โรคลมแดด (Heatstroke) ภัยร้ายหน้าร้อน ระวังมีโอกาสเสียชีวิตได้!!

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

โรคลมแดด (Heatstroke) ภัยร้ายหน้าร้อน ระวังมีโอกาสเสียชีวิตได้!!

ช่วงนี้ใครหลาย ๆ คนคงจะเห็นข่าวผู้ที่เป็นโรคลมแดด หรือ heatstoke กันเป็นจำนวนมาก บางครั้งก็ส่งผลอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะผู้สูงอายุ

 

และจะพบว่าเจอคนที่เป็นโรคลมแดดมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าร้อน ซึ่งในเดือนเมษายนในปี 2566 นี้ ในประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่ามีโอกาสร้อนมากกว่าปีที่แล้ว ซึ่งอาจจะมีอุณหภูมิสูงได้ถึง 40-43 องศาเซลเซียส ฉะนั้นเราเองก็ไม่ควรที่จะประมาท และมาทำความรู้จักโรคนี้กันด้วยความเข้าใจ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการนี้กับตัวเราเองและคนใกล้ตัวกันค่ะ

 

โรคลมแดด หรือ Heatstoke คืออะไร


ภาวะของร่างกายที่ไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนที่เกิดขึ้นได้ อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ซึ่งเกิดจากการที่อยู่ในสถานที่ที่อุณหภูมิร้อนมากๆเป็นเวลานาน โดยปกติร่างกายจะมีระบบที่สามารถปรับสมดุลความร้อนในตัวอยู่แล้ว อุณหภูมิปกติของร่างกายจะอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส เมื่อความร้อนในร่างกายเพิ่มขึ้น ต่อมใต้สมองไฮโปทาลามัสซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมการปรับอุณหภูมิ จะทำหน้าที่ขจัดความร้อนด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น เหงื่อออกมากขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว แผ่รังสีความร้อนออกมา ซึ่งหากอากาศร้อนมากกลไกการปรับสมดุลนี้ยิ่งทำงานหนักจนศูนย์ควบคุมได้รับความเสียหายจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เลือดจะไหลเวียนไปที่อวัยวะภายในลดลง มีโอกาสเสี่ยงที่จะขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ จนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
 

ใครคือกลุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคลมแดด


1. เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ช้า และเสี่ยงต่อภาวะการขาดน้ำได้ง่าย

2. คนที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศที่ร้อน เช่น ชาวต่างชาติที่มักอาศัยในพื้นที่ที่อากาศหนาวมากกว่าอากาศร้อน 

3. ผู้ที่รับประทานยาบางชนิดจะมีโอกาสทำให้ร่างกายสูญเสียสารน้ำ เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคจิตเวช ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาระบาย ยาเสพติดกลุ่ม Amphetamines และ Cocaine เป็นต้น

4. ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคอ้วน ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และผู้ที่เคยมีภาวะเป็นลมแดดมาก่อน

5. นักกีฬา หรือ ทหารที่ต้องฝึกหนักในที่กลางแจ้ง อากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน

 

นอกจากนี้ในโรคลมแดด ยังสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทตามสาเหตุการเกิดขึ้นอาการได้ สำหรับกลุ่มเสี่ยงใน 4 ข้อแรกคือ เด็ก ผู้สูงอายุ , คนที่ไม่คุ้นชินกับอากาศร้อน , ผู้ที่รับประทานยาบางชนิด , ผู้ที่มีโรคประจำตัว หากเป็นโรคลมแดด จะเรียกว่า โรคลมแดดทั่วไป (Non-exertional Heat Stroke: NEHS) แต่หากเป็นกลุ่มที่ 5 นักกีฬา หรือ ทหารที่ต้องฝึกหนักในที่กลางแจ้ง จะจัดอยู่ในกลุ่มโรคลมแดดจากการออกกำลังกาย (Exertional Heat Stroke : EHS)

 

วิธีสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคลมแดด ก่อนจะมีอาการรุนแรง !


อาการโดยทั่วไปที่พบได้ในผู้ที่มีภาวะลมแดด คือ

 

• ร่างกายอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่า 41 องศาเซลเซียส เปรียบเทียบง่าย ๆ เหมือนคนมีไข้สูง

• ผิวหนังเริ่มมีสีแดง แต่ไม่มีเหงื่อออก (หากเป็นคนที่ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ฝึกกำลังหนัก กลางแจ้ง หรือที่ๆอากาศไม่ถ่ายเท อาจจะพบเหงื่อออกได้)

• หายใจเร็วขึ้น ใจสั่น รู้สึกกระสับกระส่าย

• พูดช้าลง เหนื่อยกว่าปกติ อ่อนแรง

• ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน

 

หากเริ่มมีอาการเหล่านี้ไม่ควรรอช้า ควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายลงให้เร็วที่สุด มิเช่นนั้นหากปล่อยไว้ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเพ้อ ความดันโลหิตลดลง การทำงานอวัยวะภายในได้รับผลกระทบ มึนงง สับสน จนถึงขั้นชักเกร็ง หมดสติและเสียชีวิตได้ในที่สุด

 

สำหรับ วิธีปฐมพยาบาลสำหรับผู้ที่มีอาการลมแดด มีดังนี้

 

1. รีบนำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ให้นอนราบ และยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ถ้าผู้ป่วยหมดสติให้เปิดทางเดินหายใจให้โล่งจัดให้นอนท่าตะแคงเพื่อป้องกันลิ้นตกและป้องกันการสำลัก

2. หากผู้ป่วยใส่เสื้อผ้าหนา มีเสื้อคลุม ควรรีบถอดออก เพื่อให้ระบายความร้อนได้ดีขึ้น

3. ใช้น้ำเย็น หรือน้ำแข็ง ประคบ หรือพรมบริเวณใบหน้า หลังคอ ข้อพับต่าง ๆ ขาหนีบ ร่วมกับใช้พัดลมหรือพัดเพื่อให้เร่งระบายความร้อนออก ตามแขน ขา ลำตัว สามารถใช้น้ำเย็นราดโดยตรงได้

4. หากผู้ป่วยเหงื่อออกมาก ควรให้ดื่มน้ำผสมเกลือแร่

5. ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล

 

ทำไมโรคลมแดด ถึงทำให้เสียชีวิตได้


จากที่ทราบข้างต้นว่าภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เป็นระยะเวลานาน จะไปกระทบต่อการทำงานอวัยวะภายในร่างกาย ในทุกระบบที่สำคัญ เช่น

• ผลต่อสมอง ทำให้เกิดอาการชัก สมองบวม อาจทำให้เซลล์สมองเสียหาย มีความพิการทางระบบประสาทถาวรได้

• ผลต่อหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากผู้ป่วยโรคลมแดดจะมีภาวะขาดน้ำ ส่งผลต่อปริมาณเลือดในร่างกายน้อยลง เกิดการคลายตัวของหลอดเลือดส่วนปลาย ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะในบางรายได้ ซึ่งภาวะเหล่านี้อาจะทำให้เกิดหัวใจวายได้

• ผลต่อเม็ดเลือด การที่อุณหภูมิสูงขึ้นในช่วง 42-44 องศาเซลเซียสจะไปกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดเล็ก ๆ กระจายทั่วหลอดเลือด ซึ่งอาจจะไปอุดตันภายในหลอดเลือดส่วนที่สำคัญได้ เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

• ผลต่อกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย จนต่อเนื่องไปถึงระบบไต อาจทำให้ไตวายเฉียบพลันได้

• ผลต่อตับ เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำ เลือดไหลไปเลี้ยงตับลดลง อาจทำให้เกิดอาการตับวายได้

 

โรคลมแดดเป็นโรคที่อันตรายมาก ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์เลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยง เราควรดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดภาวะนี้ขึ้นนะคะ สุดท้ายหมอมีวิธีในการป้องกันไม่ให้เป็นโรคลมแดดมาฝากเพื่อให้ทุกคนสามารถทำตามได้ง่ายๆ ไปอ่านกันเลยค่ะ

 

7 วิธีป้องกันโรคลมแดด หรือ heatstoke


1. ควรสวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย สีอ่อน บาง สามารถระบายอากาศได้ดี ไม่รัดแน่น เพื่อให้ร่างกายได้ถ่ายเทความร้อนออกได้ง่าย และ หากเราต้องอยู่กลางแจ้ง หรือในพื้นที่ที่อากาศไม่ถ่ายเทสวมอุปกรณ์เพื่อช่วยบังแดด เช่น ร่ม หมวก แว่นตากันแดด และทาครีมกันแดดอยู่เสมอ

 

2. ดื่มน้ำให้มาก อย่างน้อย 5%ของน้ำหนักตัว ในสภาะวะอากาศที่ร้อนมาก ควรดื่มมากกว่าเดิม 1-2 ลิตร เพื่อให้เพียงพอต่อร่างกาย และควรเสริมเครื่องดื่มที่ผสมเกลือแร่ หากต้องทำกิจกรรมที่เหงื่อออกมากกว่าปกติ เช่น การเล่นกีฬา ออกกำลังกาย

 

3. เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะยิ่งทำให้หลอดเลือดขยายตัว และเร่งกระบวนการขับปัสสาวะ จะส่งผลโดยตรงต่อระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

 

4. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือกิจกรรมกลางแจ้ง ช่วงกลางวัน เลี่ยงไปทำกิจกรรมช่วงรุ่งเช้า หรือช่วงเย็นจะดีที่สุด และไม่ควรออกกำลังกายหักโหมในช่วงหน้าร้อน หากเหนื่อยควรรีบพักทันที และมีการ warm-up cool-down ทุกครั้งที่ออกกำลังกาย

 

5. ไม่ควรจอดรถในที่กลางแดดเป็นเวลานาน เนื่องจากอุณหภูมิในรถสามารถขึ้นไปได้อย่างรวดเร็วถึง 50 องศาเซลเซียส ในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง

 

6. หากต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่อากาศร้อนกว่าที่คุ้นเคย ควรเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ทำงานหนัก การอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานในระยะแรก ๆ จนกว่าร่างกายจะเคยชินกับสภาพอากาศ

 

7. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคความดันโลหิตสูงควรสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอ เลี่ยงการไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง และเฝ้าระวังเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ให้อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทอยู่เสมอ

 

เห็นได้ว่าโรคลมแดดไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ เลย เพราะตามสถิติ เมื่อเข้าสู่หน้าร้อนในทุกประเทศ กระทรวงสาธารณสุขต้องออกมากระตุ้นเตือนให้ประชาชนระวังตัว เพราะพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดมาตลอด บางรายส่งผลให้มีปัญหาทางสมองในระยะยาว และจำนวนผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีอีกด้วย ดังนั้นควรมีการเฝ้าระวัง ดูแลทั้งตัวเองและคนรอบข้าง ไม่ให้เสี่ยงต่อภาวะโรคลมแดดนี้ เมื่ออ่านบทความนี้แล้วสามารถนำเอาวิธีการป้องกันไปปรับใช้กันได้เลยนะคะ และสำหรับใครที่อยากได้ตัวช่วยลดความร้อนในร่างกาย หมอขอแนะนำเป็นสมุนไพรที่ขึ้นชื่อเรื่องการดับร้อน นั่นคือ น้ำย่านางสกัด ซึ่งมีด้วยกัน 2 สูตร ได้แก่

 

• น้ำย่านางสกัดสูตร Balance gold สรรพคุณหลักคือ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ปรับสมดุลความร้อน ลดการอักเสบภายใน ช่วยเพิ่มความสดชื่น สามารถใช้ได้ทั้งภายในโดยการผสมน้ำดื่มเพื่อลดความร้อนในร่างกาย และใช้ภายนอกโดยการนำน้ำย่านางสกัดเติมใส่ควรสเปรย์ หรือชุบผ้าขนหนู เพื่อลดความร้อนที่ผิวภายนอกค่ะ

 

 

 

• ส่วน น้ำย่านางสกัดสูตร Calm Rose มีสรรพคุณช่วยลดความร้อนเช่นเดียวกับสูตร balance gold แต่เพิ่มเติมคือจะผสมสารสกัดสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องของการคลายความเครียด ช่วยเรื่องการนอนหลับ ปรับอารมณ์ เหมาะสำหรับผสมดื่มทานในวันที่เหนื่อยล้าจากการทำงาน หรือ ต้องออกไปในที่ร้อน แดดจัด ทำให้เกิดความร้อนสะสม แนะนำให้ทานก่อนนอนได้เลยนะคะ

 

 

หากใครมีปัญหาเรื่องสุขภาพต้องการสอบถามเพิ่มเติม ปุณรดายาไทยมีทีมแพทย์แผนไทยที่มีประสบการณ์ยินดีให้คำปรึกษาสำหรับการใช้สมุนไพรในการรักษาอาการต่าง ๆ ได้ สามารถปรึกษาอาการเข้ามาทาง Line ของปุณรดายาไทยได้เลยนะคะ คุณหมอคอยดูแลให้คำแนะนำทุกวัน ตั้งแต่ 09:00 - 21:00 เลยค่ะ ติดต่อทาง Line id : @‌poonrada หรือ โทร 02-1147027 นะคะ

 

ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.เอกพล ศิริพงษ์เวคิน

แพทย์แผนไทยประยุกต์

" ใส่ใจทุกความต้องการ ดูแลเหมือนคนในครอบครัว "

นศ.พท.ป. สุพัชชา พรมน้ำ

แพทย์แผนไทย

" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า