ภาวะโรคตับแข็ง เป็นหนึ่งในโรคที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นจำนวนมาก และจากสถิติสาเหตุของการเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ในรายงานประจำปี 2560 ของสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ พบว่าในประเทศไทย คนไทยที่เจ็บป่วยด้วยภาวะโรคตับแข็งในผู้ชายอยู่ในลำดับที่ 6 และ ในเพศหญิงอยู่ในลำดับที่ 12 โดยมีอันดับสูงขึ้นจากปีก่อน ๆ อีกด้วย ซึ่งสาเหตุของโรคตับแข็งส่วนมากมาจากพฤติกรรม
อีกทั้งการเป็นโรคตับแข็งยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น อาการท้องมาน ติดเชื้อในช่องท้อง ความผิดปกติทางสมอง ไตสูญเสียการทำงาน ภาวะขาดสารอาหาร เป็นต้น วันนี้หมอเลยจะขอมาอธิบายรายละเอียดของโรคตับแข็ง เพื่อให้ทุกคนทำความเข้าใจ รวมไปถึงนำคำแนะนำในการดูแลตัวเองมาปรับใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้เราและคนรอบข้างต้องเสี่ยงต่อภาวะโรคนี้ไปด้วยกันนะคะ
โรคตับแข็ง เป็นสภาวะสุดท้ายของโรคตับเรื้อรังที่มีการทำลายโครงสร้างภายในตับ จากการที่เนื้อเยื่อตับบาดเจ็บเรื้อรังและรุนแรง ทำให้เซลล์ตับไม่สามารถเพิ่มจำนวนทดแทนได้เพียงพอ จนเกิดพังผืดมาแทนที่ ทำให้ตับสูญเสียการทำงานไป ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา
• การดื่มแอลกอฮอล์ (สาเหตุหลักที่พบในประเทศไทย)
• การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และตับอักเสบซีเรื้อรัง (เป็นไวรัสชนิดที่ทำลายเซลล์ตับ)
• การอักเสบของตับจากไขมันสะสมที่แทรกในตับ พบในผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน
• การรับประทานยาเกินขนาด หรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน
• การได้รับสารพิษ
• โรคภูมิต้านตัวเองต่อตับ
• โรควิลสัน (Wilson’s disease) หรือภาวะทองแดงคั่งในร่างกาย เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดจากตับไม่สามารถกำจัดแร่ธาตุทองแดงส่วนเกินออกไปได้
• ภาวะดีซ่านเรื้อรังจากการอุดตันของทางเดินน้ำดี
• ภาวะหัวใจวายเรื้อรัง จะทำให้เลือดคั่งที่ตับ เนื้อตับเกิดภาวะขาดออกซิเจน มีผลทำให้เซลล์ตับตายได้
• พยาธิบางชนิด เช่น พยาธิใบไม้ในตับ
• และสาเหตุอื่น ๆ เช่น ภาวะพร่องโภชนาการ ท่อน้ำดีตีบตันในทารก ภาวะที่มีการสะสมไกลโคเจนในตับมากผิดปกติ เป็นต้น
ในระยะแรกของโรคตับแข็งผู้ป่วยมักจะไม่ได้สังเกตอาการ เนื่องจากมักไม่มีอาการแสดงที่เห็นได้ชัด หรืออาการน้อยมาก ไม่จำเพาะเจาะจงต่อโรค เนื่องจากตับยังสูญเสียการทำงานไปไม่มาก อาการที่อาจจะพบได้ในระยะแรกคือ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ
ในระยะต่อมาเมื่อเป็นเรื้อรัง ตับเริ่มสูญเสียการทำงานจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ชัดเจนว่าเป็นอาการจากตับมากขึ้น ดังนี้
• ภาวะดีซ่าน (jaundice) เกิดจากตับไม่สามารถขับสาร billirubin ออกได้ ทำให้คั่งในตับและถูกดูดกลับเข้ากระแสเลือด ไปสะสมที่ชั้นไขมันใต้ผิวหนังและสะสมที่ชั้นนอกของลูกตา จึงมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง
• อาการคันตามผิวหนัง เกิดจาก billirubin ที่ไปสะสมที่ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้ไปกระตุ้นประสาทที่รับความรู้สึกจนเกิดอาการคัน
• ท้องมาน (ascites) และมีอาการบวมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (edema) เกิดจากตับสร้าง albumin ลดลง ทำให้น้ำและโซเดียมรั่วออกจากหลอดเลือดไปสะสมตามช่องว่างระหว่างเซลล์ และช่องโพรงในร่างกาย โดยเฉพาะช่องท้อง
• มีรอยฟกช้ำ และจ้ำเลือดตามตัว เนื่องจากตับมีหน้าที่สำคัญในการสร้างโปรตีนที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด เมื่อสูญเสียการทำงานจะทำให้สร้างโปรตีนเหล่านี้ได้ลดลง ทำให้เลือดออกง่ายแต่หยุดยาก เกิดเป็นจ้ำเลือดตามตัว รวมไปถึงเลือดออกตามไรฟันได้
• หลอดเลือดดำรอบสะดือโป่งพอง (caput medusae) เกิดจากการเปลี่ยนโครงสร้างของตับ ทำให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านหลอดเลือด patal vein ในตับได้ จึงเกิดแรงดันย้อนกลับไปทางหลอดเลือดดำที่ผนังหน้าท้อง ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดรอบ ๆ สะดือ จึงพบเป็นลักษณะเส้นเลือดบนผิวหนังที่มีจุดแดงตรงกลางและมีขาแตกแขนงออกไปคล้ายขาแมงมุม ในทางการแพทย์จะเรียกลักษณะอาการนี้ว่า spider nevi
• ม้ามโต สาเหตุเดียวกันกับภาวะที่หลอดเลือดดำโป่งพองคือ เลือดไม่สามารถไหลผ่านหลอดเลือด patal vein ในตับได้ จึงย้อนกลับเข้าม้าม รวมไปถึงทำให้หลอดเลือดดำในทางเดินอาหารโป่งพองด้วย
• ถ่ายอุจจาระดำ อาเจียนเป็นเลือด เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากภาวะแรงดันสูงในหลอดเลือดดำของตับ มีผลให้หลอดเลือดดำที่หลอดอาการและกระเพาะขยายตัวออกจนส่งผลให้ผนังหลอดเลือดบางลง แตกง่าย จนเลือดออกในทางเดินอาหาร ผู้ป่วยอาจจะมีอาการ อ่อนเพลียอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็ว เหงื่ออก หน้ามืด มือเท้าเย็น และความดันโลหิตต่ำร่วมด้วย
• รอยแดงบริเวณฝ่ามือ (palmer erythema) ผลจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน เนื่องจากตับไม่สามารถเผาผลาญฮอร์โมนประเภทนี้ได้ นอกจากนี้ในผู้ป่วยชายอาจจะมีเต้านมโต อวัยวะเพศขนาดเล็กลง ความรู้สึกทางเพศลดลง ผู้ป่วยหญิงมีความผิดปกติของประจำเดือนได้เช่นกัน
• ติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากเม็ดเลือดขาวที่อยู่ในตับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• อาการทางสมองเช่น หลงลืม สับสน ประสาทหลอน บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป มีอาการกระตุกของข้อมือ เกิดจากการที่มีของเสียคั่งค้าง เนื่องจากตับทำลายไม่ได้ โดยเฉพาะแอมโมเนีย ทำให้เกิดการคั่งในเลือด ไหลผ่านเข้าสมองในสุด
• ปัสสาวะลดลงจากการที่ไตสูญเสียหน้าที่ เนื่องจากเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงไตลดลง
ในทางการวินิจฉัยของแพทย์แผนปัจจุบัน จะแบ่งเป็น 3 ระดับ ขึ้นอยู่กับความรุนแรง ได้แก่ระดับ A , B และ C (รุนแรงน้อยสุด ไปจนถึงรุนแรงมากสุดตามลำดับ) โดยดูจากผลการตรวจเลือด วัดค่า billirubin , การแข็งตัวของเลือด พิจารณาร่วมกับอาการบวมและอาการซึม สับสนของผู้ป่วย
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอลล์เป็นประจำ
- ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวมีประวัติตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับ
- ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยและไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสม
- ผู้ที่ใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น เช่น ผู้ที่ใช้สารเสพติด หรือการสัก เจาะ โดยอุปกรณ์ที่ไม่สะอาด
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ไขมันพอกตับ ภาวะอ้วน
- ผู้ที่ใช้ยา อาหารเสริม สมุนไพรที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่มีข้อบ่งชี้การใช้ที่เหมาะสม
ในการรักษาจะมีจุดมุ่งหมายในการชะลอการลุกลามของโรคตับแข็งและลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น โดยเริ่มจาก
1. หาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตับแข็งว่าเกิดจากอะไรและรักษาอย่างเหมาะสม เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จะต้องให้ยาต้านไวรัส หรือหากเกิดจากการติดแอลกอฮอล์ ต้องรักษาควบคุมคู่กับการงดแอลกอฮอล์ แนะนำให้ผู้ป่วยเข้าร่วมการรักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง หากเกิดจากไขมันคั่งในตับที่ไม่ได้มาจากแอลกอฮอล์ ต้องให้คนไข้คุมน้ำหนัก รักษาระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดให้เป็นปกติ เป็นต้น
2. รักษาภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง เช่น
A ภาวะบวมน้ำจากของเหลวส่วนเกินในร่างกาย ต้องควบคุมระดับโซเดียมในอาการ และใช้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดการสะสมของของเหลว ลดอาการบวม ในรายที่รุนแรงอาจจะต้องเจาะระบายของเหลวในช่องท้อง
B ความดันโลหิตในหลอดเลือด patal สูง ต้องใช้ยาควบคุมความดันในหลอดเลือด เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเลือดออกในช่องท้อง หากพบเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหารต้องใช้ยางรัดเพื่อหยุดเลือด และป้องกันไม่ให้เลือดออกในอนาคต
C หากมีการติดเชื้อ ผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะ รวมไปถึงได้รับวัคซีนเพื่อลดโอกาสการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ไวรัสตับอักเสบ และปอดบวม
D ผู้ป่วยควรรับการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ และอัลตร้าซาวน์ทุก ๆ 6 เดือนเพื่อค้นหามะเร็งตับตั้งแต่เริ่มต้น
Eเมื่อมีอาการทางสมองจะได้รับยาบรรเทาการสะสมของสารพิษในเลือด
3. หากมีอาการรุนแรงมากจนตับไม่สามารถทำงานได้ จะมีการพิจารณาการปลูกถ่ายตับ วิธีการนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูง และมีผู้บริจาคจำนวนน้อย ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายตับจะต้องรับประทานยากดภูมิไปตลอดชีวิต
ในคัมภีร์การรักษาของแพทย์แผนไทยแต่โบราณมีการกล่าวถึงโรคที่เกี่ยวกับตับอยู่ในหลายคัมภีร์ หมอจะขอยกเอาข้อมูลในคัมภีร์มาเปรียบเทียบให้เห็นภาพเกี่ยวกับมุมมองของหมอแผนไทยโบราณดังต่อไปนี้
คัมภีร์โรคนิทาน กล่าวถึง โรคที่เกิดจากธาตุทั้ง 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ) ในร่างกาย อธิบายอาการเกี่ยวกับโรคตับไว้ว่า ยกนังพิการ (ยกนัง หมายถึง ตับ) หากเจ็บป่วยจะมีอาการตับพิการให้ตับโต ตับทรุด เป็นฝีในตับ แลตับพิการต่าง ๆ
คัมภีร์ธาตุวิภังค์ กล่าวถึง ธาตุพิการตามฤดูและลักษณะของธาตุทั้ง 4 ที่พิการ อธิบายอาการเกี่ยวกับโรคตับไว้ว่า ยกนังพิการ ตับพิการ ให้ตับโต ตับทรุด มักเป็นฝีในตับ กาฬขึ้นในตับ
คัมภีร์อุทรโรค กล่าวถึง โรคในช่องท้อง กล่าวถึง โรคมาน 18 ประการ ที่เกิดจากธาตุวิปริต ทำให้ท้องพองใหญ่ เรียกว่า มาน
• มานน้ำ บังเกิดด้วยน้ำเหลืองซึมซาบไปในก้อนเนื้อและขุมขน มีอาการกระทำให้บวมทั้งตัวแต่เป็นบั้นเป็นท้อน ครั้นถ่ายยาทายาลงไปก็ยุบ แล้วกลับเป็นอีกมากกว่าเดิม เป็นอย่างนี้หลายครั้งหลายหน ครั้งนานเข้าจะนั้งมิได้ นอนราบลงไม่ได้ ได้แต่นอนคดงอจึงค่อยสบาย แล้วบวมขึ้นไปทั้งตัว ดังเนื้อจะปริแตกออกจากกัน ผิวหนังใสซีด ไม่มีโลหิต จะเคลื่อนไวร่างกายส่วนใดก็มิได้ นอนซมอยู่ดังศพขึ้นพองสมมติว่า “มานทะลุน”
คัมภีร์กษัย กล่าวถึง โรคความเสื่อมของร่างกาย
• กษัยลิ้นกระบือ เกิดจากโลหิตลิ่มติดอยู่ชายตับเป็นตัวแข็ง ยาวออกมาจากชายโครงข้างขวา มีสัณฐานดังลิ้นกระบือ ทำให้ครั่นตัว ให้ร้อน ให้จับเป็นเวลา ให้จุกให้แน่นอก บริโภคอาหารมิได้ ให้นอนมิหลับอยู่เป็นนิจ ให้กายนั้นชูบผอมแห้งไป ครั้นแก่เข้าตัวกษัยแตกออกเป็นโลหิตแลน้ำเหลือง ให้ซึมไปในไส้ใหญ่ใส้น้อย ทำให้ไส้พองท้องใหญ่
• กษัยเต่า เกิดจากดานเสมหะ ตั้งอยู่ที่ชายโครงขวาเท่าฟองไข่ แล้วลามขึ้นมาจุกอยู่ยอดอก กระทำให้จับทุกเวลาน้ำขึ้น ให้กายชูบผอม ผิวเนื้อเหลืองดังขมิ้น ครั้นนานเข้าให้โลหิตตกทวารหนัก ทวารเบา โทษทั้งนี้คือ ตัวกษัยแตกออก เป็นอสาทิยโรค
คัมภีร์อติสาร กล่าวถึงโรคในระบบทางเดินอาหารและลุกลามไปอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ ปอด หัวใจ จนมีผลต่อระบบประสาท เป็นลักษณะเรื้อรัง
• กาฬพิพิธ เกิดขึ้นที่ขั้วตับ ทำให้ตับหย่อน ถ่ายเป็นเลือด อาเจียน แน่นหน้าอก กายก็ผุดเป็นแว่นวง เขียวแดงไปทั่วกาย
• กาฬพิพัธ เกิดขึ้นในขั้วหัวใจและขั้วตับ ถ่ายเป็นน้ำล้างเนื้อ หอบมาก เผลอสติ
• กาฬมูตร เกิดขึ้นในตับ ถ่ายเป็นโลหิตเน่า เป็นลิ่ม เป็นก้อนดำเหมือนถ่านไฟที่ดับแล้วลงปอด ให้หายใจหอบ กระหายน้ำ เกิดในม้าม ให้เชื่องซึม หลับตา มือเท้าเย็น ลมในกายพัด เสมหะมาจุกคอ ลมหายใจขาดค้างอยู่เพียงลำคอ
คัมภีร์ทิพย์มาลา กล่าวถึงลักษณะของวัณโรค ฝีภายใน (มะเร็ง) อธิบายอาการเกี่ยวกับโรคตับไว้ว่า
• ฝีรวงผึ้ง ทำให้แน่นชายตับเบื้องขวา ให้ยอกตลอดสันหลัง ให้ตัวเหลือง หน้าเหลือง ตาเหลืองดังขมิ้น ปัสสาวะเหลืองดุจน้ำกรัก ให้จับสะบัดร้อนสะบัดหนาว ให้มึนตึง ให้เมื่อยทุกข้อทุกกระดูก ให้อิ่มด้วยลม บริโภคอาหารมิได้
คัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์ กล่าวถึงโรคลำบองราหูในเด็ก โรคสันนิบาตต่าง ๆ และกาฬโรค อธิบายอาการเกี่ยวกับโรคตับไว้ว่า สันนิบาตกะตัดศีรษะด้วน เกิดที่ชายตับ ทำให้ตับโตออกมาจนคับชายโครง บางทีตับหย่อนลงมาถึงตะคาก (กระดูกเชิงกรานใต้บั้นเอว) ให้จับเป็นเวลาตังเป็นไข้ เย็นทั่วทั้งตัว ท้องขึ้น ท้องพอง ผะอืด ผะอม
โดยโรคตามคัมภีร์แพทย์แผนไทยที่ใกล้เคียงเมื่อเทียบกับโรคตับทางแผนปัจจุบันตามที่ยกมาข้างต้นจะมีดังนี้
• โรคตับอักเสบ : ยกนังพิการ สันนิบาตกะตัดศีรษะด้วน กษัยเต่า
• โรคตับแข็ง : มานน้ำ มานทะลุน กษัยเต่า กาฬพิพิธ กาฬมูตร ฝีรวงผึ้ง
• มะเร็งตับ : กษัยลิ้นกระบือ กาฬพิพิธ กาฬพิพัธ กาฬมูตร
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตับในทางมุมมองของแพทย์แผนไทยมักเป็นผลมาจากพฤติกรรมที่ไปส่งเสริมทำให้ตับทำงานหนัก ไม่ว่าจะเป็นการดื่มแอลกอฮอล์ การทำงานหนัก พักผ่อนน้อย การทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพเช่นอาหารที่รสหวาน เค็ม มัน ทานของดิบคาวมากจนเกินไป ทำให้ตับทำงานหนัก เกิดความร้อนสะสมภายในตับ ที่ใดมีไฟ (ความร้อน) มากที่นั่นย่อมจะมีลมมากตามมา เมื่อตับร้อน ส่งผลให้ลมมาสุมบริเวณตับ ทำให้มีอาการแน่นท้อง แน่นชายโครง จุกเสียดได้ เลือด น้ำดี ที่อยู่บริเวณตับจะเคลื่อนได้ไม่ดี เพราะลมที่อัดแน่น ไฟที่สุมจนมากเกินไป ทำให้ตับบวมขึ้น หลอดเลือดภายในโป่งพองมากเกินไปจนแตกออก ทำให้มีอาการเลือดออกทางเดินอาหาร อุจจาระ รวมถึงอาเจียนเป็นเลือด น้ำดีที่คั่งค้างจากการไหลเวียนที่ไม่ดี จะไปสะสมตามส่วนต่าง ๆ ทำให้มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง และเมื่อธาตุทั้ง 3 เสียสมดุลแบบเรื้อรัง ก็จะไปส่งผลต่อธาตุดิน นั่นคือตัวของตับเอง ที่จะค่อย ๆ สูญเสียสภาพ เปลี่ยนแปลงรูปร่างจนทำให้กลายเป็นตับที่ผิดปกติไป ยากที่จะฟื้นตัวกลับมา อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ตับแข็ง ลุกลามรุนแรงไปจนถึงโรคมะเร็งตับได้
การรักษาในทางการแพทย์แผนไทย จะใช้ตำรับยาไทยในการรักษา บางท่านเมื่อพูดถึงสมุนไพรกับโรคตับอาจจะทำให้รู้สึกว่า หากเป็นโรคตับแล้วก็ไม่ควรทานยาสมุนไพรสิ แต่ความเป็นจริง ยาสมุนไพรที่ได้รับการตั้งตำรับ พินิจพิเคราะห์จากแพทย์แผนไทย ก็ไม่ต่างจากการทานยารักษาทางแผนปัจจุบัน เพียงแต่ยาสมุนไพรก็ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์แผนไทยในการประเมิน ไม่ใช่ไปเลือกทานยาต้ม ยาสมุนไพรจากร้านทั่วไป ที่ไม่มีแพทย์คอยดูแล เพราะโรคตับเป็นโรคที่ต้องการการดูแลรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช่โรคทั่วไปที่หาซื้อยารับประทานยาสมุนไพรสามัญหรือแม้แต่ยาแผนปัจจุบันรับประทานเองได้
แนวทางในการรักษาโรคตับมีด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการ สำหรับโรคตับแข็งจะเริ่มต้นด้วยการล้างสารพิษในตับ ต่อมาคือการ รุ ถ่าย ระบายของเสียออก จากนั้นทำการรักษา ฆ่าเชื้อภายในตับ และบำรุงตับตามลำดับ ตำรับยาตามคัมภีร์มีด้วยกันหลายขนาน เช่น
• ตำรับเนาวหอย เป็นตำรับจากคัมภีร์กษัย ใช้ในการรักษากษัยหลายประเภท รวมไปถึงกษัยลิ้นกระบือ เป็นตำรับในการล้างสารพิษ ให้ใช้ผสมน้ำด่างให้กิน ด่างสำโรง ด่างงวงตาล ด่างไม้ขี้หนอน ด่างไม้ขี้เหล็กทั้ง 5 ด่างหญ้าพันงูแดง ด่างไม้ตาตุ่ม ด่างทั้ง 6 ประการนี้ เป็นกระสายยาเนาวหอยกิน 7 วัน แล้ว จึงแต่งยารุให้กินต่อไป
• ยารุกษัยลิ้นกระบือ เอาตรีกฏุก เทียนดำ มหาหิงคุ์ ว่านน้ำ กานพลู การบูร สิ่งละส่วน ผลสลอดประสะแล้ว 9 ส่วน ทำเป็นจุณเอาน้ำตาลหม้อ น้ำมะขามเปียก เป็นกระสายบดทำแท่งไว้ ถ้าธาตุหนักกิน 2 ไพ ธาตุเบากิน 1 ไพ ลงสิ้นเชิง แล้วจึงกินยาเนาวหอย 5 วัน รุทีหนึ่ง กินยาเนาวหอยไปอีก 7 วัน รุทีหนึ่ง กินให้ได้ 3 ครั้ง
• ตำรับยาเบญจอำมฤตย์ ตำรับยาที่มาจากคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เป็นยารุ มีส่วนประกอบของสมุนไพร 9 ชนิด ได้แก่มหาหิงคุ์ รงทอง ยาดำ มะกรูด ดีปลี พริกไทย ขิง รากทนดี และดีเกลือ ข้อบ่งใช้ตามคัมภีร์ระบุว่าฟอกอุจจาระให้สิ้นโทษ สรรพคุณยาที่ว่าชำระเสียให้สิ้นนั้นเป็นการเอา พิษออกจากตับ ตอนนี้ตำรับเบญจอำมฤตย์ทางกรมการแพทย์แผนไทยได้นำมาใช้ในการรักษามะเร็งตับ และวิจัยผลการรักษาตามมาตรฐานสากล
• ยาแก้กษัยลิ้นกระบือ เป็นตำรับยารักษา ประกอบด้วย พญามือเหล็ก แก่นขี้เหล็ก ยาข้าวเย็นสิ่งละ 10 ตำลึง สารส้ม ดินประสิวขาวสิ่งละ 1 ตำลึง รงทอง 1 ตำลึง ต้มตามวิธีให้กิน 6 วัน 7 วัน แล้วรุวันหนึ่ง แล้วจึงแต่งยาดองให้กิน
นอกจากการรักษาด้วยยาสมุนไพรแล้ว การดูแลสุขภาพตามคำแนะนำก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากแนวทางการรักษาโรคต่าง ๆ ให้หายสนิท ไม่เพียงแต่พึ่งพาการใช้ยา แต่ต้องดูแลแบบองค์รวมคือการปรับพฤติกรรมตามคำแนะนำร่วมด้วย แนวทางการรักษาแบบนี้สำหรับแพทย์แผนปัจจุบันก็เห็นความสำคัญในการดูแลบำรุงตับไปในทางเดียวกันว่าอาหาร พฤติกรรมก็มีส่วนสำคัญในการรักษา
1. งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด เพื่อลดความเสี่ยงที่เลือดจะออกจากหลอดเลือดดำและลดการสะสมของไขมันในตับ
2. ลดการรับประทานอาหารรสหวาน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง อาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะเนื้อสัตว์แปรรูป เนื้อสัตว์ติดมัน กะทิ เนย เพื่อลดการสะสมของไขมันในตับและหลอดเลือด
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารไม่สุก อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ โดยเฉพาะอาหารทะเลดิบ เพราะมีโอกาสที่จะติดเชื้อรุนแรงได้
4. หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีโซเดียมสูง จำกัดปริมาณเกลือหรือโซเดียมที่ได้รับไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน (หรือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน) เพื่อลดภาวะที่ร่างกายดูดกลับสารน้ำ ส่งผลต่ออาการบวมในช่องท้องและขา
5. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารอะฟลาทอกซินปนเปื้อนสูง เช่น ถั่วลิสงตากแห้ง พริกป่น ปลาเค็ม เนื่องจากทำให้เกิดการอักเสบของตับเรื้อรัง อาหารสำเร็จรูปส่วนใหญ่มักมีสารกันบูดหรือสารกันเสีย ซึ่ง อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ
6. รับประทานอาหารประเภท branch chain amino acid (BCAA) ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็น 3 ชนิดที่ร่างกายผลิตเองไม่ได้ ได้แก่ ลิวซีน ไอโซลิวซีน และวาลีน พบได้ใน โปรตีนไข่ขาว โปรตีนจากถั่วเหลือง และเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน รวมไปถึงควรทานอาหารที่มีกากใยสูง ธัญพืช ผลไม้ ผัก และอาหารที่มีสังกะสีสูง จะไปช่วยในกระบวนการกำจัดยูเรีย เช่น งา จมูกข้าว มันฝรั่ง มะเขือเทศ ข้าวกล้อง ข้าวสาลี เมล็ดฟักทอง อาหารเหล่านี้จะช่วยลดภาวะข้างเคียงทางสมองได้
7. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับในเวลากลางคืนช่วยฟื้นฟูตับได้เพราะขณะที่หลับสนิทเลือดจะไหลเวียนได้ดีสารอาหารในเลือดจะไปซ่อมแซม และบำรุงตับให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. ผู้ป่วยที่มีภาวะท้องมาน และมีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ควรจำกัดน้ำดื่ม เพื่อลดปริมาณสารน้ำเข้าสู่ร่างกาย
9. ดูแลการขับถ่ายให้ถ่ายได้ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อลดการสะสมสารพิษในร่างกาย ที่จะนำไปสู่อาการผิดปกติทางสมองที่จะเกิดจากการสร้างแอมโมเนียในระบบทางเดินอาหาร และควรรับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว (เลือกแบบที่ไขมันน้อย) ที่มีส่วนผสมของ probiotics เพื่อกระตุ้นการถ่ายให้อุจจาระเพิ่มมากขึ้น
10. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อลดการสะสมของไขมันที่ตับ ผู้ป่วยโรคตับสามารถออกกำลังกายได้แต่ควรเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ทำให้เกิดการเกร็งช่องท้อง การออกกำลังกายที่แนะนำคือ การเดินเร็ว ปั่นจักรยาน เป็นต้น
11. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วยโรคติดเชื้อ เนื่องจากผู้ที่มีภาวะตับแข็งจะมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
12. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่ไม่จำเป็น ทั้งยาแผนปัจจุบัน และยาสมุนไพร หากทานต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์และแพทย์แผนไทย/แพทย์แผนไทยประยุกต์
13. เข้ารับการรักษาตามนัดอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติไปจากเดิม เช่น ตาเหลืองมากขึ้น ซึม สับสน อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระดำเหลว มีไข้ เหนื่อยกว่าปกติ ควรรีบไปพบแพทย์
สำหรับคนที่ตับยังแข็งแรง ควรบำรุงตับด้วยตำรับอาหารเสริมสมุนไพร S-gar+ และผู้ที่มีความเสี่ยงแนะนำให้ล้างสารพิษในตับด้วย Clean & Clear ทุก ๆ 6 เดือน
ปุณรดายาไทยให้ความสำคัญมากในการบำรุงตับ และป้องกันไม่ให้ตับทำงานหนักจนนำไปสู่โรคตับในอนาคต โดยเฉพาะผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง หากมีพฤติกรรมเสี่ยงจะยิ่งไปกระตุ้นให้ตับทำงานหนักจนเกิดเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับได้ในอนาคต
แนวทางในการป้องกัน และบำรุง จะแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1. ระยะของการล้างสารพิษ เหมาะกับผู้ที่ต้องเจอฝุ่น ควัน สารเคมี , ผู้ที่รับประทานยาหรืออาหารเสริมเป็นประจำ , ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ , ผู้ที่สูบบุหรี่ , ผู้ที่รู้สึกอ่อนเพลีย ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของตับที่กำลังทำงานหนักอยู่ , ผู้ที่มีภาวะโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง*
ตำรับยาในการล้างสารพิษตับ จะประกอบด้วยตัวยา 2 ตำรับ คือ
• Clean เป็นตำรับยาผสมสมุนไพรรางจืด มีส่วนสำคัญในการล้างโลหะหนัก ล้างสารพิษในเลือด กำจัดสารเคมีตกค้างจากยา ฝุ่น ควัน สารเคมีที่ต้องพบเจอตามแหล่งต่างๆ
• Clear หรือ ตำรับธรณีสัณฑฆาต เป็นตำรับที่ช่วยแก้กษัย ขับของเสียที่ตกค้างในร่างกาย มีฤทธิ์ในการระบายของเสีย ขับเมือกมันในลำไส้
เมื่อรับประทานควบคู่กันจะช่วยให้ของเสีย สารพิษถูกขับออกได้ดีมากขึ้นกว่าการใช้ตัวใดตัวหนึ่ง แนะนำให้ทานต่อเนื่อง 7-14 วันเพื่อเตรียมพร้อมก่อนรับการบำรุงในขั้นต่อไป
*สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์แผนไทยก่อนรับประทานยา
2. บำรุงตับด้วยตำรับ S-Gar+ อาหารเสริมจากสมุนไพร
S-Gar+ ถูกพัฒนาตำรับมาเพื่อการบำรุงตับโดยเฉพาะ มีส่วนประกอบที่เสริมสร้างการบำรุงตับ ได้แก่
• เจียวกู่หลาน หรือ ปัญจขันธ์ เป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ที่ตับโดยตรงและส่งผลไปยังระบบไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย ลดคอเรลเตอรอล กำจัดไขมันและน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาเส้นเลือดอักเสบที่เกิดจากไขมันและน้ำตาลอันเป็นสาเหตุของความเหนื่อยล้า อาการไมเกรน
• เห็ดหลินจือ อีกหนึ่งสุดยอดสมุนไพรรักษาตับ รักษาเซลล์ตับที่เสื่อม เมื่อตับทำงานได้ดี สารพิษตกค้างในร่างกายก็ลดลง
• อาร์ทิโชก สารสกัด Artichoke สมุนไพรลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดัน ลดน้ำตาล เพิ่มปริมาณน้ำดีในตับ ซึ่งทำให้ลำไส้ย่อยไขมันได้ดี ไขมันไม่ตกค้างในร่างกาย
• แดนดิไลอ้อน ดอกและรากของ Dandilion เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยจับสิ่งแปลกปลอมในเส้นเลือด เช่น น้ำตาลและไขมัน ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ และยังเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอีกด้วย
สรรพคุณโดยรวมของ S-Gar+ จะช่วยลดการสะสมของไขมันในตับ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ไขมัน คอเลสเตอรอลในร่างกาย เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ตำรับนี้สามารถรับประทานต่อเนื่องได้ตั้งแต่ 3-6 เดือน เพื่อฟื้นฟูการทำงานของตับให้ทำงานได้ดีขึ้น
1. ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ถ้างดได้จะช่วยทำให้ตับฟื้นฟูตัวเองได้ดีมากขึ้น
2. มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี
3. ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
4. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดภาวะไขมันสะสมในร่างกาย
5. ลดการรับประทานอาหารรสหวาน และมีไขมันสูง เพราะจะทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงในการเป็นไขมันพอกตับได้
6. หากมีโรคประจำตัว ควรควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ
เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับข้อมูลอาการโรคตับแข็ง รวมไปถึงแนวทางการรักษาของโรคนี้ หมออยากบอกว่าโรคตับหากทราบเร็ว และรักษาได้เร็ว จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดตามมาได้ค่ะ ทั้งนี้ถ้าเราเริ่มมีอาการ สิ่งสำคัญเลยคือการดูแลตัวเอง ไม่ควรประมาท การทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ เดิม ๆ ที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะการดื่มแอลกอฮอล์ และการเลือกทานอาหารที่เสี่ยงต่อการสะสมไขมันในตับ จะยิ่งส่งผลให้อาการทรุดหนักมากขึ้น ไม่ว่าจะรักษาด้วยแพทย์แผนไหนก็จะไม่ได้ผล หมออยากเชิญชวนให้ผู้ป่วยโรคตับแข็งทุกคน รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยง หันกลับมาดูแลตัวเองก่อนอาการจะทรุดหนัก เพื่อส่งเสริมให้การรักษาโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาระให้กับร่างกาย รวมไปถึงการดูแลตัวเองก็จะช่วยให้สุขภาพจิตของผู้ป่วย รวมไปถึงคนรอบข้างดีขึ้นได้ หากใครที่ประสบปัญหา มีความกังวลเกี่ยวกับโรคตับ สามารถปรึกษากับแพทย์แผนไทยของปุณรดายาไทยได้ที่เบอร์ 02-1147027 หรือ ทาง line official id : @poonrada (มี @ นำหน้า) สามารถติดต่อได้ทุกวันไม่มีวันหยุด
สุขภาพดีสร้างได้ถ้าเราเข้าใจ หมอเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยทุกท่านนะคะ ขอบคุณค่ะ
ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "