หลาย ๆ คนคงเคยปวดฟันกันใช่ไหมคะ อาการปวดฟันเป็นอาการที่พบได้ในทุกเพศ ทุกวัยซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุเลยค่ะ อาการปวดฟันที่ปวดไม่มากสามารถแก้ปวดได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง วันนี้หมอมีวิธีแก้ปวดฟันด้วย 7 วิธีธรรมชาติมาฝากค่ะ
อาการปวดฟันหลัก ๆ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
• อาการปวดชั่วคราว มักเกิดจากการที่มีปัจจัยกระตุ้น เช่น ปวดเมื่อเคี้ยวอาหาร เมื่อรับประทานของร้อน ของเย็น อาการนี้หายได้เองเมื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ลักษณะอาการปวดจะปวดแบบจี๊ดๆ หรือมีอาการเสียวฟันร่วมด้วยซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ฟันผุ เศษอาหารติดฟัน อาการปวดชั่วคราวนี้สามารถบรรเทาด้วยตัวเองได้
• ปวดเป็นจังหวะแบบตุบ ๆ อาจมีอาการเหงือกบวมหรือหนองร่วมด้วย มีอาการปวดถึงเเม้จะไม่มีปัจจัยกระตุ้นหรือเมื่อมีปัจจุยกระตุ้นจะทำให้เป็นมากขึ้น เช่น การเคี้ยวอาหาร การรับประทานของร้อนหรือของเย็น อาการปวดนี้จะรุนแรงกว่าแบบเเรก ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่นกันค่ะ
สาเหตุของอาการปวดฟันเกิดจากความผิดปกติของส่วนต่างๆ ที่เกิดบริเวณฟันเเละเหงือก ฟันเเบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ตัวฟัน (Crown) เเละรากฟัน (Root) ตัวฟันจะประกอบไปด้วยเคลือบฟัน (Enamel) เนื้อฟัน (Dentine) เเละโพรงประสาทฟัน (Pulp) จากชั้นนอกสุดสู่ชั้นในสุดตามลำดับ เเละตามด้วยรากฟันเป็นชั้นที่เส้นประสาทพาดผ่าน ระหว่างเหงือกและฟันจะมีร่องเล็กๆเรียกว่า ร่องเหงือก (gingival sulcus) ทุกส่วนนี้หากเกิดความเสียหายไปจะทำให้เกิดอาการปวดฟันได้ค่ะ
1.ฟันผุ เป็นโรคในช่องปากที่พบได้บ่อย เเละไม่แสดงอาการชัดเจน ฟันผุเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
• การรับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลมากเกินไป เพราะน้ำตาลเป็นอาหารของแบคทีเรีย เมื่อรับประทานน้ำตาลมากแบคทีเรียจะสะสมในช่องปากมาก ทำให้เกิดคราบจุลินทรีย์แบบแผ่นฟิล์มบนผิวฟัน หรือคราบพลัค (Plaque) ซึ่งคราบเหล่านี้เป็นสาเหตุของฟันผุค่ะ
• การรับประทานอาหารที่เป็นกรดหรืออาหารรสเปรี้ยว เช่น ผลไม้ดอง มะม่วงเปรี้ยว เนื่องจากกรดจะไปกัดเคลือบฟันทำให้เคลือบฟันสึกกร่อน แบคทีเรียเเละกรดสามารถเข้าไปในชั้นเนื้อฟัน ทำให้เกิดฟันผุได้
อาการของฟันผุ
• ระยะเเรกจะไม่มีอาการใดๆ ฟันจะเป็นสีขาวขุ่นหรือสีน้ำตาล ผิวไม่เรียบ
• เมื่อมีการลุกลามจะเริ่มเห็นรูผุ เริ่มมีอาการปวดฟัน เสียวฟันมากขึ้นโดยเฉพาะตอนดื่มน้ำหวานหรือรับประทานของร้อนจัด เย็นจัด
• หากลุกลามไปเรื่อย ๆ จนถึงโพรงประสาทฟันจะทำให้รู้สึกปวดเมื่ออยู่เฉยๆ ไม่อยากเคี้ยว
ฟันผุจะส่งผลให้ใช้ชีวิตประจำวันลำบาก บางครั้งอาจปวดมากจนทำให้ปวดหัว นอนไม่หลับ หรือลุกลามทำให้ติดเชื้อในปอด เป็นมะเร็งช่องปากได้
2.ฟันแตกหรือฟันร้าว โดยที่ฟันร้าวอาจเป็นรอยร้าวบริเวณเคลือบฟัน หรือร้าวด้านในของฟันไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ต่างจากฟันแตกที่มีบางชิ้นส่วนของฟันบิ่นออกมา โดยฟันที่แตกบ่อยกว่าซี่อื่นคือฟันหน้า ซึ่งฟันเเตกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
• การประสบอุบัติเหตุ เช่น ล้มกระแทก ชกต่อย รถชน
• การเคี้ยวอาหารแข็ง เช่น น้ำแข็ง ถั่ว ลูกอม เปลือกปู เปลือกหอย
• การใช้ฟันที่เสี่ยงจะทำให้ฟันเเตก เช่น การใช้ฟันเปิดขวด
• การเปลี่ยนอุณหภูมิกระทันหันในปาก เช่น การรับประทานอาหารร้อนมาก ๆ เเล้วเปลี่ยนไปรับประทานอาหารเย็นมาก ๆ ทันที
• การสึกของฟันตามอายุ ส่วนใหญ่จะพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
• การที่มีรอยอุดฟันขนาดใหญ่ ทำให้โครงสร้างฟันอ่อนแอลง
อาการเบื้องต้นที่สามารถสังเกตได้ คือ
• การส่องกระจกเพื่อหารอยแตก แต่ก็อาจจะมีบางบริเวณที่ไม่สามารถมองเห็นได้
• หากฟันแตกหลังโดนกระแทกหรือเมื่อเคี้ยวอาหารจะรู้สึกเจ็บหรือปวดขึ้นมา
• อาจมีเหงือกบวมหรืออักเสบบริเวณที่ฟันเเตก เพราะฟันมีช่องว่าง ทำให้เศษอาหารเข้าไปติดได้ เเละเมื่อเศษอาหารสะสมนาน ๆ จะทำให้เเบคทีเรียสะสมเกิดเหงือกอักเสบตามมาหรือกรณีที่ฟันเเตกถึงชั้นเนื้อฟันก็ทำให้เหงือกอักเสบได้เช่นกัน
• อาจเกิดอาการเสียวฟันตามมา หากฟันแตกเล็กน้อยจะทำให้ฟันบางลง ไวต่อความรู้สึกมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อดื่มเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิสูงมากหรือต่ำมาก
3. การนอนกัดฟัน อาการของคนนอนกัดฟันคือ จะมีเสียงเหมือนฟันกัดกัน สบกันแรง ๆ ระหว่างที่นอนหลับ ส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัว การนอนกัดฟันเกิดได้จากหลายสาเหตุ
• สภาพจิตใจ ความเครียด ความรีบเร่งในการทำงานเป็นสาเหตุที่ทำให้นอนกัดฟันโดยไม่รู้สึกตัวได้
• สารกระตุ้นต่าง ๆ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน การสูบบุหรี่ เป็นต้น
• สภาพฟันของเเต่ละบุคคล เช่น มีจุดที่ไม่สมดุลกันของฟัน อาจเกิดจากวัสดุอุดฟัน ฟันซ้อน ฟันเก หรือการที่สูญเสียฟันไปโดยไม่ได้ใส่ฟันปลอม
• การใช้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้าเเละยารักษาอาการทางจิต
การนอนกัดฟันอาจทำให้ฟันบิ่น เเตก ร้าวหรือสึก รู้สึกปวดข้อต่อเเละกล้ามเนื้อบริเวณด้านหน้ารูหูหลังตื่นนอน นอกจากนี้อาจเป็นปัญหากับคู่นอนหรือเพื่อร่วมห้องด้วยค่ะ
4.เศษอาหารติดฟัน โดยเฉพาะเศษอาหารที่ติดแบบอัดแน่น มักติดในช่องฟันที่แคบ ๆ หากมีแรงอัดหลาย ๆ ครั้งจะทำให้เหงือกช้ำและเพิ่มการสะสมของแบคทีเรียทำให้เหงือกอักเสบ หรือหากแรงอัดมากขึ้นจะทำให้เหงือกร่น ฟันโยกตามมาได้
5. การอักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน มักจะเกิดจากฟันผุที่ลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน จะทำให้ติดเชื้อในโพรงประสาทฟันซึ่งมีเส้นเลือดและเส้นประสาทอยู่ ทำให้เกิดอาการปวดแบบตุบ ๆและบวม บางครั้งอาจทำให้กระดูกขากรรไกรหรือกล้ามเนื้อเสียหายจากการที่โพรงประสาทฟันอักเสบ
6. ปลายรากฟันอักเสบเป็นหนอง เกิดจากการที่มีเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันอักเสบนานจะลุกลามไปถึงปลายรากฟัน อาการที่พบได้คือปวดฟัน ปวดแบบตุบ ๆ เหงือกบวม ถ้าการอักเสบลามออกไปนอกปลายรากฟันจะทำให้หน้าบวมได้
7.ฟันคุด เป็นฟันแท้ที่จะขึ้นมาในช่วงอายุ 16-25 ปี โดยขึ้นได้หลายแบบ คือ ตั้งตรง เอียง หรือนอนในเเนวราบ ฟันคุดเป็นฟันที่มักจะเบียดฟันซี่ข้างๆ จึงทำให้มีอาการปวดรุนแรงจะพบมากบริเวณฟันกราม เเต่ก็สามารถพบฟันคุดบริเวณที่อื่น ๆ เช่น ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อย
8.โรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ เป็นอาการที่พบได้บ่อยจากการดูเเลช่องปากไม่ดี ทำให้มีคราบน้ำลายหรือหินปูนที่สะสม อาการที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคนี้ ได้แก่ มีเลือดออกขณะแปรงฟันหรือขณะที่ใช้ไหมขัดฟัน เหงือกบวม เหงือกร่น ฟันโยก มีหนอง ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการขูดหินปูนปีละ 1-2 ครั้ง
9.การปวดฟันจากฟันขึ้นในวัยเด็ก ช่วงที่ฟันขึ้นอาจมีเหงือกอักเสบร่วมด้วยได้ เเต่อาการปวดจะหายไปเองเมื่อฟันขึ้นพ้นเหงือกแล้ว
10.โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal neuralgia) เป็นเส้นประสาทที่อยู่บริเวณข้างใบหู หรือเรียกว่า เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อในการเคี้ยว รับความรู้สึกที่ใบหน้า ความรู้สึกช่องปาก กระพุ้งแก้ม ฟันเเละเหงือก เมื่อฟันผุก็จะเกิดการกระตุ้นเส้นประสาทนี้ทำให้รู้สึกปวดค่ะ แต่บางครั้งอาการปวดอาจไม่ได้มาจากฟันเเต่มาจากเส้นประสาทเส้นนี้ถูกกดทับ จากการที่มีเส้นเลือดไปขวางหรือขวางเส้นประสาทเลยกระตุ้นทำให้ปวด อาการจะเหมือนปวดฟันซึ่งจริงๆเเล้วไม่ใช่อาการปวดฟัน อาการปวดเส้นประสาทใบหน้าสามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย มักพบบ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี เเละพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยสามารถสังเกตุอาการได้ ดังนี้
• ปวดด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้า ไม่ปวด 2 ข้างพร้อมกัน
• ปวดรุนเเรงมาก ปวดทันที เกิดขึ้นภายในไม่กี่วินาที
• ปวดบ่อยขึ้น นานขึ้น รุนเเรงขึ้น
• ปวดเมื่อมีการกระตุ้นเส้นประสาท เช่น แต่งหน้า โกนหนวด ยิ้ม แปรงฟัน เคี้ยวอาหาร เป็นต้น
11.อาการปวดจากโรคอื่น ๆ แล้วร้าวมาที่ฟัน เช่น โรคหู ไซนัสอักเสบ
จะเห็นว่าอาการปวดฟันเกิดได้จากหลายสาเหตุมาก ที่พบบ่อยคือการที่แบคทีเรียสะสมในช่องปากและเกิดการอักเสบในช่องปาก ซึ่งสามารถป้องกันและแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง เเต่ก็มีอาการปวดฟันบางอาการที่ควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุเเละวิธีรักษาที่เหมาะสม เช่น
• อาการเสียวฟันที่เมื่อเอาสิ่งกระตุ้นออกเเล้วอาการเหล่านี้ยังไม่หายไป
• อาการเสียวจี๊ดเมื่อกัดฟัน ระบุซี่ฟันได้ชัดเจนอาจเกิดจากวัสดุอุดฟันขยับหรือฟันร้าว
• อาการปวดตุบๆที่ปวดตามจังหวะชีพจร หรือปวดจากที่อื่นเเล้วลามมาที่ฟัน เช่น หัวใจหรือไมเกรน
• อาการปวดฟันร่วมกันอาการบวมใต้ลิ้น กระพุ้งแก้ม ใต้คาง โหนกแก้ม ใต้ตา อาจเกิดจากการติดเชื้อเป็นหนองหรืออาจเกิดจากถุงน้ำ เนื้องอก มะเร็งได้
เมื่อไปพบทันตแพทย์จะมีการประเมินอาการและให้การรักษา เช่น การอุดฟัน การขูดหินปูน การรักษารากฟัน เป็นต้น ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพปากและฟันเป็นประจำ ทุกๆ 6 เดือน แต่หากไม่ได้มีอาการฉุกเฉินหรือยังไม่สามารถไปพบทันตแพทย์ได้ทันที หมอมีวิธีแก้ปวดฟันด้วยตัวเองโดยวิธีธรรมชาติมาฝากค่ะ
1.หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ปวดฟันเพิ่ม เช่น
• อาหารรสหวานจัด เนื่องจากน้ำลายจะย่อยน้ำตาลให้กลายเป็นกรด ซึ่งกรดเหล่านี้จะเข้าไปในเนื้อฟันเเละเส้นประสาทฟัน ทำให้เกิดอาการปวดฟัน เสียวฟันเพิ่มขึ้นได้
• อาหารรสเปรี้ยวจัด เนื่องจากกรดในอาหารรสเปรี้ยวจะเข้าไปกัดเนื้อฟัน เเละเเทรกเข้าไปเส้นประสาทฟันได้เช่นเดียวกัน จะส่งผลให้ปวดฟันมากขึ้นโดยเฉพาะในฟันที่ผุมากหรือฟันสึกจะทำให้ยิ่งปวดมาก
• อาหารเย็นจัดหรือร้อนจัด เช่น น้ำแข็ง ไอศกรีม น้ำร้อน ชาร้อน เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไปจะไปกระตุ้นเส้นประสาท ทำให้อาการปวดฟันมากขึ้นได้
• อาหารที่เเข็งเเละเหนียว เคี้ยวยาก เช่น เนื้อวัว หมูกรอบ รับประทานอาหารที่ใช้เเรงเคี้ยวน้อย อาหารนิ่มๆ เช่น ไข่ตุ๋น เนื้อปลา ผัก ที่ผ่านการต้ม ลวก นึ่ง เป็นต้น
2.ลดการกระทบกับฟันซี่ที่ปวด อาการปวดฟันหรืออักเสบจะเพิ่มมากขึ้นถ้าบริเวณนั้นถูกกระทบบ่อยจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือการกระทบฟันอย่างรุนเเรง เช่น การนอนกัดฟัน การใช้ลิ้นดันเหงือกบริเวณนั้น การเคี้ยวอาหารด้านนั้น เป็นต้น
3.ประคบเย็น เป็นวิธีที่ลดการอักเสบเบื้องต้นได้ ทำได้โดยการใช้ผ้าห่อน้ำแข็งเเล้วนำมาประคบบริเวณกรามข้างที่มีอาการ 10-15 นาทีเเล้วหยุดพัก จากนั้นประคบต่อได้อีกจนกว่าอาการปวดจะลดลง
4.อมน้ำเกลือ เนื่องจากเกลือมีสรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียที่สะสมในช่องปากเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดฟัน วิธีเตรียมคือใช้น้ำอุ่นผสมเกลือ อมเเละกลั้วปากประมาณ 30 วินาที - 1 นาทีเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
5.ใช้ไหมขัดฟันทุกครั้งเมื่อมีเศษอาหารติดฟัน เนื่องจากเศษอาหารที่บริเวณซอกฟันหรือเหงือกจะทำให้เกิดเหงือกอักเสบเเละฟันผุตามมาได้ หมอแนะนำให้ใช้ไหมขัดฟันไม่ใช้ไม้จิ้มฟันค่ะ เนื่องจากอาจเสี่ยงไม้จิ้มฟันทิ่มเหงือกเพิ่มความเสี่ยงของอาการเหงือกอักเสบได้
6.แปรงฟันให้ถูกต้อง อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งละ 2 นาที โดยวางแปรงสีฟัน 45 องศา บริเวณรอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน ถูแปรงไปมาสั้น ๆ ตามเเนวฟันเเละเหงือก แปรงให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านนอก ด้านใน เเละด้านบดเคี้ยว ควรแปรงลิ้นเเละกระพุ้งแก้มด้วยเพื่อขจัดครบจุลินทรีย์
7. ใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณลดอาการปวดฟัน เช่น
• กานพลู วิธีใช้คือ ใช้ก้านสำลีชุบน้ำมันกานพลูเเล้วนำไปจิ้มบริเวณที่ปวดหรือสามารถใช้ดอกกานพลูมาอมไว้บริเวณที่ปวด เนื่องจากกานพลูมีสรรพคุณ แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ยาชา ต้านแบคทีเรียเเละเชื้อราได้
• ว่านหางจระเข้ โดยนำว่านหางจระเข้มาล้างยางออก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เหน็บไว้บริเวณซอกฟันซี่ที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
• ใบชา เตรียมด้วยการนำใบชาแห้งไปแช่น้ำร้อน 20 นาที รอให้ชาอุ่นเเล้วบ้วนปากด้วยน้ำชาบ่อยๆ จากนั้นบ้วนตามด้วยน้ำสะอาด ด้วยสรรพคุณลดการอักเสบ ลดการเหงือกบวมของใบชา จะช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้
สมุนไพรเหล่านี้อาจมีขั้นตอนในการเตรียมซึ่งต้องใช้เวลา หากรู้สึกไม่สะดวกหรือใครใช้เเล้วไม่ดีขึ้น หมอขอแนะนำน้ำยาบ้วนปากสมุนไพร ที่เป็นน้ำยาบ้วนปากสูตรอ่อนโยน ไม่ต้องเสียเวลาในการเตรียม ใช้งานง่ายค่ะ GUM-D น้ำยาบ้วนปากสมุนไพรผสมสะแบง เป็นน้ำยาบ้วนปากที่คัดสรรสมุนไพรเพื่อให้ใช้งานสะดวก เพียงบ้วนหลังแปรงฟัน หรือ หลังทานอาหารทันที กลั้วปาก 3-4 นาที แล้วบ้วนทิ้ง ใช้งานไม่ยุ่งยากเลยใช่ไหมคะ
ส่วนประกอบของ GUM-D น้ำยาบ้วนปากสมุนไพร เป็นสมุนไพรจากธรรมชาติที่ให้สรรพคุณ
• ช่วยฆ่าเชื้อในช่องปาก ดับกลิ่น ทำให้ช่องปากสะอาดสดชื่น
• แก้อาการปวดฟัน เหงือกบวม
• รักษาแผลร้อนใน
• ลดอาการเสียวฟัน ฟันคลอน
• รักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน
หากใครมีอาการปวดฟัน ทดลองใช้วิธีไหนในการลดอาการปวดได้ผลอย่างไรมาพูดคุยเเลกเปลี่ยนกันได้เลยค่ะ ส่วนน้ำยาบ้วนปากสมุนไพร GUM-D มีผู้ใช้กว่า 90% บอกว่าช่วยลดอาการปวดฟันตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้ หลังจากใช้ต่อเนื่องอาการปวดฟันค่อย ๆหายไป เเละยังรู้สึกว่ากลิ่นปากลดลง ลมหายใจหอมสดชื่นด้วยค่ะ เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ควรมีติดบ้านไว้มาก ๆ
สำหรับใครที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์ดูเเลความสะอาดช่องปาก ช่วยลดอาการปวดฟัน เหงือกบวม รักษาแผลร้อนใน แนะนำน้ำยาบ้วนปากสมุนไพร GUM-D ใช้ดีจริง ๆ ค่ะ สามารถซื้อใช้เองหรือซื้อให้คนที่เรารักก็ได้ค่ะ^^
ปุณรดายาไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและทีมแพทย์แผนไทยที่มีประสบการณ์ยินดีให้คำปรึกษาสำหรับการใช้สมุนไพรแก้อาการปวดฟัน สามารถปรึกษาอาการเข้ามาทาง Line ของปุณรดายาไทยได้เลยนะคะ ทางเรามีคุณหมอคอยดูแลให้คำแนะนำทุกวัน ตั้งแต่ 09:00 - 21:00 เลยค่ะ ติดต่อทาง Line id : @poonrada หรือ โทร 02-1147027 นะคะ
ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "