นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด ทำยังไงให้หาย.. มารู้จักอาการนอนไม่หลับกันค่ะ

วิธีดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์แผนไทย

นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด ทำยังไงให้หาย.. มารู้จักอาการนอนไม่หลับกันค่ะ

ในยุคสมัยที่มีแต่ความเร่งรีบแบบนี้ หลายคนคงจะมีความกดดัน ความเครียด ความกังวลในการใช้ชีวิตกันซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ต้องคิดตลอดเวลา สมองหยุดคิดไม่ได้ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือปัจจัยนำไปสู่ภาวะนอนไม่หลับค่ะ

 

ภาวะเหล่านี้อาจจะเป็นปัญญาเล็ก ๆ ที่ผู้อ่านมองข้ามไปแต่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับอาการนอนไม่หลับและวิธีดูแลตนเองเพื่อให้อาการนอนไม่หลับเเละสมองหยุดคิดไม่ได้ดีขึ้น จนหายสนิทค่ะ

 

อาการนอนไม่หลับ (Insomnia) คือ ภาวะความผิดปกติของการนอนหลับ พูดอีกอย่างก็คือการนอนไม่หลับหรือการนอนหลับไม่เพียงพอ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับอาการนอนไม่หลับและวิธีดูแลตนเองเพื่อให้อาการนอนไม่หลับเเละสมองหยุดคิดไม่ได้ดีขึ้น จนหายสนิทค่ะ

• นอนไม่หลับแบบเฉียบพลัน (Adjustment insomnia) มักเกิดจากการปรับตัว เช่น การป่วย ความวิตกกังวล หากปรับตัวกับสิ่งเหล่านี้ได้การนอนหลับก็จะกลับมาเป็นปกติ

• นอนไม่หลับแบบเรื้อรัง (Chronic insomnia) คือ มีอาการนอนไม่หลับอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และเป็นมานานมากกว่า 3 เดือน

 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการของเราเข้าข่ายภาวะนอนไม่หลับ? 


หมออยากชวนท่านผู้อ่านมาสังเกตอาการของตัวเองกันดูค่ะ ว่าตรงกับอาการเหล่านี้ไหม หากตรงกับอาการเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่า ก็เข้าข่ายว่าเรากำลังประสบปัญหานอนไม่หลับค่ะ

1. มีอาการนอนหลับยาก (Initial insomnia) เริ่มต้นเข้านอนแล้วต้องใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับได้

2. มีอาการหลับแล้วตื่น (Maintenance insomnia) ตื่นกลางดึกบ่อย หลับได้ไม่ยาว

3. มีอาการตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่น (Terminal insomnia) ตื่นแล้วนอนหลับต่อไม่ได้

 

หากอาการของเรา ตรงกับ 1 ใน 3 ข้อนี้ หรือเป็นครบทั้ง 3 ข้อเลย แสดงว่าเข้าข่ายอาการนอนไม่หลับ ไม่ควรปล่อยผ่านเพราะการนอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันในหลาย ๆ ด้านทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเลยค่ะ

ผลกระทบจากอาการนอนไม่หลับ เช่น

1. อ่อนเพลีย   โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง ตื่นนอนแล้วจะรู้สึกไม่สดชื่น เวลาทำงานที่ต้องใช้ความคิดยิ่งจะทำให้สมองไม่แล่น ปวดศีรษะ เมื่อยล้ากว่าปกติ 

2. ปัญหาด้านอารมณ์ อาการนอนไม่หลับจะส่งผลให้รู้สึกเศร้าหรือโกรธได้ง่ายกว่าปกติ หากนอนไม่หลับเรื้อรังอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวลตามมาได้ 

3. ความเครียด ผู้ที่นอนไม่หลับมีแนวโน้มที่จะแสดงความเครียดและหมดความอดทนได้ง่ายกว่าผู้ที่มีการนอนหลับปกติ

4. ความสามารถในการคิดและจำลดลง ไม่สามารถจดจ่อกับงานได้ เเละทำให้ตัดสินใจช้าลง เนื่องจากการนอนน้อยส่งผลเสียต่อสมองส่วนต่างๆ เช่น สมองส่วนหน้าและส่วนฮิปโปแคมปัสซึ่งมีหน้าที่ตัดสินใจและจดจำระยะยาว

5. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เนื่องการจากนอนน้อยจะกระทบกับระดับฮอร์โมนที่ควบคุมความรู้สึกหิวเเละอิ่ม หากปล่อยให้ร่างกายมีภาวะการนอนไม่หลับเรื้อรังไปนานๆ จะส่งผลให้กลายเป็นโรคอ้วนและปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

6. ความรู้สึกทางเพศลดลง โดยเฉพาะในเพศชาย เนื่องจากฮอร์โมน Testosterone ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายจะถูกผลิตขณะนอนหลับ หากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้ฮอร์โมนตัวนี้น้อยลงไปด้วย

7. ภูมิคุ้มกันต่ำลง ในช่วงที่นอนหลับร่างกายจะผลิต Antibody และเซลล์อื่นๆที่ใช้ต่อสู้กับเชื้อโรคออกมา เมื่อนอนไม่หลับก็จะส่งผลให้ให้สารเหล่านี้มีจำนวนลดลง

8. เพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ เนื่องจากนอนไม่หลับจะส่งผลให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น ความดันที่เพิ่มมากขึ้นกระทบกับหลอดเลือดให้หลอดเลือดเสียหาย และกระทบกับหัวใจที่ต้องส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายตามความดันโลหิตที่สูงขึ้นทำให้หัวใจทำงานหนัก เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจวายและหัวใจล้มเหลว

9. เพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากความอ่อนล้าและการตัดสินใจที่แย่ลง

 

ผลกระทบของอาการนอนไม่หลับเป็นผลกระทบที่ร้ายแรง บางอย่างอาจส่งผลถึงชีวิตได้ซึ่งเป็นปัญหาที่เราไม่ควรมองข้ามค่ะ หมอขอชวนมาหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับของตนเองค่ะ หากรู้สาเหตุเเล้วก็จะได้แก้ไขได้อย่างตรงจุด

 

อาการนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

• ปัจจัยด้านจิตใจ ความเครียดเเละความกังวลไม่ว่าจะเป็นจากการทำงาน การเรียน สุขภาพ การเงิน ความรัก หรือจากครอบครัวที่ทำให้คิดไม่หยุด ต้องคิดตลอดเวลาโดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน พบว่าผู้ที่มีภาวะวิตกกังวลจะมีปัญหาการนอนไม่หลับมากกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะนี้ 3-4 เท่า

• ปัจจัยด้านพฤติกรรม 

- การเปลี่ยนเวลาเข้านอน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่ออาการนอนไม่หลับ เช่น Jet lag, ผู้ที่ทำงานเป็นกะ ต้องเปลี่ยนเวลาเข้างานบ่อยๆ เป็นต้น

- การทำกิจกรรมก่อนเข้านอน เช่น การออกกำลังกายหนัก, เล่นเกม, เล่นมือถือ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะกระตุ้นฮอร์โมนที่ทำให้ตื่นตัวส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ

- การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ก่อนเข้านอน จะส่งผลให้รู้สึกไม่สบายตัวเมื่อนอนหลับ เพราะอาหารเหล่านี้ย่อยช้า จะส่งผลต่ออาการแสบร้อนกลางอกทำให้ต้องตื่นกลางดึกได้

- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลายคนคิดว่าดื่มแอลกอฮอล์ช่วยให้ผ่อนคลายและนอนหลับได้ แต่จริงๆเเล้วแอลกอฮอล์ช่วยให้ง่วงเเละหลับง่ายในระยะแรกเท่านั้น เมื่อแอลกอฮอลหมดฤทธิ์ใน 2-3 ชั่วโมงต่อมาจะทำให้หลับไม่สนิท ตื่นง่าย อาจมีฝันร้านกลางคืนร่วมด้วย

- การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม และการเสพยาเสพติด 6-12 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ซึ่งมีสารกระตุ้นทำให้รู้สึกตื่นตัว ไม่ง่วงนอน

• ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การที่สภาพแวดล้อมอยู่ในสภาวะไม่เหมาะสม เช่น เสียงดังรบกวน มีแสงมาก อุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นเกินไป รวมถึงการนอนแปลกที่ ความไม่คุ้นชินจะส่งผลให้นอนหลับยาก

• ปัจจัยทางกายภาพ โรคหรือภาวะบางอย่างส่งผลต่อการนอนไม่หลับ เช่น ไข้, ซึมเศร้า, หอบหืด, อาการปวด, ไทรอยด์เป็นพิษ, หายใจไม่สะดวก, ไอเรื้อรัง, การตั้งครรภ์, อายุที่เพิ่มขึ้น, อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS), วัยหมดประจำเดือน (Menopause) เป็นต้น

 

การรักษาโรคนอนไม่หลับโดยใช้ยาแผนปัจุบัน


1. ยา Benzodiazepin เป็นยากลุ่มที่ใช้ลดความกังวลและเป็นยานอนหลับ ออกฤทธิ์เพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทชนิดยับยั้งที่ชื่อ กาบา (GABA) ในสมอง จะทำให้นอนหลับ ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ลดความกระสับกระส่าย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และความกังวล ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น Lorazepam, Triazolam, Midazolam เป็นต้น ยากลุ่มนี้ควรระมัดระวังในการใช้อย่างมาก เนื่องจากมีผลข้างเคียง เช่น หลงลืม ซึมลง ตอบสนองช้า นอกจากนี้การหยุดยาทันทีจะทำให้เกิดภาวะถอนยา

2. ยา Non- Benzodiazepine เช่น Zolpidem, Zopiclone เป็นยากลุ่มที่ออกฤทธิ์เร็ว ออกฤทธิ์กระตุ้นการขนส่งสารสื่อประสาทที่ชื่อ กาบา (GABA) ทำให้นอนหลับเเละผ่อนคลาย ควรระวังในการใช้เพราะมีผลข้างเคียง เช่น วิงเวียนศีรษะ มึนงง เป็นต้น

3. ยาต้านเศร้า (Antidepressants) เช่น Trazodone, Mirtazapine เป็นยาที่ออกฤทธิ์ปรับสมดุลของสารเคมีในสมองซึ่งเเบ่งได้เป็นหลายกลุ่มยาตามกลไก มีผลเรื่องปรับอารมณ์ ลดความวิตกกังวลและช่วยในการนอนหลับได้ดี ผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ ปากแห้ง ท้องผูก เป็นต้น

4. Melatonin เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างโดยธรรมชาติ ปัจจุบันใช้ในรูปแบบสารสังเคราะห์ในการรักษาอาการนอนไม่หลับ

 

แพทย์แผนไทยรักษาอาการนอนไม่หลับอย่างไร


การนอนหลับที่เป็นปกติ คือ การมีธาตุทั้ง 4 ในสภาวะที่เหมาะสม กล่าวคือ ธาตุไฟอุ่นพอดี ธาตุน้ำไหลนิ่ง ธาตุลมเคลื่อนไหวเฉื่อยไม่เเรงเกินไป และธาตุดินที่แข็งอ่อนพอดี หากปัจจัยต่างๆไม่เป็นตามนี้จะส่งผลให้ภาวะของธาตุไม่สมดุล เช่น ความเครียด การคิดไม่หยุดจะกระทบธาตุไฟให้ธาตุไฟมากเกินไป ส่งผลให้ธาตุน้ำน้อย ธาตุดินแข็งแห้ง และธาตุลมพัดแรงเกินไปจะทำให้ไม่สามารถนอนหลับได้ 

 

แนวทางการรักษาตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย คือ ดูว่ามีปัจจัยอะไรที่มากระทบธาตุนั้นๆ เมื่อพบสาเหตุก็จะทำการปรับลด หรือ ปรับเพิ่มให้ธาตุทั้ง 4 กลับสู่สมดุล โดยการใช้ตำรับยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการกระจายลม ลดความร้อน ในผู้ที่มีความร้อนจากการใช้ความคิด สมองทำงานหนัก ส่งผลให้ความร้อนขึ้นมาสะสมบริเวณศีรษะมาก แพทย์แผนไทยเราก็มักจะใช้ตัวยาที่มีรสสุขุม รสขม จืด และรสเย็น เช่น ตำรับยาหอมนวโกฐ ยาหอมอินทจักร์เพื่อลดอิทธิพลของธาตุไฟ ช่วยกระจายความร้อน และนอกจากตัวยารับประทานก็ยังมีการทำหัตถการที่แนะนำ เช่น การอบสมุนไพรและกดจุดรักษา กรณีที่คนไข้มีอาการปวดตึงตามตัวร่วมด้วย โดยเฉพาะ คอ บ่า ไหล่ และหลัง หลักการของหัตถการเหล่านี้คือทำให้ธาตุดินที่แข็งตึง นุ่มลงเเละกระจายธาตุลมที่คั่งค้างค่ะ 

 

ปุณรดายาไทยมีความเชี่ยวชาญในการดูแลปรับสมดุลร่างกาย เพื่อช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับให้ดีขึ้น โดยใช้ตำรับยาไทยในการรักษา ประกอบด้วยสมุนไพร 100% ปราศจากสารเคมีอันตราย ไม่ตกค้าง

 

ชุดยาแก้อาการนอนไม่หลับ B-Sleepy Set ประกอบด้วยตัวยา 3 ตำรับได้แก่

 

 

• Health Tonic ตำรับยาปรับธาตุอันดับ 1 ที่ดีที่สุดของปุณรดายาไทย สรรพคุณ ช่วยให้นอนหลับสนิทดีขึ้น ปรับสมดุลธาตุทั้ง 4 ในร่างกาย (ดิน น้ำ ลม ไฟ) ในผู้ที่มีภาวะนอนหลับไม่สนิทหรือนอนไม่หลับเรื้อรัง ลดอาการอ่อนเพลียระหว่างวัน

• ยาหอมอินทจักร์ หรือ ยาหอมนวโกฐ* เป็นตำรับที่ช่วยปรับสมดุลธาตุลม คลายความเครียดความกังวล ลดอาการกระสับกระส่าย ลดอาการตื่นกลางดึก บำรุงระบบไหลเวียนเลือด ลดอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ (*การจ่ายตำรับยาหอมแบบไหน ขึ้นอยู่กับอาการ วัย และสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลนะคะ แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอก่อนทานได้เลยค่ะ)

• น้ำย่านางสูตร Calm rose ลดอาการอักเสบภายใน ช่วยขับสารพิษที่สะสม ช่วยควบคุมระดับความดันให้ลดลง ลดความร้อนในร่างกาย ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ

 

การรักษาของปุณรดายาไทยเป็นการรักษาแบบองค์รวม คือ การปรับสมดุลของธาตุทั้ง 4 ด้วยยาไทย ร่วมกับคำแนะนำในการแก้ไขที่สาเหตุ เช่น หากมีความเครียด สมองหยุดคิดไม่ได้ หมอก็เเนะนำให้ฝึกควบคุมลมหายใจหรือทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียด วิธีการในการดูแลตัวเองสามารถทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ได้เลยค่ะ

 

การดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากภาวะนอนไม่หลับ


1. ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด ความกังวล เช่น

• อ่านหนังสือเป็นการออกกำลังกายสมองอย่างหนึ่ง จะทำให้รู้สึกผ่อนคลายและง่วงโดยไม่ต้องพยายามเลย มีงานวิจัยที่บอกว่าการอ่านหนังสือบนเตียงก่อนนอนช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้อ่าน

• ทำงานอดิเรก เช่น วาดภาพ ปลูกต้นไม้ เดินสวนสาธารณะ ฟังเพลงหรือดนตรีที่ฟังสบาย ๆ  เนื่องจากกิจกรรมที่ชอบจะช่วยลดฮอร์โมนความเครียดที่ชื่อ คอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ตื่นตัวและนอนหลับได้ไม่ดี

• การฝึกลมหายใจเพื่อสุขภาพ ทำได้ง่ายๆด้วยการนั่งหรือนอน หายใจเข้าลึกและออกยาว โดยหายใจเข้าให้ท้องป่อง หายใจออกให้ท้องแฟบซึ่งก็คือการหายใจโดยใช้ท้อง ขณะที่หายใจให้โฟกัสที่ลมหายใจ ปล่อยความคิดที่ฟุ้งซ่าน หายใจเข้าและออกแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จะช่วยคลายความกังวล กระตุ้นการนอนหลับได้ วิธีนี้อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ หายใจลำบาก เช่น โรคปอดบวม น้ำท่วมปวด เป็นต้น

• การออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลายความเครียด

- การฝึกโยคะ เป็นการฝึกทั้งกายเเละใจโดยใช้เทคนิคการรวมกายและใจเข้าด้วยกัน วิธีฝึกจะใช้ท่าทางต่างๆ เช่น ท่าศพ ท่าจระเข้ ท่างู ท่าต้นไม้ ท่าคันไถ ทำประกอบกับการควบคุมการหายใจคือ ควบคุมการหายใจเข้า การกลั้นลมหายใจ และการหายใจออก และยังมีการควบคุมการทำงานของจิตคือการฝึกเพ่งสติ จดจ่ออยู่ที่สิ่งเดียวให้จิตสงบเเละมั่นคง จะช่วยปล่อยวางได้ดีในผู้ที่สมองไม่หยุดคิด

- การฝึกเดินลมปราณเพื่อสร้างสุขภาพ (Qigong) เป็นการฝึกกายและจิตโดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ โดยหลักการฝึกคือ การใช้ท่าทาง การหายใจเข้าออกให้ลึกและยาว และการตั้งสมาธิเป็นการมุ่งไปที่ส่วนของร่างกายขณะฝึก ผู้ฝึกจะฝึกในท่ายืนเป็นหลัก โดยท่าที่ใช้ฝึกจะมีหลายท่า เช่น หมุนศีรษะซ้ายขวา ชูเเขนย่อเข่า ยกเข่าตีศอก เป็นต้น โดยในแต่ละท่าจะมีจังหวะในการทำและมีการควบคุมลมหายใจด้วย การฝึกนี้นอกจากผ่อนคลายความเครียดแล้วยังเป็นการออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อ และการฝึกความสมดุลในการทรงตัวด้วยค่ะ

 

การออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลายความเครียดที่หมอยกมานี้หลัก ๆ จะเป็นการฝึกจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งช่วยให้ปล่อยวาง และฝึกหายใจแบบหายใจเข้าลึกๆ ออกยาวๆ ให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้นจึงทำให้รู้สึกสดชื่น คลายความเครียด การออกกำลังกายเหล่านี้เป็นรูปแบบที่ง่าย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ นอกจากนี้ผู้อ่านสามารถเลือกออกกำลังกายในรูปแบบอื่นๆ ได้เช่นกันค่ะ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ แอโรบิค เทนนิส แบดมินตัน การออกกำลังกายเหล่านี้เป็นการลดระดับฮอร์โมนความเครียดในร่างกาย เช่น คอร์ติซอล อะดรีนาลีน โดยคำแนะนำในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีเเนะนำให้ออกกำลังกาย 150-300 นาทีต่อสัปดาห์ หรือเฉลี่ยวันละ 25-45 นาทีต่อวัน

 

2. จัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอนหลับ ตัวอย่างเช่น จัดห้องให้เงียบ สงบ, ปรับอุณหภูมิในห้องให้ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป, ควรปิดไฟขณะนอนหลับเนื่องจากฮอร์โมนเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนช่วยให้นอนหลับสนิทจะผลิตได้ดีในที่มืด ,การเลือกสีผ้าม่านและเครื่องนอนเป็นสีโทนอ่อน จะช่วยส่งเสริมการนอนหลับได้มากกว่าสีฉูดฉาด

3. รักษาเวลาเข้านอนและเวลาตื่นนอนให้ใกล้เคียงกันในทุกวันและเลี่ยงการงีบระหว่างวัน เนื่องจากร่างกายเรามีวงจรการหลับ-ตื่น (Sleep - wake cycle) เป็นวงจรที่ถูกควบคุมโดยนาฬิกาชีวภาพซึ่งมีส่วนกลางที่สมอง นาฬิกานี้จะควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆของร่างกาย ทั้งสุขภาพ การเรียนรู้ของสมอง เเละสภาวะอารมณ์ ควรรักษาเวลาเข้านอนและตื่นเพื่อให้วงจรนี้ปกติ หากทำงานเป็นกะแนะนำให้นอนหลับให้ครบ 6-8 ชั่วโมงต่อวันเเละไม่ควรเปลี่ยนกะทุกสัปดาห์ เพราะปกติเมื่อปรับเวลานอนต่อเนื่อง 1 สัปดาห์ร่างกายจะชินกับเวลาเข้านอนนั้นหากต้องเปลี่ยนควรเปลี่ยนทุกๆ 2-3 สัปดาห์

4. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมต่างๆก่อนเข้านอน เช่น ดูโทรทัศน์, เล่นเกม, เล่นมือถือ เป็นต้น เพราะการกระตุ้นสมองด้วยการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้ตื่นตัว เช่น อะดรีนาลีน สมองจะหยุดคิดไม่ได้ทำให้เราไม่รู้สึกง่วง

5. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนนอน

6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ หรืออาหารย่อยยากอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เช่น ข้าวเหนียว เนื้อวัว ปิ้งย่าง หมูกระทะ หากเข้านอนทันทีจะทำให้อึดอัด นอนไม่ได้ ตื่นกลางดึก เเละอาจส่งผลให้รู้สึกแสบร้อนกลางอกตามมาได้

 

จะเห็นได้ว่าอาการนอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิดเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานในร่างกายในหลาย ๆ ด้านหากผู้อ่านกำลังประสบปัญหาเหล่านี้และทำตามคำแนะนำของหมอแล้วเป็นยังไงบ้างมาแชร์กับหมอได้นะคะ แต่ถ้าใครอยากปรึกษาอาการนอนไม่หลับเพื่อให้หายสนิท สามารถติดต่อเข้ามาได้เลยค่ะ

 

ปุณรดายาไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและทีมแพทย์แผนไทยที่มีประสบการณ์ยินดีให้คำปรึกษาสำหรับการใช้สมุนไพรรักษาอาการนอนไม่หลับ สามารถปรึกษาอาการเข้ามาทาง Line ของปุณรดายาไทยได้เลยนะคะ ทางเรามีคุณหมอคอยดูแลให้คำแนะนำทุกวัน ตั้งแต่ 09:00 - 21:00 เลยค่ะ ติดต่อทาง Line id : @poonrada หรือ โทร 02-1147027 ค่ะ

 

ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

 

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

สุรดา เลิศเกศราธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

พท.ป.เอกพล ศิริพงษ์เวคิน

แพทย์แผนไทยประยุกต์

" ใส่ใจทุกความต้องการ ดูแลเหมือนคนในครอบครัว "

นศ.พท.ป. สุพัชชา พรมน้ำ

แพทย์แผนไทย

" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "


ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ข้อความถึงร้าน


× คุณได้เพิ่มสนค้าลงตะกร้า ดูสินค้าในตะกร้า