ทุกคนคงเคยได้ยินชื่อโรคมะเร็งปากมดลูกกันใช่ไหมคะ มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง พบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี ในแต่ละปีผู้หญิงทั่วโลกป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นปีละ 466,000 คน เสียชีวิตปีละ 231,000 คนเลยค่ะ เห็นได้ว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาที่สำคัญมากสำหรับผู้หญิงทุกคน เราควรให้ความสำคัญและศึกษาทำความเข้าใจเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นนะคะ
มะเร็งปากมดลูก เกิดจากเชื้อไวรัส เอชพีวี (HPV : Human Papilloma Virus) โดยเชื้อไวรัส HPV แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และกลุ่มสายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่ก่อโรคอื่นแทน เช่น หูดหงอนไก่ เป็นต้น
โดยเชื้อ HPV สามารถแพร่ได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งหลายคนอาจเคยได้รับเชื้อ HPV มาแล้ว แต่ร่างกายสามารถกำจัดได้ และอาจมีบางส่วนที่ร่างกายไม่สามารถจำกัดออกไปได้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก โรคหูดหงอนไก่ เป็นต้น
เมื่อได้รับเชื้อ HPV จะมีระยะฟักตัวตั้งแต่ 6 สัปดาห์ถึง 8 เดือน โดยทั่วไปการติดเชื้อไวรัส HPV จะมีอยู่ 2 แบบ คือแบบที่อยู่ชั่วคราว และแบบคงอยู่ในร่างกายนาน โดยแบบชั่วคราวจะหายไปภายใน 12 เดือน ส่วนแบบคงอยู่นาน จะทำให้เซลล์เยื่อบุปากมดลูกมีโอกาสผิดปกติได้ โดยระยะเวลาเฉลี่ยหลังจากการติดเชื้อ HPV จนกลายเป็นมะเร็งจะใช้เวลาประมาณ 10-15 ปี
สำหรับเพศชายก็มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ HPV เช่นกันค่ะ โดยเฉพาะกลุ่มชายรักร่วมเพศ ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หรือมีเพศสัมพันธ์ทางช่องปาก หากมีการติดเชื้อ HPV ในชายจะเสี่ยงเกิดโรค 3 โรค ได้แก่ มะเร็งองคชาต หูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนัก ดังนั้นในเพศชายก็ควรศึกษาเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเหล่านี้ค่ะ
หลาย ๆ คนอาจจะมีความกังวลว่าอาการผิดปกติที่กำลังเป็นเข้าข่ายมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ หมอเลยจะขออธิบายอาการของมะเร็งปากมดลูกแต่ละระยะมาเพื่อให้ลองสังเกตด้วยกันนะคะ
มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกจะไม่แสดงอาการ เนื่องจากเชื้อ HPV มีระยะเวลาฟักตัวที่ค่อนข้างนาน ดังนั้น เราควรทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่โรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันและการค้นพบอาการได้เร็วต่อการรักษานะคะ
เมื่อเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม จะมีอาการ ดังนี้
• มีเลือดออกจากช่องคลอดในวัยที่หมดประจำเดือนอย่างถาวร
• ประจำเดือนมานานผิดปกติ
• มีเลือดออกในช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์
• มีเลือดออกกะปริดกะปรอยในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน
• ปวดท้องน้อย
• ในระยะลุกลามอย่างรุนแรง อาจมีเลือดปนมากับปัสสาวะและอุจจาระ ปัสสาวะไม่ออก ปอดบวม ปวดหลัง ไตวาย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อ่อนเพลีย และเหนื่อยง่าย
จะเห็นว่าอาการแสดงของโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลามมีโอกาสพัฒนาไปเป็นอาการที่รุนเเรงได้ เเละเมื่อเป็นระยะลุกลามเเล้วจะรักษาให้หายยาก ดังนั้นหากมีความเสี่ยงควรป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้เป็นมะเร็งปากมดลูกดีกว่าค่ะ
• ผู้ที่มีพฤติกรรมมีคู่นอนหลายคน เนื่องจากเชื้อ HPV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก และโรคอื่นๆ สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย และไม่ได้ป้องกัน จะทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อ HPV มากขึ้น
• ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งทุกประเภท รวมไปถึงมะเร็งปากมดลูกด้วย
• ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
• ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม หนองใน เป็นต้น
• ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติการเป็นมะเร็ง หรือมีเซลล์เยื่อบุผิดปกติที่ช่องคลอด
• ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HPV ร่างกายจะไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก
• ผู้ที่มีบุตรหลายคน เนื่องจากเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ HPV เพิ่มขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์หลายครั้ง การตั้งครรภ์หลายครั้งยังส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงเเละภูมิคุ้มกันต่ำลง ทำให้เสี่ยงติดเชื้อ HPV ได้ง่าย
• ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานเกิน 5 ปี จะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก แต่หากหยุดกินยาคุมกำเนิดเกิน 10 ปี ความเสี่ยงจะลดลงจนเท่ากับคนปกติ
• ผู้ที่ไม่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากระยะแรกเริ่มของมะเร็งปากมดลูกนั้นจะไม่มีอาการใดๆเลย หากร่างกายมีเชื้อ และไม่ทำการตรวจคัดกรองอาจส่งผลให้เซลล์มะเร็งลุกลามได้
หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงหมอแนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปีตามคำแนะนำ หากตรวจเจอจะได้รักษาตั้งเเต่ระยะเเรกๆ
การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดผ่านทางช่องคลอด จากนั้นจะทำการป้ายเซลล์จากมดลูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้
โดยผู้หญิงที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ควรเริ่มทำการตรวจ และตรวจทุก ๆ 1-2 ปี ผู้ที่อายุ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี สามารถเว้นระยะห่างออกไปตรวจทุก ๆ 3 ปี ได้ อายุ 70 ปีขึ้นไป ไม่มีผลการตรวจที่ผิดปกติในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา และไม่มีปัจจัยเสี่ยง อาจยกเลิกการตรวจได้
ถ้าตรวจเเล้วเจอเซลล์มะเร็งปากมดลูกก็มีเเนวทางการรักษา 2 วิธีคือ การผ่าตัด เเละการใช้รังสีรักษาโดยในระยะเเรก ๆ จะใช้วิธีการผ่าตัดและการใช้เคมีบำบัด ถ้าหากเป็นระยะลุกลามจะมีการรักษาโดยการฉายเเสงและการฝังเเร่ร่วมด้วย
นอกจากการรักษาในแนวทางแผนปัจจุบัน ในทางการแพทย์แผนไทยก็เป็นแนวรักษาทางเลือกที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของคนไข้ได้เช่นเดียวกัน การรักษามะเร็งปากมดลูกจะใช้ตำรับยาน้ำเหลืองเสีย ซึ่งเป็นตำรับยาหลักในการรักษาโรคมะเร็งต่าง ๆ ควบคู่กับการจ่ายยาลดความร้อนในร่างกาย ปรับสมดุลธาตุ เพื่อเข้าไปรักษาอาการโดยตรง นอกจากจะเป็นการใช้ตัวยาในการรักษาแล้ว เพื่อประสิทธิผลของการรักษา ควรจะต้องปรับพฤติกรรมเพื่อไม่เป็นการกระตุ้นเซลล์มะเร็งให้เจริญเติบโตร่วมด้วย โดยเบื้องต้นมีแนวทางในการปฎิบัติดังนี้
1. เลือกรับประทานอาหารปรุงสุก สด สะอาด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อในร่างกาย เพราะผู้ที่เป็นมะเร็งจะมีร่างกายอ่อนแออยู่เเล้ว จึงควรระวังเรื่องการติดเชื้อให้มาก
2. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จำพวกโปรตีน เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน (เว้นสัตว์เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อหมู) ไก่ ปลา เพื่อช่วยซ่อมแซมเซลล์ในร่างกาย นอกจากนี้ควรเลือกผักและผลไม้ที่มีไฟเบอร์ เเละสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น มะเขือเทศ มะละกอ ผักบุ้ง ฟักทอง ผักใบเขียว ควรรับประทานอย่างน้อย 500 กรัมต่อวัน
3. ดูแลความสะอาด เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งจะมีการติดเชื้ออื่น ๆ ง่าย จึงควรแยกของใช้กับคนในครอบครัว ล้างมือก่อนและหลังทานอาหาร เเละหลีกเลี่ยงการไปในที่ที่แออัด
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยเลือกประเภทกีฬาที่ไม่หักโหม เช่น วิ่งเหยาะ ๆ เดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน โยคะ เป็นต้น เเละควรออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อโดยใช้น้ำหนักตัว (Body weight) ร่วมด้วย โดยรวมควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
5. ดูเเลสุขภาพจิตใจ ลดความเครียด โดยการ อ่านหนังสือ ฟังธรรมะ ทำบุญ ฟังเพลง ทำกิจกรรมที่ชอบ เพื่อลดการหลั่งของฮอร์โมนความเครียด (Adrenaline) ที่มีผลกระตุ้นทำให้มะเร็งกระจายตัวได้มากขึ้นได้ค่ะ
6. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ เพราะจะเสี่ยงต่อการติดต่อเชื้อไปสู่คู่นอนได้
7. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เเละสูบบุหรี่ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็ง อีกทั้งยังทำลาย DNA ที่อยู่ในเซลล์ ส่งผลให้มะเร็งลุกลามเพิ่มขึ้นได้
8.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจำพวกปิ้งย่าง ของทอด เนื้อแดง เพราะของปิ้งย่างจะมีสารก่อมะเร็งที่ชื่อ PAHซึ่งเป็นสารที่พบในควันท่อไอเสียรถยนต์และบุหรี่ นอกจากนี้ไขมันอิ่มตัวในเนื้อแดงก็กระตุ้นการเติบโตของมะเร็งได้เช่นกัน
9. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตส เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำสลัด กล้วยน้ำว้า มะม่วง น้ำผึ้ง เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม เนื่องจากน้ำตาลฟรุกโตสเป็นอาหารและแหล่งพลังงานของเซลล์มะเร็ง จะทำให้มะเร็งลุกลามมากขึ้นได้ค่ะ
10. พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เเละคอยสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น หากมี ไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีภาวะเลือดออก ควรไปพบแพทย์ทันที
สำหรับใครที่ยังไม่มีความเสี่ยง หรืออยากป้องกันเพื่อไม่ให้เป็นมะเร็งปากมดลูกก็มีวิธีที่สามารถทำได้เช่นกันค่ะ ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้
1. ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากโรคมะเร็งปากมดลูกยังไม่มีวิธีการรักษาที่ได้แน่ชัด การป้องกันที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ผู้หญิงที่ได้รับวัคซีน HPV จะลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้ถึง 70% โดยวัคซีนชนิดนี้จะได้ประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อฉีดในผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน แต่ผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วก็ยังคงสามารถพิจารณาฉีดวัคซีน HPV ได้ เพียงแต่อาจจะไม่ได้รับประสิทธิภาพ สูงสุดในการป้องกันจากวัคซีน เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกให้เลือกฉีด 3 แบบ ได้แก่
• วัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 16 และ 18 โดยที่เชื้อ HPV 16 และ 18 เป็นสายพันธุ์ที่พบได้บ่อย เเละ มีความเสี่ยงสูงที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
• วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18 จะครอบคลุมทั้งการลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ 16 และ 18 เเละช่วยลดความเสี่ยงการเกิดหูดหงอนไก่ ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ 6 และ 11
• วัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 6, 11, 16, 31, 33, 45, 52 และ 58 มีประสิทธิภาพสูง คลอบคลุมสาเหตุของการเกิดโรคอื่นๆและโรคมะเร็งปากมดลูก ได้ 90% มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดรอยโรคก่อนเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด และมะเร็งผนังช่องคลอด ที่เกิดจากเชื้อ HPV 31, 33, 45, 52, 58 ได้ถึง 97% ในกรณีที่ไม่เคยได้รับเชื้อไวรัส HPV มาก่อน
สำหรับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสามารถฉีดได้ทั้งผู้หญิงเเละผู้ชาย ที่มีอายุตั้งแต่ 9-45 ปี สาเหตุที่ต้องฉีดในผู้ชายด้วย เนื่องจาก หากติดเชื้อ HPV ในเพศชายมีโอกาสพัฒนาไปสู่โรคมะเร็งองคชาต หูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนักได้ โดยการฉีดวัคซีนจะต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ภายในระยะเวลา 6 เดือน ภูมิคุ้มกันสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องฉีดกระตุ้น
1. การป้องกันด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คือการตรวจแปปสเมียร์ และการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV จากปัสสาวะ เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทางเลือกใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น ช่วยลดจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกลงได้
2. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การสูบบุหรี่ เป็นต้น
หากใครที่ทำตามทั้ง 3 ข้อนี้เเล้วได้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร สามารถทักมาเเชร์ประสบการณ์กับทีมแพทย์แผนไทยของปุณรดายาไทยได้เลยค่ะ หรือหากมีความกังวลเรื่องมะเร็งปากมดลูกหรือเรื่องสุขภาพอื่น ๆ ก็สามารถทักมาปรึกษาได้เช่นกันนะคะ
ปุณรดายาไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและทีมแพทย์แผนไทยที่มีประสบการณ์ยินดีให้คำปรึกษา
สามารถปรึกษาอาการเข้ามาทาง Line ของปุณรดายาไทยได้เลยนะคะ ทางเรามีคุณหมอคอยดูแลให้คำแนะนำทุกวัน ตั้งแต่ 09:00 - 21:00 เลยค่ะ ติดต่อทาง Line id : @poonrada หรือ โทร 02-1147027 นะคะ
เมื่อไหร่ที่คุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และต้องการทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งมากขึ้นด้วยศาสตร์ธรรมชาติ ที่นำเอาการแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้ นึกถึงปุณรดายาไทยนะคะ เพราะเราคือ “แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด”
ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "