างน้ำนมอีกด้วย
ข้อไม่ควรทำ
1. ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ จะทำให้แอลกอฮอล์ สารเคมี สารพิษปนเปื้อนในน้ำนมและทำให้เกิดอันตรายต่อทารกได้
2. ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นปัจจัยลดการสร้างน้ำนมแเละส่งผลต่อการนอนหลับของทารก
3. การรับประทานอาหารทะเล อาหารแปรรูป (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไส้กรอก โบโลน่า อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง) อาหารเหล่านี้มีการปนเปื้อนของสารเคมี สารกันเสีย สารปรอท ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และทำให้น้ำนมแม่ไม่มีคุณภาพ
4. การรับประทานอาหารดิบ อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น สเต็กเนื้อ ปลาดิบ หอยดอง ปูดอง เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อของแม่และทารกจากเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก
5. การทาครีมหรือโลชั่นบริเวณหัวนม ลานนม สามารถทำให้ครีมไปอุดตันบริเวณท่อน้ำนม ส่งผลให้หลังคลอดมีปัญหาน้ำนมไม่ไหลหรือน้ำนมไหลน้อยได้ *ดูแลด้วยการใช้น้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดก็เพียงพอแล้วค่ะ*
การดูแลสุขภาพที่หมอแนะนำเบื้องต้นเป็นการดูแลสุขภาพโดยรวมเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการบำรุงน้ำนมก่อนคลอดที่สามารถใช้ดูแลตัวเองได้ตลอดการตั้งครรภ์เลยนะคะ แต่มีการบำรุงน้ำนมก่อนคลอดบางวิธีที่สามารถทำได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์เท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำนมแม่มาเร็วจนเกินไป และป้องกันการกระตุ้นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดด้วยค่ะ โดยปุณรดายาไทยมี 2 ขั้นตอนสำคัญในการเตรียมตัวก่อนคลอดช่วงไตรมาสสุดท้าย(เดือนที่7-9)สำหรับคุณแม่ที่อยากบำรุงน้ำนมก่อนคลอดมาฝากกันค่ะ
#1 การเตรียมเต้านมก่อนคลอด
เต้านมของแม่เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้น้ำนมเลยค่ะ เพราะถ้าคุณแม่มีน้ำนมที่ดี แต่น้ำนมนั้นไม่สามารถไหลออกจากเต้านม หรือเต้านมมีปัญหาก็อาจะส่งผลต่อการให้นมลูกได้ค่ะ โดยสามารถเตรียมเต้านมก่อนคลอดได้ ดังนี้
1. การตรวจเต้านม
• ตรวจด้วยการสังเกตและการคลำ ขนาด ความเท่ากันของเต้านมทั้ง 2 ข้าง ลักษณะของเต้านมว่ามีลักษณะผิดปกติ หรือคลำพบก้อนหรือไม่ *หากพบความผิดปกติควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาทันทีนะคะ*
• ตรวจปัญหาของหัวนม ว่าคุณแม่มีปัญหาหัวนมสั้น หัวนมบอดหรือไม่ สามารถตรวจได้โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือครอบลงที่หัวนม แล้วค่อย ๆ บีบนิ้วทั้งสองเข้าหากัน วัดผลได้ดังนี้
• หัวนมปกติ: จับหัวนมได้ไม่หลุดจากนิ้ว
• หัวนมสั้น: จับหัวนมได้ แต่หัวนมยื่นจากลานนมเพียงเล็กน้อย
• หัวนมบอด: จับหัวนมไม่ได้ หัวนมจมลงไปกับลานนม
ถ้าพบปัญหาหัวนมสั้น หัวนมบอด แก้ไขยังไงได้บ้าง? หัวนมสั้น หัวนมบอดสามารถแก้ไขได้โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือครอบลงบนหัวนม ค่อย ๆ ดึงหัวนมขึ้นมาแล้วปล่อย ทำ 10-15 ครั้ง วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือสามารถใช้อุปกรณ์เสริมช่วยดึงหัวนมได้เช่นกันค่ะ *แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วยเพื่อหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสมกับคุณแม่แต่ละท่านนะคะ*
1. การนวดเต้านม
เป็นวิธีที่สำคัญสำหรับการเตรียมเต้านมและท่อน้ำนมให้พร้อมก่อนคลอด แต่ก็เป็นวิธีที่ควรทำด้วยความระมัดระวังเช่นกันค่ะ คุณแม่สามารถเริ่มนวดเต้านมได้เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 9 หรือช่วงสัปดาห์ที่ 35-36 ของการตั้งครรภ์ และควรนวดด้วยลักษณะการคลึงเบา ๆ เท่านั้น เพราะการนวดเต้านมด้วยแรงที่มากเกินไปอาจกระตุ้นฮอร์โมนทำให้มดลูกบีบตัวและกระตุ้นให้เกิดการคลอดได้
2. การทานสมุนไพรบำรุงน้ำนม
การทานสมุนไพรบำรุงน้ำนมเป็นสิ่งที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านต้องได้ทานไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบอาหารหรือเครื่องดื่ม ปุณรดายาไทยเลยอยากจะแชร์การใช้สมุนไพรบำรุงน้ำนมในรูปแบบของตำรับยา ด้วยการใช้ PONNOM ยาสมุนไพรประสะน้ำนม ที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ เร่ว ใบกระวาน ดอกกานพลู เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี ขิง และตัวยาอื่น ๆ ซึ่งตำรับยามีการออกฤทธิ์ที่ร้อน ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของระบบเลือด ช่วยบำรุงน้ำนม เสริมคุณค่าทางโภชนาการให้น้ำนม เพื่อให้คุณแม่มีน้ำนมที่มีคุณภาพสำหรับการเลี้ยงดูลูกน้อย
การทานยาสมุนไพร PONNOM เพื่อบำรุงน้ำนมก่อนคลอดสามารถทานตั้งแต่อายุครรภ์ 8 เดือนขึ้นไป (สัปดาห์ที่35เป็นต้นไป) และที่สำคัญยาสมุนไพรประสะน้ำนมของปุณรดายาไทยได้เลือกใช้สมุนไพรที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานการผลิตที่สะอาด ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์แน่นอนค่ะ
การบำรุงน้ำนมก่อนคลอดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่กังวลเรื่องปัญหาน้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล หรือคุณแม่ที่เคยประสบปัญหาน้ำนมไม่พอต่อการเลี้ยงลูก เพราะการบำรุงน้ำนมก่อนคลอดเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้คุณแม่ได้เตรียมพร้อม รู้จักวิธีรับมือ วิธีดูแลตัวเองเพื่อช่วยบำรุงน้ำนมให้มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอสำหรับเลี้ยงลูกน้อยหลังการคลอดด้วยค่ะ
ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "