โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันที่ไปกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง และเป็นโรคไม่ติดต่อ โรคสะเก็ดเงินสามารถที่จะเกิดได้กับผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย เช่น ข้อศอก หนังศีรษะ ใบหน้า และฝ่ามือ ในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยด้วยโรคสะเก็ดเงินประมาณ ร้อยละ 1-2 ของประชากร แต่ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคแน่ชัด เชื่อกันว่าน่าจะเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือพันธุกรรม และการติดเชื้อโรคบางอย่างที่เข้าไปกระตุ้นให้การทำงานของผิวหนังผิดปกติได้ และโรคสะเก็ดเงินรักษาให้หายขาดได้
สาเหตุของโรคสะเก็ดเงินนั้นยังไม่แน่ชัด แต่เป็นสภาวะของร่างกายจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันจนทำให้เซลล์ผิวหนังมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วกว่าปกติหลายเท่า และร่างกายไม่สามารถควบคุมการแบ่งตัวได้ ทำให้ผิวหนังเกิดทับซ้อนกันจนหนาขึ้น แตกเป็นขุย เพราะการผลัดเซลล์ผิวไม่เป็นไปตามปกติ ปัจจุบันคาดการณ์ว่ากลไกที่ทำให้เกิดโรคอาจมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่
ระบบภูมิคุ้มกัน - ลิมโฟไซต์ ชนิด T cells (ปกติจะทำหน้าที่ในการต่อสู้กับเชื้อโรค) ถูกกระตุ้นให้ทำงานมากเกินไป เมื่อเคลื่อนตัวมาที่ชั้นใต้ผิวหนัง ก็จะทำงานร่วมกับสารอื่น ๆ กระตุ้นให้เซลล์หนังกำพร้าเกิดการแบ่งตัวและเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วผิดปกติ และก่อให้เกิดการอักเสบของผิวหนังทั้งในชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้
ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้หรือโรคทางด้านผิวหนังอื่น ๆ มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นโรคสะเก็ดเงิน แต่ปัจจัยนี้ก็ยังไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจนว่าผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวจะเป็นโรคชนิดนี้อย่างแน่นอน
โรคสะเก็ดเงินสามารถที่จะเกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม โดยสามารถที่จะส่งผ่านพันธุกรรมมาที่ลูกได้ทั้งจากพ่อและแม่ โดยจะมีเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงสูง หากว่าพ่อและแม่เป็นโรคสะเก็ดเงินทั้งคู่
ภาวะอารมณ์ก็มีส่วนทำให้เกิดโรคสะเก็ดเงินขึ้นได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะภาวะเครียดที่ส่งผลทำให้เกิดอารมณ์โกรธ กังวล หงุดหงิด หรือจะเรียกว่าเป็นอารมณ์ที่สามารถส่งผลต่อภาวะเครียด ย่อมเป็นสาเหตุนำมาซึ่งการเกิดโรคนี้ได้ไม่น้อย เพราะเมื่อเกิดความเครียด ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะต่ำลง ส่งผลให้เซลล์เกิดความผิดปกติที่ทำให้เป็นโรคได้
การใช้ยาบางชนิดก็สามารถส่งผลให้เกิดโรคสะเก็ดเงินได้ ซึ่งยาที่ส่งผล ได้แก่ ยาลิเทียม (Lithium) ใช้รักษาโรคไบโพล่าร์และโรคทางจิต ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจอย่างยาในกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blocker) หรือยาในกลุ่มเอซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE Inhibitors) ยาอินโดเมทาซิน (Indomethacin) ที่เป็นยาต้านการอักเสบ และอื่น ๆ
เมื่อระดับฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ย่อมเป็นสาเหตุกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคสะเก็ดเงิน เช่น ภาวะหมดประจำเดือนหรือการมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ และหลังคลอด
โดยพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดโรคสะเก็ดเงินคือ พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำลายสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์มากจนเกินไป ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ปล่อยให้ผิวแห้งมาก และไม่บำรุงผิวให้มีความชุ่มชื้น รับประทานอาหารที่มีกรดยูริก มีไขมันสูง และทานเนื้อแดง การเล่นกีฬาก็สามารถที่จะกลายเป็นสาเหตุของการเกิดโรคสะเก็ดเงินขึ้นได้ หากเล่นกีฬามากเกินไปโดยไม่มีขีดจำกัด
เมื่อเป็นโรคสะเก็ดเงินขึ้น หมายถึงภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ และเมื่อติดเชื้อในขณะที่กำลังมีโรคสะเก็ดเงิน ก็อาจจะทำให้โรคสะเก็ดเงินมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะเหมือนเป็นการกระตุ้นโรค โดยเฉพาะเชื้อบริเวณลำคอและระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด ไข้หวัด ปอดบวม หลอดลมอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ คออักเสบ หรือเชื้อเอชไอวี
ผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีปัญหาน้ำหนักเกินอาจมีแนวโน้มเกิดรอยพับหรือย่นบริเวณผิวหนังได้มากกว่าคนทั่วไป
กลไกการเกิดโรคในทางการแพทย์แผนไทย ที่เกิดจากเลือดและน้ำเหลืองที่ผิดปกติ และมีปัจจัยอื่นๆ มากระทบ เช่น อาหารแสลง ความเครียด อากาศ หรือยาบางชนิด จะส่งผลกระทบต่อระบบธาตุในร่างกาย โดยจะกระทบธาตุไฟ หรือความร้อนในร่างกายก่อน ทำให้ธาตุไฟกำเริบ กระทบต่อธาตุน้ำจนทำให้การทำงานผิดปกติไป ส่งผลให้น้ำเหลืองเสีย แสดงอาการเป็นผื่นที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีรอยผุดขึ้นเป็นแว่น เป็นวง ตามผิวหนัง เล็กบ้างใหญ่บ้าง มีสีขาว มีขอบนูนเล็กน้อย เมื่อสัมผัสที่ผื่นนั้นก็จะรับรู้ได้ถึงความร้อน กำเริบมากก็จะเห่อบวมแดงมาก นอกจากนี้ การที่ธาตุไฟ เพิ่มขึ้น จะส่งผลกระตุ้นให้ วาตะ หรือธาตุลมกำเริบได้เช่นกัน จึงส่งผลแสดงออกมาเป็นอาการคันที่ผื่นได้
เป็นลักษณะที่แสดงถึงภาวะความผิดปกติของน้ำเหลือง ซึ่งต้องจ่ายยาในกลุ่มของน้ำเหลืองเป็นหลัก เช่น ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้, เปลือกขันทองพยาบาท, เหงือกปลาหมอ เป็นต้น
เป็นลักษณะที่แสดงถึงภาวะความผิดปกติของโลหิต ต้องจ่ายยาในกลุ่มบำรุงเลือด เช่น ฝาง, คำฝอย, คำไทย เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
Honestdocs. โรคสะเก็ดเงิน สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกัน และการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรค [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: Honestdocs; 2561. เข้าถึงได้จาก: https://www.honestdocs.co/psoriasis-causes-symptoms-treatment .
Honestdocs. โรคสะเก็ดเงิน โรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: Honestdocs; 2561. เข้าถึงได้จาก: https://www.honestdocs.co/psoriasis-no-definite-cause .
คลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลพระปกเกล้า. โรคสะเก็ดเงิน. จันทบุรี: โรงพยาบาลพระปกเกล้า; 2557.
ฉัตรชัย สวัสดิไชย. สะเก็ดเงิน โรคอันตรายรักษาได้ด้วยการบูรณาการรักษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. จันทบุรี: โรงพยาบาลพระปกเกล้า; 2557.
ชนิษฎา วงษประภารัตน์. โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล; 2555. เข้าถึงได้จาก : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/967_1.pdf .
รัศนี อัครพันธุ์. โรคสะเก็ดเงิน [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลกรุงเทพ; 2558. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/psoriasis .
สถาบันโรคผิวหนัง. Clinical Practice Guildline for Psoraisis [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันโรคผิวหนัง; 2552 . เข้าถึงได้จาก : http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/cpgcorner/psoriasis.pdf .
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 086-955-6366, 091-546-9415
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "