ตับ เปรียบเสมือนโรงงานขนาดใหญ่ในร่างกาย ทำหน้าที่เป็นแหล่งสะสมพลังงาน ช่วยกำจัดสารพิษ รวมถึงสร้างสารที่จำเป็นให้กับร่างกายหลายอย่าง เช่น ฮอร์โมน โปรตีน น้ำดี น้ำย่อย เป็นต้น หากตับมีความผิดปกติเกิดขึ้น เนื้อเยื่อตับถูกทำลาย เกิดการอักเสบจนกลายเป็นตับแข็ง จะทำให้ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเรามีความเสี่ยงเป็นตับแข็งหรือไม่? วันนี้หมอจะพาท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับอาการตับแข็ง ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร มีกี่ระยะ เมื่อเป็นแล้วต้องดูแลตนเองอย่างไร รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลสุขภาพตับให้แข็งแรงค่ะ มาเริ่มที่สาเหตุที่ทำให้เป็นตับแข็งกันก่อนเลยนะคะ
• การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากติดต่อกันนานหลายปี โดยดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 160 กรัมต่อวัน เทียบเท่ากับ สุราวิสกี้ 480 ซีซีต่อวัน, ไวน์ 1,800 ซีซีต่อวัน, เบียร์ 4 ลิตร ต่อวัน เป็นเวลา 8-10 ปี (ปริมาณของแอลกอฮอล์และระยะเวลาในการดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำให้เกิดโรคตับแข็ง แปรผันตามบุคคลและเพศ บางคนอาจมากกว่าหรือน้อยกว่าข้อมูลข้างต้นได้ค่ะ)
• โรคเรื้อรังจากการติดเชื้อของตับ โดยเฉพาะไวรัสตับอักเสบ บี และโรคไวรัสตับอักเสบ ซี (Hepatitis B และ C)
• ภาวะไขมันพอกตับ จากโรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน
• สาเหตุอื่นๆ เช่น
- โรควิลสัน (Wilson’s Disease) มีความผิดปกติของตับโดยสะสมทองแดงมากเกินไป และภาวะเหล็กเกิน (Hemochromatosis)
- โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกที่ไม่สามารถสะสมไกลโคลเจนไว้เป็นพลังงานในร่างกายได้ (Glycogen Storage Diseases) ถุงลมโป่งพองจากการขาดอัลฟ่า-1 (Alpha-1 Antitrypsin Deficiency)
- การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวติดต่อกันหลายครั้ง จนทำให้น้ำไหลเข้าตับ
- ภาวะท่อน้ำดีอุดตัน จากโรคบิลิอารีอะทรีเซีย (Biliary Atresia) ในทารกแรกเกิดที่ไม่มีท่อน้ำดีมาแต่กำเนิด และโรคตับแข็งที่ไม่ทราบสาเหตุ (Primary Biliary Cirrhosis : PBC) ในผู้ใหญ่
- การรับประทานยาหรือสมุนไพรบางชนิดเป็นเวลานาน โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- การได้รับสารพิษบางอย่าง หรือ การติดเชื้อปรสิต
หากมีโรคหรือพฤติกรรมเหล่านี้ ถือว่ามีความเสี่ยงในการเป็นตับแข็ง หมอแนะนำให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง รักษาโรคที่กระตุ้นอาการให้ไม่อยู่ในภาวะเสี่ยง รวมถึงดูแลรักษาสุขภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อลดโอกาสในการเป็นโรคตับนะคะ
สำหรับผู้ที่เป็นตับแข็งแล้ว ยิ่งต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษเพื่อชะลออาการ ไม่ให้ตับแข็งเป็นมากขึ้น ซึ่งอาการตับแข็งมีหลายระยะด้วยกัน แต่ละระยะจะมีลักษณะอาการมากน้อยต่างกันดังนี้ค่ะ
ตับแข็งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ตามความรุนแรงของอาการจากน้อยไปมาก ได่แก่ ระยะที่ 1 (หรือ ระยะ A), ระยะที่ 2 (หรือ ระยะ B) และ ระยะที่ 3 (หรือ ระยะ C) ค่ะ
ระยะที่ 1 (หรือ ระยะ A) : ในระยะนี้เนื้อเยื่อตับเกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อย ในบางรายอาจไม่มีอาการ หรือ มีอาการค่อนข้างน้อย เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หรือคลื่นไส้ เป็นต้น
ระยะที่ 2 (หรือ ระยะ B) : ในระยะนี้เนื้อเยื่อตับเกิดความเสียหายปานกลาง ผู้ป่วยมักมีอาการท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกไม่สบายตัว อ่อนเพลีย มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง มีภาวะท้องมาน
ระยะที่ 3 (หรือ ระยะ C) : ในระยะนี้เนื้อเยื่อตับเกิดความเสียหายค่อนข้างมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องผูก มีผื่นที่ผิวหนัง ตัวเหลือง ตาเหลือง เลือดออกง่าย มีภาวะท้องมานมากขึ้น และมีอาการทางสมอง เช่น เซื่องซึม ความคิดช้าลง สับสน เป็นต้น
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการตับแข็งระยะเริ่มต้น หรือ ผู้ที่ต้องการต้องการป้องกันตับแข็ง นอกจากหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง และดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องแล้ว สามารถใช้ 4 สุดยอดสมุนไพรบำรุงตับเป็นตัวช่วยได้เลยนะคะ
• ปัญจขันธ์ หรือ เจียวกู่หลาน (Jiaogulan)
เป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ที่ตับโดยตรงและส่งผลไปยังระบบไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย ลดคลอเรลเตอรอล กำจัดไขมันและน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาเส้นเลือดอักเสบที่เกิดจากไขมันและน้ำตาล อันเป็นสาเหตุของความเหนื่อยล้า ชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน
• เห็ดหลินจือ (Lingzhi)
ช่วยต้านการอักเสบ ลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด เสริมภูมิคุ้มกัน รักษาเซลล์ตับที่เสื่อม เมื่อตับทำงานได้ดี สารพิษตกค้างในร่างกายก็จะลดลง
• อาร์ทิโชก (Artichoke)
ช่วยลดอาการจุก แน่นท้อง ช่วยย่อยอาหาร เพิ่มปริมาณน้ำดีในตับ ซึ่งทำให้ลำไส้ย่อยไขมันได้ดี ลดระดับไขมัน ความดัน และน้ำตาลในเลือด
• แดนดิไลอ้อน (Dandilion)
ดอกและรากของแดนดิไลอ้อน เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยจับสิ่งแปลกปลอมในเส้นเลือด เช่น น้ำตาลและไขมัน ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ และยังเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอีกด้วย
หากใช้สมุนไพร 4 ชนิดนี้ร่วมกันในการบำรุงรักษาตับ ตัวยาจะช่วยเสริมฤทธิ์กัน ทำให้ตำรับยามีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น แต่จะดีที่สุดหากใช้ยาภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญนะคะ
ในส่วนของตับแข็งระยะสุดท้าย อาการของผู้ป่วยจะค่อนข้างรุนแรง และ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยตับแข็งในระยะสุดท้ายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเจ็บปวดและความทรมานลงได้ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดูแลได้ดังนี้ค่ะ
1. งดเครื่องดื่มทุกชนิดที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์จะยิ่งกระตุ้นการอักเสบในตับ และทำลายเซลล์ตับมากขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการแตกของเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญในผู้ป่วยโรคตับแข็ง
2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด อาหารแปรรูป ของหมักดอง เนื่องจากการรับประทานอาหารเค็มสามารถทำให้อาการบวม หรืออาการท้องมานอาการรุนแรงขึ้น
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพราะอาหารไขมันสูงจะทำให้ตับทำงานหนัก
4. หลีกเลี่ยงการรับประทานพริกป่น ถั่วป่น ข้าวโพดแห้งที่ทิ้งค้าง เพราะอาจมีเชื้อราอะฟลาท็อกซิน ซึ่งเป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้
5. รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงขึ้นใหม่ ไม่ควรรับประทานอาหารที่เก็บค้างคืน หรืออาหารที่ประกอบขึ้นสุกๆ ดิบๆ เช่น การลวก การย่าง เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
6. รับประทานสารอาหารประเภทโปรตีนไขมันต่ำ โดยเน้นรับประทานโปรตีนจากพืช เนื่องจากมีแนวโน้มก่อให้เกิดอาการทางสมองน้อยกว่าโปรตีนจากสัตว์ เช่น เต้าหู้ ถั่วเหลือง ถั่วขาว อัลมอนด์ เพื่อซ่อมแซมเซลล์ตับที่ถูกทำลาย และสามารถให้อาหารเสริม ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดกึ่ง (Branch chain amino acid : BCAA) หากผู้ป่วยสามารถรับประทานโปรตีนชนิดกึ่งได้มากเพียงพอ จะทำให้ระดับโปรตีนในเลือดดีขึ้น โดยไม่เกิดอาการทางสมอง
7. รับประทานอาหารที่เป็นผักและผลไม้ทุกมื้ออาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะท้องผูก
8. งดออกกำลังกาย รวมถึงหลีกเลี่ยงการเดินหรือนั่งนานๆ ระวังการเกิดอุบัติเหตุ เพราะผู้ป่วยตับแข็งอาจมีเกร็ดเลือดต่ำและมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เลือดออกง่าย หยุดยาก
9. พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 8 ชั่วโมง โดยเข้านอนก่อน 22.00 น. เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
10. พยายามทำจิตใจให้แจ่มใส ผ่อนคลายความเครียด เช่น ฟังเพลง ร้องเพลง ฟังธรรมะ ดูหนัง ปลูกต้นไม้ เป็นต้น
11. ระมัดระวังการรับประทานยา อาหารเสริม สมุนไพรทุกชนิด หากไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ
12. พบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษา และควรมีการเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งตับโดยการเจาะเลือดตรวจดูค่า AFP ซึ่งจำเพาะต่อมะเร็งตับร่วมกับตรวจอัลตราซาวด์ตับทุก 6 เดือน หรือตามที่แพทย์นัดหมาย
อาการตับแข็งยังไม่มียาชนิดใดที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถชะลออาการและป้องกันไม่ให้ตับแข็งเพิ่มขึ้น ป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงมากขึ้นได้ ด้วยการปรับพฤติกรรม ดูแลสุขภาพ และ ใช้สมุนไพรเพื่อบำรุงตับค่ะ หมอแนะนำให้เริ่มดูแลสุขภาพตับตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้ตับมีสุขภาพดี อยู่กับเราไปนานๆ ถ้าตับซึ่งเปรียบเสมือนโรงงานขนาดใหญ่ในร่างกายแข็งแรงดี สุขภาพอื่นๆก็จะดีตามค่ะ
ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "