ฟันโยก เป็นหนึ่งในปัญหาทางสุขภาพช่องปากที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
การรักษาและการดูแลฟันโยกเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถรักษาฟันและป้องกันปัญหาเกี่ยวกับฟันโยกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้เราจะพิจารณาถึงสาเหตุของฟันโยก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดฟันโยก การรักษาและการดูแลฟันโยกอย่างเหมาะสมเพื่อรักษาและป้องกันปัญหาเกี่ยวกับฟันโยกในอนาคต
สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย สาเหตุหลักๆ ส่วนใหญ่มาจากการสูญเสียโครงสร้างที่รองรับฟัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น
● การอักเสบของเหงือก ซึ่งเป็นผลมาจากหินปูนสะสม และกระดูกหุ้มรากฟันละลาย โรคเหงือกที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อรอบโคนฟัน ทำให้ฟันโยกและเคลื่อนไปในทิศทางที่ผิดปกติ
● ภาวะฟันผุเรื้อรังจนเชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำลายเนื้อฟันทะลุโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดหนองที่ปลายรากฟัน
● การแปรงฟันผิดวิธี การแปรงฟันที่ไม่ถูกต้องหรือใช้แปรงฟันที่มีความแข็งแรงเกินไปอาจทำให้เกิดการสะสมของแผลเนื้อเยื่อบริเวณโคนฟัน และทำให้เกิดฟันโยกได้
● การใช้ฟันผิดเป็นประจำ การใช้ฟันในท่าทางที่ผิดปกติ เช่น การนอนกัดฟัน การกระทบหรือเค้นฟันอย่างแรง การเคี้ยวอาหารที่แข็งหรือเหนียวมาก อาจทำให้เกิดแรงกระแทกที่โคนฟันและทำให้ฟันโยกได้
● การเกิดอุบัติเหตุ หรือถูกกระทบกระแทก
● ผู้ที่ใส่อุปกรณ์จัดฟัน โดยเฉพาะผู้ที่จัดฟันมาเป็นเวลานานหรือใส่อุปกรณ์จัดฟันที่ไม่พอดี ทำให้รู้สึกบีบรัดแน่นเกินไป จนปวดตึงเป็นเวลานาน
● ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคกระดูกพรุน จะส่งผลให้ความหนาของมวลกระดูกรอบฟันน้อยลง ทำให้ฟันของคุณโยกคลอนได้ง่าย
มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของปัญหา และสาเหตุของการเกิดฟันโยก รูปแบบการรักษามักใช้กันในปัจจุบันมีดังนี้
1. การขูดหินปูนและเกลารากฟัน เหมาะกับการรักษาสำหรับอาการเหงือกอักเสบจากหินปูนสะสมถ้ากระดูกรอบ ๆ รากฟันยังไม่สูญเสียไปมาก พอเหงือกแข็งแรง ฟันจะแน่นขึ้น
2. การรักษารากฟันจะช่วยให้สามารถเก็บฟันไว้ใช้งานได้ หากสภาพฟันยังแข็งแรง แต่หากฟันไม่แข็งแรงพอจะรักษารากฟันไว้ ต้องฝังรากฟันเทียม และใช้สะพานฟันวางแทนที่ฟันซี่ที่หลุดออก
3. การตัดแต่งผิวเคลือบฟัน และการใส่ฟันยาง สำหรับลดแรงกดที่เกิดจากผู้ป่วยที่ฟันโยกเพราะการกัดฟัน
4. การใส่เฝือกฟัน เพื่อยึดฟันที่โยกกับฟันซี่ข้าง ๆ ไม่ให้ฟันที่โยกหลุดออก
5. การรับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย สำหรับผู้ที่มีภาวะฟันผุ หรือเหงือกอักเสบจนติดเชื้อ
6. ปรับอุปกรณ์ในการจัดฟันให้เหมาะสม สำหรับผู้ที่จัดฟันแล้วอุปกรณ์แน่นมากเกินไปจนทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง
เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำเพื่อป้องกันการเกิดฟันโยกใหม่ รวมถึงรักษาฟันโยกที่มีอยู่ให้ไม่เสื่อมสภาพมากขึ้น การดูแลฟันโยกสามารถทำได้โดยการปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้
1. การแปรงฟันอย่างถูกต้อง แปรงฟันอย่างสม่ำเสมอในทุกวัน อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน โดยใช้แปรงฟันที่มีคุณภาพ ขนแปรงนุ่ม ถนอมเหงือก และควรแปรงให้ถึงทุกส่วนของฟันรวมถึงโคนฟันด้วย
2. ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้องกันฟันผุ สามารถใช้ร่วมกับน้ำยาบ้วนปากที่มีสารบำรุงเหงือกและฟัน รวมถึงสามารถช่วยยับยั้งแบคทีเรียได้
3. การใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ เพื่อเอาเศษอาหารที่ตกค้างตามซอกฟันออก ควรใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งหลังจากการแปรงฟัน
4. การเข้ารับการตรวจสภาพฟันเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจสอบสภาพฟันและเหงือก รวมถึงดูแลและรักษาปัญหาฟันโยกที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม
5. ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน รวมไปถึงชา กาแฟ เพราะจะยิ่งทำให้เกิดการสะสมของคราบหินปูน อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันผุได้
6. หากเริ่มมีอาการอักเสบของเหงือก ควรบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ โดยการผสมเกลือ 1 ช้อนชากับน้ำอุ่น 250 มิลลิลิตร ให้กลั้วปากประมาณ 30 วินาที แล้วจึงบ้วนทิ้ง เพื่อลดอาการอักเสบภายในช่องปาก และช่วยกำจัดคราบสิ่งสกปรก
7. ใช้สมุนไพรในการรักษาเบื้องต้นด้วยตัวเอง กรณีที่มีอาการอักเสบที่เหงือก เพื่อป้องกันการอักเสบเรื้อรัง
● นำข่าหั่นเป็นแว่น ล้างให้สะอาด จากนั้นนำมาตำให้ละเอียดกับเกลือ ใช้สีฟันและทาเหงือกทุกเช้าและก่อนนอน ทิ้งไว้ 5 นาที แล้วจึงแปรงฟันตามปกติ
● นำมะขามป้อมทุบพอแตก ต้มกับเกลือในอัตราส่วน 1:1 ต้มจนเหลือ ¼ ส่วน นำมากรองใส่ขวดไว้อมทุกเช้าก่อนแปรงฟัน ทำติดต่อกันประมาณ 3-5 วันจนอาการอักเสบลดลง
หากคุณกำลังมองหาตัวช่วยเพื่อลดอาการฟันโยกคลอนเบื้องต้น จากภาวะเหงือกร่น เหงือกไม่กระชับ หรือเริ่มมีอาการเหงือกอักเสบ หมอมีน้ำยาบ้วนปากมาแนะนำ น้ำยาบ้วนปากสะแบง Gum-D ส่วนประกอบสำคัญคือ สะแบง อบเชย กานพลู และเมนทอล มีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการเหงือกไม่แข็งแรง แก้อาการปวดฟัน แก้ฟันโยกคลอน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบในช่องปาก ลดอาการอักเสบในลำคอ มีความอ่อนโยนต่อช่องปาก ไม่แสบร้อนในปาก ที่เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย ใช้ได้ตั้งแต่เด็กอายุ 7 ขวบขึ้นไป
วิธีการใช้ Gum-D เพื่อลดอาการอักเสบของเหงือก แก้อาการฟันโยกคลอน : แนะนำให้บ้วนหลังแปรงฟัน 2 ครั้ง ทั้งเช้าและเย็น หรือ หลังจากทานอาหาร โดยกลั้วในปากประมาณ 3-4 นาทีแล้วบ้วนออก
จากประสบการณ์ผู้ใช้กว่า 90% พบว่าเห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้ อาการเหงือกบวมอักเสบลดลง รู้สึกเหงือก ฟันแน่นขึ้น ลมหายใจสดชื่น ลดกลิ่นปาก เมื่อใช้ต่อเนื่องเป็นประจำรู้สึกได้ว่าเหงือกแข็งแรง ลดการเกิดฟันโยก คลอนในอนาคตได้ค่ะ
การรักษาและดูแลฟันโยกเป็นเรื่องสำคัญในการรักษาสุขภาพช่องปาก การปรับพฤติกรรม ปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวจะช่วยให้คุณสามารถรักษาฟันโยกและป้องกันปัญหาเกี่ยวกับฟันโยกในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่าลืมที่จะปรึกษาทันตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมสำหรับตัวคุณเอง
ปุณรดายาไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและทีมแพทย์แผนไทยที่มีประสบการณ์ยินดีให้คำปรึกษาสำหรับการใช้สมุนไพร สามารถปรึกษาอาการเข้ามาทาง Line ของปุณรดายาไทยได้เลยนะคะ ทางเรามีคุณหมอคอยดูแลให้คำแนะนำทุกวัน ตั้งแต่ 09:00-21:00 เลยค่ะ
ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "