หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังอยู่ในช่วงของ “วัยทำงาน” ไม่ว่าจะสาขาอาชีพใดก็ตาม บอกได้เลยว่าคุณโชคดีมากๆ ค่ะ เพราะคุณกำลังจะได้รับประโยชน์จากบทความต่อไปนี้แบบเต็มๆ ไม่มีกั๊ก!
เมื่อพูดถึง “โรคที่มักเกิดกับวัยทำงาน” ต้องขอออกตัวก่อนเลยว่า มีด้วยกันหลายโรคมาก ๆ และเราจะขอคัดมาเฉพาะโรคที่พบได้บ่อยที่สุด 8 โรคก่อนนะคะ ซึ่งคุณจะได้ทราบทั้งลักษณะอาการ สาเหตุ วิธีรักษาและการป้องโรคทั้ง 8 โรค อย่างละเอียด ส่วนจะมีโรคยอดฮิตอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลยค่ะ
6. โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
7. โรคทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ หอบหืด
มาต่อกันด้วยโรคที่ 3 โรคกรดไหลย้อน หรือ เกิร์ด (GERD)
เมื่อพูดถึง “โรคกรดไหลย้อน” ฟังดูเหมือนเป็นโรคธรรมดาสามัญทั่วไป ที่ไม่ร้ายแรงมากนัก แต่เชื่อหรือไม่..เคยมีรายงานว่าคนเป็น “โรคกรดไหลย้อน” ในประเทศไทย เกิดความเจ็บปวดมากจนถึงขั้นหยุดหายใจ! ซึ่งแพทย์สันนิษฐานว่า เป็นเพราะระบบประสาทของเขาไวต่อความเจ็บปวดอย่างผิดปกติ นั่นเองค่ะ
เห็นไหมคะว่า ความเจ็บป่วยไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรก็ตาม หากเรามองข้าม หรือ มองว่าเล็กน้อย ไม่รีบรักษาอาจนำมาซึ่งความสูญเสียที่เลวร้ายที่สุดจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปุณรดายาไทย อยากให้ทุกคนหันมารักตัวเองให้มากขึ้น เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพให้ดีขึ้นก่อนนะคะ
กรดไหลย้อน หรือ เกิร์ด (GERD) เป็นโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารภายในร่างกายที่ผิดปกติ ซึ่งถือเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในคนทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่โรคร้ายแรง และไม่ใช่โรคติดต่อนะคะ ในผู้ป่วยที่เป็น “กรดไหลย้อน” พบว่ามีภาวะที่กรดล้นหรือกระฉอกจากกระเพาะอาหารขึ้นไปที่หลอดอาหาร บางครั้งล้นขึ้นไปถึง คอ หลอดลม กล่องเสียง และเข้าไปในปอด ซึ่งเยื่อบุของอวัยวะเหล่านี้ไม่สามารถทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดได้ จึงเกิดการอักเสบและเป็นแผลขึ้นค่ะ
เกิดจากหูรูดระหว่างปลายหลอดอาหารกับกระเพาะอาหารคลายตัวผิดปกติ และบางครั้งพบว่าหูรูดหลอดอาหารส่วนบนก็มักจะไม่ปกติด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ “กรดไหลย้อน” ยังอาจเกิดจากภาวะกรดในกระเพาะอาหารมีน้อยเกินไป (Hypochlorhydria)
อธิบายได้ว่า โดยทั่วไปกรดในกระเพาะอาหารเป็นตัวกระตุ้นให้หูรูดส่วนปลายกระเพาะอาหารเปิด เพื่อดันอาหารที่ย่อยแล้วบางส่วนไปที่ลำไส้เล็ก เมื่อกรดมีน้อยจึงทำให้หูรูดไม่เปิด ส่งผลให้อาหารและกรดคั่งอยู่ในกระเพาะอาหาร และล้นขึ้นไปที่หลอดอาหารนั่นเองค่ะ
ถึงแม้ว่า กรดจะมีน้อยจนไม่สามารถกระตุ้นให้หูรูดส่วนปลายกระเพาะอาหารเปิดได้ แต่ก็เพียงพอที่จะกัดกร่อนเยื่อบุของหลอดอาหารจนอักเสบและเป็นแผลขึ้นได้ ทำให้ผู้ที่เป็นรู้สึกทรมานกับอาการกรดไหลย้อนเป็นอย่างมากค่ะ
• พันธุกรรม และ โรคบางโรค ก็มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนสูง เช่น เด็กดาวน์ (Down syndrome)
• เป็นโรคไส้เลื่อนกะบังลม ซึ่งอาจมีผลทำให้หูรูดของหลอดอาหารไม่แข็งแรง
• เป็นโรคหอบหืด การไอหรือจามบ่อย ๆ และมีการใช้ยาขยายหลอดลม ย่อมส่งผลให้หูรูดหลอดอาหารส่วนปลายคลายตัวลง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคกรดไหลย้อน
• เป็นโรคภูมิแพ้ มีภูมิต้านทานที่สนองต่อการระคายเคืองบริเวณหลอดอาหารผิดปกติ ทำให้หลอดอาหารอักเสบ และบวมได้
• อ้วน อาจเกี่ยวข้องกับการรับประทานมาก หูรูดของหลอดอาหารไม่แข็งแรง อาหารและกรดคั่งอยู่ในกระเพาะอาหาร และล้นขึ้นไปที่หลอดอาหาร กัดกร่อนเนื้อเยื่อจนอักเสบและเกิดแผลได้
• ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ จะทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ส่งผลให้กระเพาะอาหารไม่ค่อยบีบตัว หรือบีบตัวช้า ดังนั้นอาหารและกรดจึงคั่งอยู่ในกระเพาะอาหาร กัดกร่อนเนื้อเยื่อจนอักเสบและเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
• เข้าสู่วัยทอง (40 ปีขึ้นไป) อาจเกี่ยวข้องกับความเสื่อมของหรูดหลอดอาหาร และความสามารถในการย่อยอาหาร ทำให้กรดและอาหารคั่งในกระเพาะอาหาร และล้นขึ้นไปที่หลอดอาหาร กัดกร่อนเนื้อเยื่อจนอักเสบและเกิดแผลได้
• เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ส่งผลให้น้ำดีซึ่งเป็นด่างมีไม่เพียงพอในการย่อยไขมัน อาหารที่คั่งค้างในกระเพาะจึงมีความเป็นกรดสูง เกิดการกัดกร่อนเนื้อเยื่อจนอักเสบและเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
• เป็นโรค Zollinger-Elison Syndrome โรคนี้จะทำให้มีฮอร์โมนแกสตรินสูง ซึ่งฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นการสร้างกรดในกระเพาะอาหารให้มากขึ้น
• การมีแคลเซียมในเลือดสูง จะกระตุ้นให้เกิดฮอร์โมนแกสตรินสูง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างกรดในกระเพาะอาหารให้มากขึ้น เช่นเดียวกันกับโรค Zollinger-Elison Syndrome
• การรับประทานอาหารมากเกินไป เมื่อกระเพาะอาหารย่อยไม่ทัน อาหารจะคั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร และล้นขึ้นไปที่หลอดอาหาร กัดกร่อนเนื้อเยื่อจนอักเสบและเกิดแผลได้
• โรคภูมิแพ้บางอย่าง เช่น โรคหนังแข็ง (Scleroderma) หรือ Systemic sclerosis ทำให้หลอดอาหารผิดปกติ
• ได้รับสารสเตียรอยด์ จากยารักษาโรคบางโรค สารสเตียรอยด์จะทำให้หูรูดหลอดอาหารเคลื่อนไหวผิดปกติ และทำให้มีน้ำย่อยที่เป็นกรดในกระเพาะออกมามากขึ้น
• การสูบบุหรี่ ทำให้น้ำย่อยออกมามากขึ้นจึงมีความเป็นกรดสูง ส่งผลให้หูรูดระหว่างหลอดอาหารส่วนปลายและกระเพาะอาหารคลายตัว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคกรดไหลย้อน
• ความเครียด มีผลให้หูรูดหลอดอาหารคลายตัว กระเพาะไม่ย่อยอาหาร หนำซ้ำกรดจะหลั่งเยอะขึ้นอีกด้วย จึงมีอาหารและกรดค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานขึ้น แน่นอนว่า ผลที่ตามมาคือ “โรคกรดไหลย้อน และ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร” หรือที่บางคนเรียกว่า “โรคเครียดลงกระเพาะ” นั่นเองค่ะ
• อาหารบางอย่าง ก็ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้เช่นกัน ถึงแม้จะเป็นกับบางคนเท่านั้น เช่น กาแฟ ช็อกโกแลต ชา เปปเปอร์มิ้นต์ ลูกอม น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ ผลไม้รสเปรี้ยว แตงโม หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ บร็อกโคลี่ กะหล่ำดอก ถั่ว นมเปรี้ยว น้ำส้มสายชู เนื้อ นม ไข่ ของมัน ของทอด เนย น้ำสลัดอาหารรสจัดต่าง ๆ
• ยาบางชนิด มีผลให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น ได้แก่
- แอสไพริน หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สารสเตียรอยด์ (NSAIDs)
- ยาขยายหลอดลม (theophyllin)
- ยาแก้หดเกร็ง (atropine, Scopolamine, anticholinergics อื่นๆ)
- ยาลดการเต้นของหัวใจ (beta-blockers)
- รักษาโรคความดันโลหิตสูง (alpha-blockers, calcium channel blockers)
- ยากล่อมประสาท (benzodiazepines)
- ยากันแท้งประเภทฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone)
- วิตามินซี
ผู้ที่เป็นกรดไหลย้อน มักมีอาการจากกรดทำลายเนื้อเยื่อ ดังนี้
• แสบร้อน ไม่สบายบริเวณเต้านมด้านซ้าย หรือบริเวณหัวใจ ลิ้นปี่ หน้าอก และลำคอ
• เจ็บปวดแน่นอก เหมือนมีคนกดทับหรือบีบหัวใจ คล้ายอาการโรคหัวใจขาดเลือด
• มีก้อนจุกที่คอหอย
• รู้สึกมีเสมหะอยู่ในคอตลอดเวลา
• กลืนไม่สะดวก กลืนลำบาก กลืนแล้วรู้สึกเจ็บปวด
• มีน้ำกรดเปรี้ยวๆ ขมๆ ล้นขึ้นมาในคอ
• ตื่นเช้ามาเจ็บคอ แสบลิ้น
• เหม็นในคอ
• เสียงแห้ง
• เรอบ่อย
• ท้องอืดแน่นไม่สบายท้อง
• อาหารไม่ย่อย
หากกรดล้นไปที่คอ ปาก หลอดลม กล่องเสียง และปอด อาจมีอาการข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อดังต่อไปนี้
• เจ็บคอ
• แสบหรือเจ็บปวดในอก
• เสียงแหบ
• ไอเรื้อรัง
• สำลักอาหารบ่อย ๆ
• เป็นปอดบวมซ้ำ ๆ
• หายใจมีเสียงวี๊ดคล้ายคนเป็นโรคหอบหืด
• ฟันสึกกร่อนจากการกัดกร่อนของกรด
“ลักษณะพิเศษของเกิร์ด คือ อาการทั้งปวงที่เกิดขึ้น มักจะเป็นหลังอาหารมื้อเย็นในท่านอน ไม่เป็นในท่านั่งหรือ ยืน และอาการแสบหรือเจ็บปวดจะหายเองได้ แต่จะทรมานนานหลายชั่วโมง”
อันที่จริงแล้ว แทบทุกคนที่เคยมีอาการเรอแล้วมีกรดเปรี้ยว ๆ แต่จะวินิจฉัยว่าเป็นกรดไหลย้อนก็ต่อเมื่อ
• เป็นบ่อย คือใน 1 สัปดาห์ เป็นมากกว่า 2 ครั้ง
• เป็นอย่างรุนแรง เช่น เจ็บปวดจนนอนไม่หลับ หรือ อาการที่เป็นรบกวนชีวิตประจำวันทำให้การงานเสียไป หรือน้ำหนักลด หรือมีเลือดออกในหลอดอาหาร
• มีอาการทุกครั้งที่รับประทานอาหารบางอย่าง
• การตรวจวินิจฉัยของแพทย์ยืนยันว่าเป็นเกิร์ด
• กลืนไม่ลง กลืนลำบาก (อาจเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งหลอดอาหาร หลอดอาหารตีบตัน หรือมีก้อนข้างเคียงมาอุดหรือกดทับ)
• อาเจียนเป็นเลือด (อาจเป็นแผล เนื้องอกหรือมะเร็งในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น
• สำลักจนหายใจไม่สะดวก ไออย่างรุนแรง เสียงแหบ เป็นอาการของเกิร์ดที่รุนแรงได้ แต่ต้องระวังเป็นการ สำลักสารแปลกปลอมเช่นอาหาร ซึ่งอาจอันตรายถึงชีวิตถ้าไม่รีบพาไปโรงพยาบาล
• น้ำหนักลด อาจจะเป็นอาการของเกิร์ดที่รุนแรงได้ แต่ต้องระวังเป็นโรคมะเร็งของระบบย่อยอาหาร (เช่น มะเร็งหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก) ซึ่งบางรายไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ นอกจากน้ำหนักลด
- ไม่รับประทานอาหารดึก ควรรับประทานอาหารมื้อเย็น ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารมีมาก จนไหลย้อนกลับ
- ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ และไม่สูบบุหรี่
- ไม่รับประทานอาหารมากเกินไป ทานแค่อิ่มก็พอแล้วค่ะ
- ไม่รับประทานอาหารไขมันสูง
- ไม่รับประทานอาหารรสจัด
- ระวังน้ำอัดลม กาแฟ ชา นม น้ำผลไม้รสเปรี้ยว
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
- รับประทานเนื้อสัตว์หรือโปรตีน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของหูรูดกล้ามเนื้อ
- รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจช่วยลดการเกิดภูมิแพ้
- ลดหรือควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- เคี้ยวหมากฝรั่งช่วยได้ การเคี้ยวหมากฝรั่งจะช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำลายไปลดกรดที่ไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหาร แนะนำให้เคี้ยวหลังรับประทานอาหารไปแล้ว 30 นาที
- สวมชุดนอนที่เบาสบาย การสวมเสื้อผ้ารัด หรือคับเกินไปก็ทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้นะคะ
- นอนตะแคงซ้าย จะช่วยลดอาการกรดไหลย้อนได้ ลองทำตามกันนะคะ
- นอนให้หัวสูงพอประมาณ ห้ามนอนราบหรือนอนหัวต่ำ เพราะจะทำให้เกิดกรดไหลย้อน
การสวมเสื้อผ้าคับตัวตามสมัยนิยม โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว ส่งเสริมให้เกิดเกิร์ด
การนั่งตัวยืดตรง และยืนอย่างสง่าผ่าเผย ยืดอก ก็ช่วยลดการเกิดกรดไหลย้อนได้นะคะ
พยายามผ่อนคลาย ไม่เครียด หากิจกรรมเบา ๆ ที่ช่วยให้จิตใจเบิกบานขึ้น เช่น การนั่งสมาธิ เป็นต้น
- ยาเคลือบกระเพาะแอนตาซิดส์ (Antacids) ช่วยลดกรดในกระเพาะ แนะนำให้กินก่อนอาหาร หรือกินเมื่อมีอาการกรดไหลย้อน
- ยาลดกรดชนิดต้านฮีสตามินส์ (antihistamines) จำพวก H2 receptor blockers เช่น รานิติดีน (ranitidine), ฟาโมติดีน (famotidine), ไซเม็ทติดีน (cimetidine) ได้ผลร้อยละ 50
- ยาลดกรดชนิด Proton pump inhibitors เช่น โอมีพราโซล (omeprazole!, แพนโตพราโซล (pantoprazole), แลนโซพราโซล (lansoprazole) ยาเหล่านี้ได้ผลดีมากกว่าร้อยละ 90 ในการรักษาอาการกรดไหลย้อน
- กรดแอลจินิก (Alginic acid) ยานี้จะไปคลุมเยื่อบุผิวของหลอดอาหารป้องกันการกัดกร่อนของกรด ลดความเป็นกรด และลดการไหลย้อนกลับของกรด ได้ผลดีที่สุดในการรักษาอาการกรดไหลย้อน
- โปรไคนีติกส์ (Prokinetics) ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารแข็งแรงขึ้น
- ซูคราลเฟท (Sucralfate) ช่วยเคลือบเนื้อเยื่อของหลอดอาหารไม่ให้กรดกัดกร่อน และช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
- โมซาไพรด์ ซิเตรต (Mosapride citrate) ช่วยทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวไล่อาหารและกรดออกไปไม่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะ จึงลดอาการท้องอืด และอาหารไม่ย่อยได้ค่อนข้างดี
• กว่าร้อยละ 90 ของโรคกรดไหลย้อน สามารถรักษาได้ผลดีด้วยการใช้ยา แม้ต้องใช้เวลานาน 1-3 เดือน แต่ถ้าใช้ยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจใส่เครื่องมือชื่ออีโซฟิกซ์ (Esophyx) เข้าไปในหลอดอาหารส่วนปลายเพื่อสร้างหูรูดอันใหม่
• หรือผ่าตัด ยกตัวอย่าง Nissen fundoplication เป็นการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องเข้าไปในช่องท้อง นำกระเพาะ อาหารส่วนบน (Fundus) มาหุ้มห่อส่วนปลายของหลอดอาหาร เพื่อให้เกิดความแข็งแรงของหูรูดหลอดอาหาร
การรักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยสมุนไพร เป็นวิธีที่นิยมใช้ในทางการแพทย์แผนไทยมากที่สุด โดยมีหลักสำคัญคือ การเลือกใช้สมุนไพรมารักษาที่ต้นเหตุของโรค และควรเป็นยาสมุนไพรแบบ "ตำรับ" คือมียาสมุนไพรเป็นส่วนประกอบตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพดี และผลข้างเคียงน้อยไปจนถึงไม่มีผลข้างเคียงเลย อีกทั้งยังเป็นมิตรกับร่างกายมากที่สุด
จากประสบการณ์รักษาผู้ป่วยกรดไหลย้อนที่มีทุกยุคสมัย ทำให้ POONRADA พัฒนายารักษาจนเกิดเป็นชุด สมุนไพรรักษากรดไหลย้อน B-SET1 , B-SET2 และ B-SET3 ซึ่งแต่ละชุดมีฤทธิ์หลักคือช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน และสมานแผลในกระเพาะอาหาร ส่วนฤทธิ์รองคือช่วยรักษาอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่คนไข้กำลังเป็นในขณะนั้น ๆ เช่น มีอาการกรดไหลย้อนร่วมกับมีความดันสูง/ต่ำ หรือร่วมกับอาการท้องผูก เป็นต้น
ปุณรดายาไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคด้วยสมุนไพรธรรมชาติ ยินดีให้คุณสอบถามรายละเอียดยาสมุนไพร หรือ ปรึกษาปัญหาสุขภาพกับแพทย์ได้ฟรี
พ.ญ.ชัญวลี ศรีสุโข. 8 โรคร้ายของวัยทำงาน. พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2552.
สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 086-955-6366, 091-546-9415
ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"
แพทย์แผนไทย
" ความมั่งคั่งที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี สมดุล แข็งแรง "